Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สืบเนื่องมาจาก Resume and Cover Letter ที่เป็นประเด็นในหัวข้อเรื่อง “แค่เติม S ผิดก็อาจพาลให้….” ทางรายการได้แก้ไขใหม่แล้ว- Message of the Day – 24 July 2012

รายการบล็อกJul 24, '12 2:44 AM
สำหรับ ทุกคน



สืบเนื่องมาจาก Resume and Cover Letter ที่เป็นประเด็นในหัวข้อเรื่อง แค่เติม S ผิดก็อาจพาลให้….” ทางรายการได้แก้ไขใหม่แล้ว- Message of the Day – 24 July 2012
สืบเนื่องมาจาก Resume and Cover Letter ที่เป็นประเด็นในหัวข้อเรื่อง แค่เติม S ผิดก็อาจพาลให้….” ทางรายการได้แก้ไขใหม่แล้ว- Message of the Day – 24 July 2012

ข้อความข้างล่างนี้ทางรายการได้แก้ไขใหม่ เป็น :-

 (ตรงนี้ประธานของประโยค เป็นชื่อรายการ)… is now looking for 2 full-time reporters who are fluent in both Thai and English. Interested persons are encouraged to send a resume and cover letter to …(Email ของรายการ ไม่ต้องการให้รายการกระทบกระเทือนจึงขอละเอาไว้)


** โดยความเป็นจริงแล้วนิยมใช้กันทั้งที่เป็น their resume and cover letter หรือ your resume and cover letter หรือทั้งที่มี a resume and cover letter ก็ ใช้กัน หลังคำที่กล่าวถึง ที่เป็นคำนามพหูพจน์ ซึ่งคำพวกนี้เป็น Determiner (เช่น their / your / a/ the / an) ใช้อ้างถึงคำที่กล่าวถึงซ้ำอีก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำที่เพิ่งกล่าวถึงอีกครั้ง ซึ่งในประโยคนี้หมายถึง Interested persons (หรือจะใช้ว่า interested candidates / interested applicants  / interested individuals) ซึ่งบางครั้งเราคนไทยก็ไม่ค่อยแน่ใจ ว่าจะใช้ their ดี หรือ his / her หรือ your กันแน่ เพราะ ตัวประธานในประโยคนี้ เป็นพหูพจน์บุรุษที่สาม ซึ่งก็น่างงไม่น้อย สำหรับพวกเราที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา แบบนานๆจะได้ใช้ภาษาอังกฤษที จึงน่าจะถือเอาตามความนิยมที่เขาใช้กันมาเป็นหลัก เป็นเกณฑ์ )**


ข้อความข้างบนนั้นมีการแก้ไขเปลี่ยนจากข้อความเดิมว่า :-
(ตรงนี้ประธานของประโยค เป็นชื่อรายการ)… is now looking for 2 full-time reporters who are fluent in both Thai and English. Interested persons are welcomed to send their resumes and cover letters to …(Email ของรายการ)  
ซึ่งมีการแก้ไขใหม่แล้ว ตามข้อความข้างต้นนั้น เมื่อวันที่ 24 July 2012 เวลาประมาณ 08.25 น. ก่อนรายการข่าวภาคภาษาอังกฤษจะจบลง 
ก็ยังดีที่ทางรายการยังอุตส่าห์มองเห็นข้อผิดพลาด แต่เราไม่ว่ากัน คนเราย่อมผิดพลาดได้ (Human error) มัน ย่อมเกิดได้ทั้งนั้น ไม่ว่าใครทั้งนั้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมมีผิดมีถูก เมื่อผิดก็แก้ใหม่ได้ คนดู คนติดตามที่ยึดเอารายการของท่านเป็นหลัก จะได้ใช้เรียน ศึกษา แสวงหาความรู้ทางภาษาอังกฤษ เรื่องของภาษา มันต้องฝึก จำและหัดใช้อยู่เสมอ และหัดฟังบ่อยๆ จึงจะใช้ได้แบบคล่องปาก มีประสิทธิภาพ และถูกต้อง จึงจำเป็นต้องมีสื่อ ที่จะคอยชี้นำด้วยการนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง แม้จะผิดบ้างก็ถือว่าเป็นครูไป ใช้เตือนสติ เป็นบทเรียนความผิดพลาดไป ดังนั้นข้อความข้างต้นนั้น จึงเป็นการแก้ให้ถูกแล้ว  
เมืองไทยเราหารายการภาษาอังกฤษเป็นเรื่องเป็นราวดูได้ยาก ตั้งแต่ตอนแรกๆ ที่ผู้เขียนยังเป็นนักเรียนมัธยมจนจบปริญญา และจนทำงาน และมาจนถึงวันนี้ก็ยังหาสื่อวิทยุ โทรทัศน์ที่เอาจริงเอาจังกับการจัดรายภาษาอังกฤษ ให้น่าดูเป็นที่เชื่อถือ ไม่ใช่แค่ฉาบฉวยเป็นครั้งเป็นคราว เพื่อผู้ดู ผู้ฟังจะได้ใช้อ้างอิงเกี่ยวกับการเรียนรู้ รวมไปถึงใช้เป็นแนวการสอนให้น่าดูและน่าฟังนั้นมีน้อยมาก จะดู ASEAN TV ก็เดี๋ยวมีภาษาไทยมาปน ภาษาอาเซียนอื่นปนเปมา พูดง่ายๆกำลังปรับหรือจูน (tune) ความ คิด แนวคิด สร้างอารมณ์จินตนาการณ์กำลังเคลิมตาม หรือกำลังโปรแกรมสมองให้เคยชินกับเนื้อหา รูปแบบรวมทั้งแนวคิดให้กลมกลืนเป็นตามจังหวะจะโคนของภาษาอังกฤษ เพื่อให้ synchronize กับ รูปแบบภาษาอังกฤษเพื่อให้คิดและจินตนาการให้คล้อยตามบริบทหรือเนื้อหาที่เขา กำลังนำเสนออยู่นั้น แต่อยู่ๆก็โผล่ภาษาอื่นแทรกเข้ามา จึงทำให้ความกลมกลืนสอดคล้องตามแนวคิดต้องล้มเหลวลงกลางคันไปโดยบัดดล ทำนองเดียวกับบางรายการที่กำลังประชุมกันเป็นภาษาอังกฤษอยู่ แล้วอยู่ๆก็มีพิธีกรแทรกภาษาไทยเข้ามา กำลังตั้งใจฟังอยู่ดีๆ สมาธิกลับกระเจิงไป เลย ไม่ได้เนื้อหาอะไรขึ้นมาเลย   
เช้าๆมาก็วังจะอาศัยรายการนี้แหละดูข่าวภาษาอังกฤษ เพราะอย่างน้อยก็เป็นสื่อหลักของรัฐ นอกนั้นก็อาศัยโทรทัศน์พม่า (MI TV) ที่ การเสนอ หมายถึงภาพและเสียงคมชัด ไม่ขาดหาย หรือไม่มีสัญญาณรบกวนขณะที่กำลังตั้งใจฟัง แต่ก็มีข้อแม้ตรงที่ว่า สำเนียงพม่าอ่านข่าวภาษาอังกฤษมันสู้คนไทยอ่านไม่ได้ ครั้นจะหันไปดูและฟังสถานีโทรทัศน์แถวยุโรปส่วนมากจะเป็นสถานีสอนศาสนา คริสต์ จะดูข่าวและจัดรายการได้เต็มรูปแบบหน่อย ณ ขณะนี้ (ณ เวลาขณะนี้) ถือว่าดีที่สุด แต่บางวันก็รับไม่ได้เลย หรือฟังๆหรือดูๆอยู่ภาพล้ม เสียงหาย ตกๆหล่นๆ เลยหาที่จะดูไม่ได้ เลยต้องมาคอยดูแต่รายภาคภาษาอังกฤษของช่องสถานีหลักของรัฐแห่งนี้เป็นหลัก เป็นประจำวัน แม้บางวันบางคน ผู้อ่านข่าวจะอ่านแบบเน้นเอาความเร็ว ความคล่องเป็นสำคัญ หาความชัดถ้อยชัดคำไม่ได้แต่ก็ยังดีกว่าไปฟังสำเนียงคนเอเซียจากประเทศอื่น เพราะเขาจะอ่านเพี้ยนไปจากต้นฉบับมาก คนไทยเราถือว่าสำเนียงดีที่สุดแล้ว เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเซีย ไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง เวียตนาม ฟิลิปปินส์ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯ เป็นต้น สำเนียงตลกดี ชวนงง นี่พูดถึงส่วนใหญ่ ที่ดีๆก็มีเยอะ แล้วแต่จะโชดดีได้เจอคนที่มีสำเนียงดีดังกล่าว 
ความปราถนาอย่างแรงกล้า ไหนๆประเทศไทยจะทุ่มเทกับการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน (AC :-ASEAN Community) กับ เขา และแม้จะเคยทำกันมาไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลสมัยไหนๆ ก็ไม่มีอะไรก้าวไกลไปถึงไหน อย่างมากจบหลักสูตรภาษาอังกฤษกันมา ส่วนมากก็แค่พูดไทยคำปนอังกฤษคำ ก็ว่าเก่งแล้ว รัฐบาลต้องลงทุนส่งเสริมสื่อที่ใช้ภาษาอังกฤษให้เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่แค่ท่องคำศัพท์ได้ มีการแข่งขันคำศัพท์เขียนและแปลออกทีวีเท่านั้น ทำเลยตั้งสถานีโทรทัศน์แบบใช้ภาษาอังกฤาเต็มรูปแบบ จะเอา RT TV หรือ โทรทัศน์รัสเซียเขาทำไว้มาใช้เป็นแนว แถมรัฐบาลยังจะได้ตีแผ่ข่าวสารของรัฐให้รู้กันไปทั่วโลกด้วย คนทั่วโลกจะได้รู้ว่าชื่อ ประเทศไทย ก็มีอยู่ในโลกนี้กับเขา นักเรียน นักศึกษา ผู้ใฝ่รู้ทางภาษาอังกฤษจะได้ดูเป็นแนว การใช้ภาษา จำคำพูด ฟังการอ่านออกเสียง การเขียน สำนวนที่เจ้าของภาษาเขาใช้กันเป็นอย่างไร ไม่ใช่อ่านกันผิดๆถูกๆ อย่างคำว่า Globalization ได้ ยินบ่อยครั้งที่ผู้รู้ทำงานระดับประเทศหลายคน ครั้งแล้วครั้งเล่าอ่านว่า "กอบบอลไลเวชั่น" (เขียนตามเสียงคำอ่านที่ได้ยินมา ตามที่ออกทางโทรทัศน์) คำนี้มาจาก globe (อ่านว่า "กโลบ") ท่านคงได้ยินมาว่า "กอบ" พอคำนี้ทำเป็นคำนาม Globalization ท่านก็เลยอ่านติดปากว่า "กอบบอลไลเซชั่น" ที่จริงคำอ่านที่ใกล้เคียงนั้นคือ "โกล บอล ไล เซ ชั่น" อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนการเรียนการสอนนั้น ผู้ เขียนขอแนะนำด้วยสติปัญญาน้อยๆนี้ ว่า ไม่ต้องไปศึกษาถึงสหรัฐ หรืออังกฤษ หรือแม้แต่ที่สิงคโปรเลย แค่แถว ประเทศลาว เขมร ก็ดีที่สุดแล้ว ว่าทำไมภาษาอังกฤษเขาถึงดีกว่าของคนไทย ทั้งที่เขาเคยใช้ภาษาฝรั่งเศษเป็นภาษาทางการมาแล้ว หรือแม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์ เคยใช้ภาษาอะไรมาบ้างเป็นภาษาทางการ (ผู้เขียนไม่กล้าใช้คำว่าเคยเป็นเมือง…..ประเทศ ไหนมาบ้าง เพราะจะกลายเป็นการกระทบกระเทือนกัน) ทั้งๆที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาที่เขาเคยใช้เป็นทางการ แต่ทำไมเขาใช้ได้ดีกว่าเรา นั่นหมายถึงว่าเขามี adaptability และมีความสามารถในการ Apply หรือ ประยุกต์ใช้ภาษาที่พวกเขาเคยมี ถึงได้รู้จักนำเอาภาษาอังกฤษมาใช้งานได้ ไม่ใช่เพราะเขาเน้นเรื่องการใช้งาน การติดต่อสื่อสาร การฝึกใช้จริงเหรอ คงไม่ใช่แค่สอบแข่งกันเอาแค่คะแนนในห้องเรียนให้ได้สูงๆ เท่านั้น
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม Blogs ได้ที่
โดยคลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด
หรือจะคลิ๊ก แท็ป กล่องข้อความเข้าเพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )
ส่วน ในบล๊อก
ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า (Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก "บทความที่ใหม่กว่า" หรือ "บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa  : วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 24 July 2012
สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด  หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร
ติดต่อได้ที่  0877055958
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น: