Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

Operand :-คืออะไร?-Message of the Day-4 January 2011

Operand :-คืออะไร?-Message of the Day-4 January 2011

คำนี้ส่วนมากจะเจอในเอกสารหรือตำราเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ถ้าหาคำแปลในพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยทั่วไปจะไม่ค่อยเจอ ที่เจอก็จะให้ความหมายว่า

จำนวนที่ถูกกระทำทางคณิตศาสตร์ อันนี้ก็พออนุโลมให้ได้ เพราะแปลออกมาแบบกว้างๆ ตามคำแปลต้นฉบับในพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่เขาแปลเป็นอังกฤษเอาไว้ว่า

the quantity upon which an operation is to be done หรือ A quantity on which a mathematical operation is performed หรือ A quantity on which a mathematical or logical operation is performed.
ซึ่งเป็นพจนานุกรมทั่วไป ไม่ใช่การแปลศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทาง (technical term) ก็ถือว่าใช้ได้

แต่ในกรณีที่เป็นคำศัพท์เฉพาะทาง หรือคำเฉพาะ อย่างเช่น พจนานุกรม ศัพท์คณิตศาสตร์ (แท้ๆ) กลับแปลว่า "ตัวถูกดำเนินการ" อ่านดูแล้วมันยังไงอยู่ ไหนๆก็เป็นเรื่องทางคณิตศาสตร์
ท่านจะแปลให้พวกเราได้อ่านแล้วเข้าได้เลย ก็หาไม่ ไม่ผิดอะไรกับคำแปลในพจนานุกรมคำศัพท์ทั่วไป ดังกล่าวนั้นเลย ถ้าแปลออกมาอย่างนี้ พวกเราคนไทยจะไปอ่านตำราภาษาอังกฤษ
กับชาติอื่นเขาได้ยังไง ทำไมไม่เจาะจงลงไป ให้อ่านแล้วรู้เรื่องได้เลย หรือกลัวว่าจะเข้าใจกันได้ง่าย กลัวคนไทยจะเก่งทันชาติอื่นเขา หรือว่าคนที่เขียนพจนานุกรมดังกล่าวนั้นรู้ไม่จริง
โมเมไปตามต้นฉบับตามที่เขาเขียนมา

ดูๆแล้ว ก็เหมือนอมภูมิปัญญา หรือดูๆก็เหมือนรู้ไม่จริง ที่ว่าอมภูมิปัญญานั้น เช่น หลายคำที่แปลยากๆ หรือเข้าใจยาก ท่านก็กลับไปเอาภาษาบาลี สันสกฤตมาใช้แทน คนไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว
ก็ยิ่งไม่รู้กำลังสอง กำลังสาม ไปเลย ยกตัวอย่างง่ายๆ ในวิชาไฟฟ้า Primary winding ท่านก็พาแปลว่า ขดปฐมภูมิ หรือ Secondary winding แปลว่า ขดทุติยภูมิ ฟังดูเทห์
ขลังดี แต่คนไทยได้อะไรกับความเทห์ ความขลังดังกล่าว ถ้าปวดหัวอยู่แล้ว จะไม่ปวดหนักขึ้นไปอีกหลายดีกรีเหรอ น่าจะคิดสรรหาคำที่อ่านแล้วใช่เลย เข้าใจได้เลย ทำให้คนไทยหูตาสว่าง
ไอเดียกระฉูด ไม่ต้องไปเปิดพจนานุกรมบาลีสันสกฤตอีกที่ หรือไปหาคำแปลอีกที เหมือนเจตนาจะเพิ่มภาระงานให้กับผู้อ่าน ให้กับคนที่กำลังเรียนในเรื่องนั้นๆไม่น้อย

ทีอย่างนี้รัฐบาลทำไมไม่คิดจะปฏิรูปกันบ้าง

เคยเห็นการเรียน การศึกษา การสอนยุคใหม่ ที่เขาเอาตำราจากต่างประเทศมาสอนคนไทย คำไหนยากๆเขาก็ทับศัพท์เอาดื้อๆ ไม่ว่าข้อความจะยาวแค่ไหน เขาทับลงไปให้เด็กไทยจำ
โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้แค่ว่าเอาไปแทนค่าในสูตรหาค่าเป็นคำตอบออกมา อะไรทำนองนั้น

ตัวอย่างที่เจอเช่น :-

ค่า 1 cm ที่รายงานในที่นี้ไม่ใช่ค่า standard deviation แต่เป็นค่า uncertainty จาก
การวัดว่ามีความไม่แน่นอนของการวัดในครั้งนี้ + 1 cm
Uncertainty ต่างกับ ค่า Error อย่างไร

หรือ
การประเมินโดยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทำ Repeatability เช่น การใช้ข้อมูลจาก calibration certificate การนำ resolution ของเครื่องมือมาใช้ และปัจจัยทาง environment ที่เกี่ยว
ข้องในการทดลอง

หรือ
กำหนดให้
Uc(y) = combined uncertainty
Ci = sensitivity coefficient ซึ่งมักได้มาจากการทดลอง แต่โดยทั่วไปใช้ค่า = 1
U(i) = ค่า individual uncertainty จาก ขั้นที่ 2
Ui(y) = individual uncertainty ที่คูณกับ sensitivity coefficient ซึ่ง = CiU(xi) ในที่นี้ Ci = 1
แล้วก็ให้ไปแทนค่าในสูตร อย่างนี้เป็นต้น

เสร็จแล้วนักเรียน นักศึกษาก็สอบได้เกรด A หรือ 4 ไปเลย เก่ง! ว่างั้นเถอะ ต่อไปคนไทยจะใช้ภาษาไทยในการเรียนรู้ก็แค่คำง่ายๆ เช่น เมื่อคำนี้ คือตัวนี้ เอามาแทนค่านี้ แล้วหาออกมาตาม
สูตรตามที่ให้ไว้

ชักจะเป็นห่วงคนไทย ภาษาไทย ตรงที่ว่าต่อไป ตำหรับตำราของไทย จะมีภาษาไทยปนอยู่สักกี่คำ นอกจากคำว่า และ หรือ ซึ่ง เพราะว่า แทนค่า หาคำตอบ
อะไรทำนองนี้ ส่วนเนื้อ สาระสำคัญคงต้องทับศัพท์ไปหมด อย่างที่ยกตัวอย่างมาให้ดูข้างต้นนั้น อย่าว่าแต่ในตำราเลย ในรายการทีวี แม้แต่รายการอาหารต่างๆ
เขายังเรียกชื่ออาหารทับศัพท์ มั่วไปหมดแล้ว มะม่วง ก็เรียกเป็น แมงโก้ ไปแล้ว และอะไรต่อมิอะไรที่ผสมลงไปในอาหาร ทั้งที่คำไทยแท้ๆ เรียกปุ๊บ ก้รู้เลย แต่เขากลับไปเรียก ไปชื่นชมภาษา
ต่างชาติไปหมด

ก็เลยอดที่จะนึกต่อไปว่า ที่ส่งกันไปเรียนเมืองนอก เจตนาจะไปเอาความรู้ใหม่ๆ ความรู้แปลกๆ พัฒนาการใหม่ๆ เทคโนโลยี่ที่เกิดขึ้นใหม่มาประยุกต์ใช้กับคนไทย ให้ประเทศไทยเราก้าวทันโลก
ไปกับชาติอื่น หรือว่าแค่ไปจำเอาแต่คำศัพท์ง่ายๆมาทำลายภาษาไทยให้หายไปจากโลกกันแน่ เรื่องอย่างนี้น่าห่วงไม่น้อย ส่วนคำยากๆที่พอจะตีความหมายให้ฟังรู้เรื่อง อ่านรู้เรื่องกลับไม่แปล
แต่ใช้ทับศัพท์แทนอย่างที่ยกตัวอย่างให้เห็นข้างต้นนั้น

ยังมีอีกหลายคำ ที่อ่านแล้วงง ไม่เป็นที่เข้าใจเอาเสียเลย เช่น คำว่า :-
operator ที่เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้ท่านก็แปลว่า "ตัวดำเนินการ" และพจนานุกรมบางเล่มแปลว่า "สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์" ก็มี ส่วน operation ท่านก็แปลว่า "การดำเนินการ" ทั้งที่เป็น
คำศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ แล้วอย่างนี้จะไปอ่านตำราภาษาอังกฤษรู้เรื่องได้อย่างไร

มาถึงตรง ผู้เขียน (บทความนี้) ขออนุญาตตีความ หรือแปลคำดังกล่าว เพื่อเป็นแนวในการแปล เผื่อท่านผู้อ่าน อาจจะไปอ่านเจอคำดังกล่าว จะได้ไม่ต้องไปมัวเปิดค้นหาคำแปลอีกแล้ว
เพราะถึงหาเจอก็จะได้คำแปลออกมาอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น นอกจากบทความนี้จะไปสะกิตใจ คนที่จะเขียน หรือกำลังจะเขียนคำแปลที่จะออกมาใหม่ จะมีการแก้ไขให้ตรงประเด็นมากขึ้น

Operand :=> (เกี่ยวกับคณิตศาสตร์) หมายถึง จำนวนที่จะต้องนำมาคำนวณหาค่า หรือ จำนวนหรือปริมาณที่จะใช้เพื่อคำนวณหาค่าออกมา เช่น 1, 2, 3, 4 เป็นปริมาณ หรือจำนวนที่จะใช้หาค่า หรือ
Operand นั่นเอง
operation :=> ในที่นี้ ก็คือ การคำนวณ หรือการหาค่าออกมา เช่น จาก operands (ซึ่งก็คือ 1, 2, 3, 4 ดังกล่าว) ถ้าจะหาผลรวม การ operation ก็คือการคำนวณด้วยการนำเอา operands (1, 2, 3, 4) มา
บวกกันนั่นเอง ถ้าต้องการหา หรือต้องการทราบผลคูณ (product) ของ operands (1, 2, 3, 4) (ตัว operands ดังกล่าวนี้ก็จะเรียกว่า multiplicand) การคำนวณก็คือ การนำปริมาณ
จำนวณ หรือค่าต่างๆที่เป็น operands (1, 2, 3, 4) ดังกล่าว มาคูณกันนั่นเอง
operator :=> ก็คือ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่บอกให้ทำอะไรกับจำนวนหรือ operands นั้น เช่น เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร หรือสูงขึ้นมาหน่อย ก็เป็น differentiate หรือ integrate ตาม
วิธีการที่เล่าเรียนมา อย่างนี้เป็นต้น

นอกจากคำ operand ยังมีอีกหลายคำ ที่ลงท้ายด้วย -and เช่น :-

< multiplicand / dividand / intregrand / differentiand / summand / subtracand / measurand>

*********************************************************************



[ข้อความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or access the Blog directly at

< http://worldway.multiply.com >

คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า”]

เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 4 January 2011

สงวนสิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และสมนาคุณท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป

มีจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือจะติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ

_ myvictory32@hotmail.com CC: victory267@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น: