หนังสือดีมีคนฝากมาบอก ชื่อ- Dictionary of Names, Positions, Occupations in English and Common Phrases (English-Thai)
คลิ๊กที่รูปภาพ 2 ครั้งเพื่อขยายภาพให้โตขึ้น
ประมวลศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีต่างๆที่ใช้งานกันทั่วไป
Dictionary of Names, Positions, Occupations in English and Common Phrases (English-Thai)
เล่มแรกในประเทศไทย
หนากว่า 400 หน้า ไม่คิดค่าส่งทางไปรษณีย์ธรรมดาทั่วประเทศ (ฟรี) หรือในกรุงเทพอาจขอรับด้วยตัวเอง
ยังพอมีเหลือ สำหรับท่านที่ต้องการมีไว้ใช้งาน แต่หาซื้อตามร้านหนังสือทั่วไปไม่ได้ในขณะนี้ (มีจำนวนจำกัด) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
ยังพอมีเหลือ สำหรับท่านที่ต้องการมีไว้ใช้งาน แต่หาซื้อตามร้านหนังสือทั่วไปไม่ได้ในขณะนี้ (มีจำนวนจำกัด) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
โทร / แฟกซ์ : 02 532 0942 หรือโทร : 02 531 4568 หรือ มือถือ : 0877055958 / 0891485540 ติดต่อ เปี๊ยก / กิ่งกนก
อีเมล์ :
อีเมล์ :
Visit our blogs (เข้าดูบล๊อกเราได้ที่) :
หนังสือ สำหรับนักแปล ผู้ที่กำลังจะเป็นนักแปล ผู้ใฝ่รู้ด้านภาษาอังกฤษ ใช้ยกตัวอย่างประกอบการสอน นักเรียนที่เคยท่องแต่คำศัพท์โดดๆ แต่ไม่รู้สึกเลยว่าจะเก่งขึ้น หรือใช้คำเหล่านั้นทำเป็นประโยค หรือทำเป็นคำพูดที่มีหลายคำไม่ได้ หรือไปเจอข้อความยาวๆกลับอ่านไม่ได้ ไม่เข้าใจ นอกจากจะพูดได้เป็นคำ หรือใช้ได้เป็นคำๆ
นักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเรียนเกี่ยวกับหลักสูตรการแปล หรือกำลังศึกษาภาษาอังกฤษ รวมทั้งผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นประจำในหน้าที่การงาน
ศูนย์แปลเอกสารต่างๆ ห้องสมุดทั่วประเทศและทั่วโลกควรมีไว้เพื่อการอ้างอิง
ผู้สนใจภาษาทั่วไป ชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ อยากทราบว่า ชื่อและตำแหน่งอย่างนี้ที่ต่างประเทศเรียกอย่างนี้ ภาษาไทยเรียกว่าอะไร
ครูสอนภาษาอังกฤษต้องการหาตัวอย่างการสร้างคำต่างๆ บางครั้งก็ปวดหัว เปิดหาตัวอย่างเล่มใหนก็ไม่มี นัก แปลเอกสารแน่นอนจะต้องใช้คำต่างๆโดยเฉพาะที่บรรจุอยู่ในเล่มนี้ เพื่ออ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบการสร้าง คำ การบัญญัติคำต่างๆ ที่มีตัวขยาย คำขยายหลายคำ หรือใช้เปรียบเทียบการแปล การตีความหมายของคำ กลุ่มคำ หรือวลีต่างๆ ที่เรียกขานทั่วไป เกี่ยวกับอาชีพ ตำแหน่งงาน
ไม่ ว่าจะเป็นวงการเอกชน ราชการ ทหารตำรวจ ศาล การแพทย์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ พระ ศาสนา ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ช่างต่างๆ หรือวงการต่างๆ มากมาย หรือคำศัพท์ยากๆหาในพจนานุกรมภาษาไทยที่มีอยู่ขณะนี้ไม่ได้ เล่มนี้เป็นคู่มือ เป็นเพื่อนคู่คิดที่ดีเล่มหนึ่งของคุณ
ถ้า ไม่ใช่นักอ่าน นักแปล นักเขียนภาษาอังกฤษ หรือไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ไม่เคยฝึกแปล ไม่เคยเขียนรายงานภาษาอังกฤษ ไม่เคยเขียนบันทึกประจำวัน ไม่เคยเขียนจดหมาย หรืออีเมลเป็นภาษาอังกฤษ จะไม่ทราบหรอกว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือช่วยคุณได้อย่างไร ลองฝึกอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยวันละคอลัมน์ หรือฝึกเขียน ฝึกแปลดู แล้วจะรู้ว่าเรามีจุดออ่นเรื่องอะไร ตรงไหนบ้าง จะต้องเพิ่มเติมตรงไหน และเมื่อติดขัดแต่ละเรื่องเราจะหาคำตอบพวกนั้นได้อย่างไร ที่ไหนบ้าง และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นอีกเล่มหนึ่ง ที่จะช่วยเป็นเพื่อนคู่คิด เป็นคู่มืออ้างอิง เปรียบเทียบในบางสิ่งบางอย่างที่หาไม่ได้ในเล่มอื่นๆ
มี หนังสือหลายเล่มพยายามจะนำเสนอ เรื่องทำนองนี้ แต่ก็ได้แค่ประปราย ศัพท์ง่ายๆ คำเดียวโดดๆ ซึ่งก็เป้นการเกาไม่ถูกที่คัน ไม่ตรงประเด็น รู้แล้วก็แค่นั้น ธรรมดาเกินไป หาดูที่ไหนก้ได้ เพราะเมื่อเป้นคำผสม หรือมีคำอื่นมาขยาย ความหมายก็เปลี่ยนไป ทำให้ความหายผิดไป ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นmanufacturing industry มีคนแปลว่า อุตสาหกรรมหัตถกรรม ฟังดูแล้ว ช่างไม่อยู่ในวงการเอาเสียเลยอย่างนี้เป็นต้น
นับ เป็นการนำเอาแง่มุมต่างๆด้านภาษามาจัดเป็นองค์ความรู้ด้วยการนำเสนอผ่านการ ใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพ สอดแทรกหลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆในอีกรูปแบหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีใครทำมาก่อน
จึงไม่ได้ เจาะจงกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพแค่นั้น แต่จะมีความหลากหลายเกี่ยวกับกฎต่างๆที่แฝงไว้เป็นแนวทางการใช้ที่ถูกต้อง อีกมากมาย เหมือนเป็นหนังสือไวยากรณ์อีกเล่ม ที่รวบรวมขึ้นเป็นฐานข้อมูลเอาไว้ในเล่มพร้อมรับใช้ให้คำตอบได้ตลอดเวลาเช่น:
คำที่หาไม่มีในเล่มอื่น แต่จะหาได้มากมายหลายคำ หรือมีการเรียกชื่อต่างๆในเล่มนี้หลายรูปแบบ เช่น ผู้มอบอำนาจ
ในภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่าอะไรได้บ้าง
Patient, sick person และ ill person อาจจะเรียกเป็นภาษาไทยเหมือนกัน จริงๆแล้วมันต่างกันอย่างไร
คำหรือข้อความส่วนมากมาจากเอกสารใช้งานจริงจากหลายประเทศ ทั้งที่เป็น คำโดดๆ วลีหรือกลุ่มคำ ประโยค
เหมาะที่จะใช้อ้างอิง เรียนรู้ใช้เป็นตัวอย่าง เปรียบเทียบในการสร้าง นามผสม คำศัพท์ที่ยังไม่มีบัญญัติไว้ หรือกลุ่ม
คำที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ และคำเหล่านั้นเคยผ่านการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศ หรือจากการยอมรับของสถานทูตที่
เกี่ยวข้องมาแล้ว หรือสามารถตรวจสอบจากเว็บไซต์ต่างๆได้ ว่ามีการใช้อย่างนั้นจริงไหม
บางครั้งเรารู้แต่คำโดดๆ พอนึกจะพูดเป็นนามผสม เป็นวลี หรือเป็นประโยคขึ้นมา หรือนำมาใช้รวมกับคำอื่นจะใช้
อย่างไรหรือเมื่อเจอข้อความยาวๆในตำรา ในหนังสือพิมพ์ก็แปลกันไม่ได้แล้ว หรือไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ อะไร
ทำนองนี้ หาดูใช้เทียบเป็นตัวอย่างได้จากเล่มนี้ คำบางคำอยู่โดด แปลอย่างหนึ่ง พอมีคำอื่นมาขยาย ความหมายไปอีก
แบบหนึ่งอย่างนี้เป็นต้น
ประเภท ยศ ตำแหน่งหลายๆอันกับคนๆเดียวเขาเขียนกันอย่างไร เช่น มีทั้ง ม.ล. ศาสตราจารย์ พลเอก นายแพทย์
ฯพณฯ ดร. อย่างนี้เป็นต้น หาดูและศึกษาได้จากเล่มนี้
ผู้มีรายได้ ไม่มีรายได้เรียกยังไง มีวิธีการเรียกอย่างไรบ้าง
ลูกจ้างทำงานตามบ้าน มีอะไรบ้าง เรียกเป็นอังกฤษว่าอย่างไร
การใช้ to กับ 0f เกี่ยวกับตำแหน่งกับคน หรือของคน หรือสิ่งมีชีวิต หรือกับสถานที่นิยมใช้อย่างไร เช่น ที่ปรึกษารัฐมนตรี กับที่ปรึกษากระทรวง เมื่อไหร่ใช้ to หรือเมื่อไหร่ใช้ of
การอธิบายความหมายของคำบางคำที่เราไม่ทราบคำเฉพาะว่าเขาเรียกกันอย่างไร โดยการใช้ Present Participle กับ
Past Participle ขยายข้างหลังนามอย่างไร อย่างเช่น คนรับแจ้ง คนออกหมายเลข เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
Person performing a ceremony, person having a rare chance of pregnancy, person receiving a promotion privilege, persons employed to work on other tasks, persons engaged in profession of law
ดู Police กับ Police Officer ต่างกันอย่างไร
การเรียกคนหรือ ภาษาของแต่ละประเทศ (เช่นชาวญี่ปุ่น ชาวเยอรมัน และอีกหลายๆประเทศ) เกือบทั่วโลกมีคำเรียกเฉพาะอย่างไรบ้าง เช่นว่า
Welshman / Welshwoman ชาว…..คน…… (เวลส์ : Wales)
Tunisian ชาว…..คน…… (…….. : Republic of Turkey สาธารณรัฐตุรกี) Turk ชาว…..คน…… (…….. : Republic of Tunisia สาธารณรัฐตูนิเซีย) เป็นต้น
ข้อความที่มีชื่อกับตำแหน่งรวมกัน จะเอาชื่อไว้ก่อนหรือเอาไว้หลังตำแหน่ง หรือว่ามีกฎเกณฑ์อย่างไร หรือเขานิยม
เขียนกันอย่างไร เช่น คำว่า ผู้ว่า เรียกว่า Governor ซึ่งอาจจะหมายความว่า ผู้ว่าการ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าการรัฐ ผู้
ว่าการไฟฟ้า หรืออะไรทำนองนั้น ก็สุดแล้วแต่เนื้อหาหรือบริบทที่เป็นข้อความชี้นำในเรื่องนั้นๆ แต่ถ้าเป็น ผู้ว่าราชการ
จังหวัด ถ้าเป็นคำโดดๆก็พอจะหาจากพจนานุกรมทั่วไปได้ คือ Provincial Governor แต่ถ้า มีชื่อคนเข้ามารวมอยู่ด้วย จะ
พูดกันอย่างไรแน่ เช่นผู้ว่า สง่า หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสง่า (ชื่อผู้ว่า) จะเอาชื่อไว้ก่อนหรือตามหลังแน่ หรือยังไงแน่ อะไร
ทำนองนี้ สำคัญว่า เป็นข้อความยาวๆ หรือเมื่อนำมาทำเป็นประโยคนั่นแหละ ที่มันจะทำให้เกิดปัญหา
จึงเป็นที่มาของ ประมวลคำศัพท์ทำนองนี้ขึ้นมา
ซึ่งเป็นแบบอย่างการใช้งานจริงๆ พร้อมที่จะนำไปใช้งานได้ทันที
คนรับแจ้ง คนฟันหลอ คนมีลูกยาก (มีบุตรยาก) คนมือถือสากปากถือศีล ช่างเทียบสี นายช่างต่างๆ นักวิชาการ
ที่ปรึกษาต่างๆ มือกล้องจำเป็น ผู้ประสบภัยพิบัติ คนไร้ประโยชน์ คนสาบสูญ บุตรโดยสายโลหิต บุตรนอกกฏหมาย พี่น้องท้องเดียว ภาษาอังกฤษใช้อย่างไร
คำพูดต่างๆเกี่ยวกับธุรกรรม งานเอกสาร ชื่อตำแหน่งเกี่ยวกับการขึ้นโรง ขึ้นศาล ชื่อเรียกตามลักษณะของคน เช่น
อ้วนน่ารัก อ้วนม่อต้อ คนในองค์กรต่างๆ คณะบุคคล คณะกรรมาธิการ
หรือ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ เช่น :-
a weekend workout partner, a well-trained worker, the accused and his counsel, county clerk, a canvasser for securing orders for books from libraries, do the honours, doubting Thomas, man Friday, well-informed person, a man of the people, , self-made man or woman, a son born of, academic staff, unlimited accounts, adjunct professor, agent to the principal, left-handed person, affirmative side, quasi-incompetent person, qualification round, tenant in fee, sitting tenant.
เหล่านี้เป็นต้น สามารถ หาได้ในเล่มนี้ หนังสือ
ประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพและวลีต่างๆที่ใช้งานกันทั่วไป
Dictionary of Names, Positions, Occupations in English and Common Phrases (English-Thai)
Dictionary of Names, Positions, Occupations in English and Common Phrases (English-Thai)
รวบรวมเรียบเรียงโดย VJ.
Mobile Tel: 08 91485540 หรือ Tel. / Fax: 02 532 0942
Email: wrpj@thaimail.com
เขียนโดย Jcampa-เจแคมป้า ที่ 20:46
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น