|
โรคมือ เท้า ปาก – foot-and-mouth disease- Message of the Day – 30 July 2012
|
|
|
โรคนี้ช่วงนี้กำลังระบาด
มีข่าวว่าระบาดรุนแรงในประเทศ กัมพูชา (Cambodia หรือ Kampuchea:
Kingdom of Cambodia ซึ่งคนไทยชอบเรียกเขาว่า ประเทศเขมร
เจ้าของประเทศเขาไม่ชอบให้เรียกอย่างนั้น แต่เขาชอบให้เรียกว่า กัมพูชา มากกว่า)
ถึงขนาดอุ้มลูกจูงหลานมาพักพิงในประเทศไทยเพื่อรักษาในโรงพยาบาลของไทย
(ขณะที่เขียนอยู่นี้คือ วันที่ 30 กรกฎาคม 2555) และสาธารณสุขเมืองไทยเราก็กำลังรณรงค์หาทางป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจาย ระบาด (epidemic /
widespread)
|
|
นั่นคือที่มาของหัวข้อที่กำลังจะพูดถึง
ภาคข่าวเช้าของสถานีหลักที่เสนอข่าวภาษาอังกฤษนำเสนอ
โรคมือ เท้า ปากด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า
Hand, foot and mouth
disease เมื่อวันที่วันศุกร์ที่ 27 July 2012 และเมื่อวันจันทร์ที่ 30 July 2012 ใช้ข้อความดังกล่าวอีก
พร้อมกับใช้หัวข้อข่าวว่า Hand-foot
disease
|
|
ที่จริงมันก็ตรงกับภาษาไทยของเรา
ก็ถือว่าเป็นการสื่อความที่ใช้ได้ ตรงไปตรงมา แต่ถ้าจะให้เป็นทางการ
เรียกว่าคนไม่เคยรู้จะเปิดหาคำศัพท์ที่เป็นทางการ ที่ทราบกันทั่วไป
หากไปเปิดหาข้อความดังกล่าวคงหาไม่เจอแน่
|
|
คำที่เขาใช้เป็นทางการนั้น คือ
Foot-and-mouth disease :-โรคมือ เท้า ปาก (โรคที่แพร่กระจายได้อย่างเฉียบพลันด้วยการสัมผัส
(acute contagious) ที่เกิดในสัตว์จำพวกมีเท้าเป็นกลีบแยกกัน
หรือเป็นง่าม มีแผลเปลื่อยตามปากและกีบเท้า หรือจะใช้ว่า Foot and mouth disease ก็ใช้กัน และยังมีชื่อเรียกอีกคำหนึ่งว่า hoof-and-mouth
disease (ตรงนี้คงจะใช้ได้กับสัตว์เท่านั้น
เพราะมีกีบ)
|
|
Chiropody เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวกับ
การรักษาโรคเท้า หรือ วิชาแพทย์ศาสตร์สาขาว่าด้วยการรักษาเท้า (มีคนแปลว่
วิชารักษาโรคมือและเท้า)
ที่จริงเขาใช้ว่า treatment of
feet เท่านั้น
อ่านว่า ไครอพโอะดิ อเมริกันใช้ว่า podiatry
Chiropodist คำนี้จึงหมายถึง
ผู้ชำนาญการรักษาโรคเท้า
|
|
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม
Blogs ได้ที่
โดยคลิ๊ก
View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด
หรือจะคลิ๊ก
แท็ป “กล่องข้อความเข้า” เพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ
Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )
ส่วน
ในบล๊อก
ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า
(Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก
"บทความที่ใหม่กว่า" หรือ "บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย
VJ. [Veeraphol Julcampa : วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] – 30 July 2012
สงวน
สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา
หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม
ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร
ติดต่อได้ที่
0877055958
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com
|
วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
โรคมือ เท้า ปาก – foot-and-mouth disease- Message of the Day – 30 July 2012
Energy Mind Award มีหน่วยงานหนึ่ง จัดกิจกรรมค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานชื่อโครงการตามภาษาอังกฤษที่ให้ไว้ต้นข้อความนี้-Message of the Day – 30 July 2012
|
Energy Mind Award มีหน่วยงานหนึ่ง
จัดกิจกรรมค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานชื่อโครงการตามภาษาอังกฤษดังที่ให้ไว้ต้นข้อความนี้ -Message of the Day – 30
July 2012
|
มีหน่วยงานหนึ่ง
จัดกิจกรรมค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานชื่อโครงการ Energy Mind
Award สร้างจิตสำนึกในการเป็นนักอนุรักษ์พลังงานรุ่นใหม่เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนรุ่นต่อไป (ประกาศในไทยรัฐ ประมาณวันที่
26 กรกฎาคม 2012)
|
|
ก็น่าชื่นชมในความคิดริ่เริ่ม (initiative) และก็อยากให้หลายหน่วยงาน
หลายองค์กรหันมาสนใจอนุรักษ์พลังงาน รวมไปถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
เรียกว่า
อยากให้มีการระดมพลผนึกพลังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานแบบให้เป็นนิสัยประจำตัว
แบบให้เห็นคุณค่าก่อนจะถึงเวลานั้น ยามที่หาพลังงานไม่มี หรือขาดมือไป
จะเกิดอะไรขึ้น และขณะเดียวกันอยากให้มีการกระตุ้นการระดมสมอง
ความคิดใดๆที่จะนำไปสู่การคิดค้น หรือวิเคราะห์
วิจัยให้ได้มาซึ่งพลังงานรูปแบบใหม่ พลังงานทดแทน หรือจะด้วยการจัดตั้งกองทุน
เงินรางวัลเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดแรงดลใจเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง
|
|
ทีนี้มามองในแง่ของภาษา ความหมายตามภาษาอังกฤษที่เห็นข้างต้นนั้น
ถ้าจะให้ถูกต้องตามเจตจำนงค์ หรือวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าวนี้
คือ “ต้องการให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน”
ภาษาอังกฤษที่ว่า
Energy Mind Award
นั้น ผู้เขียนขอออกความเห็นว่าไม่ตรงกับเจตจำนงค์ดังกล่าว
เพราะมันจะแปลว่า “รางวัลจิตพลังงาน หรือ
รางวัลจิตใจของพลังงาน หรือแห่งพลังงาน” มากกว่า
|
|
อาจจะเนื่องจากคนไทยนิยมใช้คำว่า service mind (เซอร์วิซ
ไมนดฺ) จนติดปาก
จนกลายเป็นนิสัย ที่จริงคำที่ถูกต้องนั้นคือ service-minded ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์
เวลาอ่านคนไทยส่วนมากไม่ได้อ่านตรง ed ที่ลงท้าย service-minded
ที่จริงนั้นจะอ่านว่า
“เซอร์ ฝวิซ-ไมน เดด”
หมายถึง ซึ่งรัก หรือสนใจ หรือกระตือรือร้นที่จะทำตัวช่วยเหลือให้เป็นประโยชน์กับคนอื่น หรือเรียกกันง่ายว่า มีจิตบริการ มีจิตสำนึกที่จะให้บริการ
อะไรทำนองนั้น หรือ มีจิตอาสา ตามที่กำลังนิยมใช้กันอยู่ในขณะนี้ (คำนี้มีคนใช้ว่า volunteer spirit แต่ถ้าจะให้ถูกต้องจริงน่าจะใช้ว่า volunteering spirit) เลยทำให้พวกเราจำมาใช้กันผิดๆ ดังนั้นถ้าจะให้มีความหมายตรงตามเจตนาแล้ว จึงน่าจะใช้ว่า
Energy-Minded Award :-รางวัลจิตสำนึกด้านพลังงาน ตรงนี้เป็นการการสร้างคำหรือวลี ลองเข้าไปดูความหมายของคำว่า
mind และ
minded รวมทั้งเมื่อ
minded เข้าไปรวมอยู่ในวลีนั้นๆแล้วจะให้ความหมายว่าอย่างไร
ตัวอย่างอื่น เช่น
:-
conservation-minded citizens :-ประชากรที่สนใจใน
หรือมีจิตใจกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
business-minded person :-คนที่สนใจในธุรกิจ ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจ
career-minded :-มีจิตใจมุ่งสู่อาชีพโดยเฉพาะ (mentally oriented towards career) |
|
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม
Blogs ได้ที่
โดยคลิ๊ก
View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด
หรือจะคลิ๊ก
แท็ป “กล่องข้อความเข้า” เพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ
Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )
ส่วน
ในบล๊อก
ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า
(Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก
"บทความที่ใหม่กว่า" หรือ "บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย
VJ. [Veeraphol Julcampa : วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] – 30 July 2012
สงวน
สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา
หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม
ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร
ติดต่อได้ที่
0877055958
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com
|
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันภาษาไทยแห่งชาติ – Message of the Day – 29 July 2012
|
วันภาษาไทยแห่งชาติ – Message of the Day – 29 July 2012
|
วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม
ของทุกปี
ขอร่วมความภาคภูมิใจและให้ความสำคัญกับวันสำคัญแห่งความเป็นไทย
ที่มีภาษาและตัวอักษรไทยเป็นของตัวเอง
ไม่เหมือนบางประเทศหาตัวอักษรของตัวเองไม่มี จึงจำเป็นต้องใช้อักษรโรมันมาเขียนภาษาของตัวเอง
อย่างเช่น บางประเทศที่อยู่ใกล้ประเทศเรา เห็นหนังสือพิมพ์ของเขา
นึกว่าเป็นภาษาอังกฤษกลับเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่อังกฤษแต่เขียนเป็นภาษาของเขา
|
|
ครั้นมานึกถึงภาษาของเรา
ก็น่าเป็นห่วงภาษา เพราะมาพักหลังๆนี้ คนรุ่นใหม่ชักจะมีความภาคภูมิใจในภาษาไทยน้อยลง
แม้แต่การขีดเขียนออกจะเพี้ยนไปมาก
แถมคำศัพท์ที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมาแทบจะตามไม่ทัน
อย่างเช่นวงการอินเตอร์เนต หรือไอที แม้จะพยายามแปลหรือบัญญัติศัพท์กัน
(เช่นตามศูนย์แปล) ขึ้นมาก็ไม่ค่อยจะเป็นที่ยอมรับ ซึ่งส่วนมากนิยมทับศัพท์กันทั้งนั้น
แต่ถ้าจะรอราชบัณฑิตสถานท่านบัญญัติคงไม่ทันกิน จึงต่างคนต่างแปลกัน
แถมตามสถาบันการศึกษาก็ดูเหมือนจะเน้นการใช้คำทัพศัพท์
เลยเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้มีการศึกษาพากันเน้นการทับศัพท์กันเป็นส่วนใหญ่
และเป็นการบอกสถานะ ความเป็นชนชั้น ว่าเป็นชนชั้นสูง มีการศึกษาดี เลยทำให้น่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น
และอีกอย่างไม่กี่ปี (2558) เราจะเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน
(AC : ASEAN Community) แน่นอนว่าต้องมีภาษากลางที่เป็นทางการ
เชื่อว่าต้องเป็นภาษาอังกฤษ และเมื่อมาถึงตอนนั้น คำไทยจะล้นหลามไปด้วยภาษาไทยคำ
อังกฤษคำ ตรงนี้น่าเป็นห่วง
จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำกิจกรรม
หรือรณรงค์ให้มีการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นที่คึกคักกันมากกว่านี้
อย่ามีแค่คอยให้รางวัล หรือใบประกาศแค่เพียงคนในวงการสื่อเท่านั้น
|
|
นั่นเป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตเอาไว้
และอีกอันหนึ่งภาษาไทยของเราก็แปลกอยู่อย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
ข้อความที่ว่า
มันเก่งฉิบหาย ยายคนนั้นตอแหลเก่งชะมัด เขาหลอกลวงเก่ง ผู้เขียนหมายถึง คำว่า
"เก่ง" มีคนยิยมใช้มาใช้รวมกับของไม่ดี ไม่น่าจะนำมาใช้ปนกันเลย
น่าจะใช้ว่า มันชั่วฉิบหาย
ยายคนนั้นตอแหลสิ้นดีชะมัด
เขาหลอกลวงโคตรเลวเลย
|
|
ในภาษาอังกฤษทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า
เขามีอย่างเช่น คำว่า "มีชื่อเสียง"
ซึ่งในภาษาอังกฤษ เขาใช้คนละคำ จึงขอถือโอกาสแนะนำ คำว่า “มีชื่อเสียง
หรือเป็นที่รู้จักกัน (ในทางดี หรือทางชั่ว)”
famed :-ชื่อเสียงในทางดี หรือ renowned
กับ
notorious :-มีชื่อเสียงในทางไม่ดี
หรือ infamous อย่างนี้เป็นต้น
He is a famed singer / a renowned singer :-เขาเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง
She is famed for her caring attitude :-เธอมีชื่อเสียงในความเมตตาต่อผู้อื่นของเธอ
Famed designer :-นักออกแบบที่มีชื่อเสียง
He was once a notorious murder :-เขาครั้งหนึ่งเป็นฆาตกรที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
Notorious failure :-ความล้มเหลวที่รู้จักกันทั่วไปในทางเสียหาย
|
|
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม
Blogs ได้ที่
โดยคลิ๊ก
View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด
หรือจะคลิ๊ก
แท็ป “กล่องข้อความเข้า” เพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ
Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )
ส่วน
ในบล๊อก
ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า
(Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก
"บทความที่ใหม่กว่า"
หรือ
"บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย
VJ. [Veeraphol Julcampa : วีเจ. (วีระพล
จุลคำภา)] – 29 July 2012
สงวน
สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา
หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม
ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร
ติดต่อได้ที่
0877055958
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com
|
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สืบเนื่องมาจาก Resume and Cover Letter ที่เป็นประเด็นในหัวข้อเรื่อง “แค่เติม S ผิดก็อาจพาลให้….” ทางรายการได้แก้ไขใหม่แล้ว- Message of the Day – 24 July 2012
สืบเนื่องมาจาก Resume and Cover Letter ที่เป็นประเด็นในหัวข้อเรื่อง “แค่เติม S ผิดก็อาจพาลให้….” ทางรายการได้แก้ไขใหม่แล้ว- Message of the Day – 24 July 2012 | สำหรับ ทุกคน |
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
จะเชื่อหรือไม่ว่า ดอนเมือง (Donmueang) คำเดียวแต่ละหน่วยงานราชการเขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน – Message of The Day – 26 July 2012
จะเชื่อหรือไม่ว่า ดอนเมือง (Donmueang)
คำเดียวแต่ละหน่วยงานราชการเขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน
– Message of The Day – 26 July 2012
|
สนามบินนานาชาติดอนเมือง เขาใช้ว่า Donmueang International Airport (มีตัว
“a” อยู่หลัง
"e" ด้วย)
|
ขณะที่ ป้ายบอกเส้นทางตามถนนหนทางหลัก
คำว่า ดอนเมือง ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เขาเขียนเป็น Donmuang (ไม่มีตัว
“e”) ตรงนี้เข้าใจว่าเป็นของกรมทางหลวง และ
|
ขณะเดียวกัน ป้ายชื่อ สำนักงานเขตดอนเมือง ใช้ว่า Donmueng (ไม่มี
“a”) โดยเขียน
ว่า Donmueng
District Office
|
ทั้งที่สามหน่วยงานเป็นหน่วยงานราชการด้วยกัน
ถ้าจะเขียนให้ถูกต้องตาม ราชบัณฑิตสถาน
คำว่า
เขตดอนเมือง
จะเขียนว่า
Don Mueang District
สังเกตว่าคำว่า ดอนเมืองในภาษาอังกฤษ เขาให้สะกด และเขียนแยกกันว่า Don Mueang (คำว่า Mueang มีตัว
a
อยู่หลัง e ด้วย) และสังเกตว่า
Don กับ Mueang เขียนแยกกัน
|
ปัญหา
มันอยู่ที่ เวลาเราเอาเอกสารไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูต เขาจะไม่ยอมรับ
จะถูกตีกลับให้ไปแก้ไขใหม่ ทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดความผิดพลาด
ล่าช้า ดังนั้นจึงให้ถือตามราชบัณฑิตยสถาน ทั้งนี้จะรวมไปถึงหนังสือที่เป็นทางการต่างๆด้วย
เวลาเกิดปัญหา มีเรื่องมีราวมา เขาจะใช้การเขียน การสะกดตามราชบัณฑิตเป็นหลัก ทั้งนี้นักแปลเอกสารรุ่นใหม่พึงตระหนักไว้ด้วย
|
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม Blogs ได้ที่
(อนึ่งบล๊อกนี้ทางเว็บหลักได้ปิดตังลงไปแล้ว จึงอ่านได้เฉพาะบล๊อก http://jcampa-newlook.blogspot.com ข้างล่างนี้เท่านั้น)
โดยคลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ
ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า” เพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ
Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )
ส่วน ในบล๊อก
ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า (Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก "บทความที่ใหม่กว่า" หรือ
"บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa : วีเจ. (วีระพล
จุลคำภา)] – 26 July 2012
สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา
หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม
ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร
ติดต่อได้ที่
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)