Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ความหมายของ Drawing กับ Drafting คืออะไรบ้าง? – Message of the Day – 27 January 2011









ความหมายของ Drawing กับ Drafting คืออะไรบ้าง? – Message of the Day – 27 January 2011



สืบเนื่องมาจากการแก้คำผิด ใน หน้า 118 ตรง Drawstring ตรงความหมายหนึ่งในสองคำนิยาม คือ เชือดรูดเอว (หัวกางเกง) ให้แก้เป็น เชือกรูดเอว (หัวกางเกง) จึงชักชวนเข้ามาดู บทความเพิ่มเติมในหัวข้อความหมายของ Drawing กับ Drafting คืออะไรบ้าง?

เพื่อเป็นการต่อยอด และเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไป โดยเฉพาะคำว่า Drafting หรือ Drawing ซึ่งมาก่อนคำว่า Drawstring น่าจะเป็นคำว่า drawer หรือ drawing และอีกหลายคำที่น่าสนใจไม่น้อย และโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสองคำนี้ และคำอื่นที่มีความหมายที่คล้ายกัน ไม่ควรจะปล่อยให้ขาดหายไป โดยไม่ได้นำกล่าวถึง ดังเช่น :-


assistant draughtsman :-ผู้ช่วยนักเขียนแบบ
assistant draughtsman career description :-คำอธิบายลักษณะงานอาชีพของผู้ช่วยนักเขียนแบบ
blue print :-พิมพ์เขียว
calculation of constructional drawings :-การคำนวณแบบแปลนการก่อสร้าง
construction drafting :-การเขียนแบบก่อสร้าง
design & drafting of architectural landscape :-การออกแบบเขียนแบบภูมิสถาปัตยกรรม
design and drafting of interior architecture :-การออกแบบเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน
draft :-ซึ่งเป็นการเสิร์ฟจากถังผ่านก๊อก แทนที่จะเป็นจากขวด เช่น เบียร์สด หรือ draft beer เป็นต้น เป็รคำ Adj.
draft :-ตั๋วเงิน ใบสั่งจ่าย กระแสลมที่ไหลเข้ามาในห้อง หรือในยานพาหนะ หรือปล่องควัน N.
draft :-ทำเป็นโครงร่าง ร่าง (สุนทรพจน์) เขียนรูปร่างคร่าวๆ เกณฑ์ (ทหาร) ทำพิมพ์เขียว V.
draft beer :-เบียร์สด (US ใช้คำนี้) ส่วนที่อื่น อังกฤษ และแคนาดาใช้ draught beer
drafting :-วิชาเขียนแบบ การเขียนแบบ (สถาบัน RCA Institutes ใช้คำนี้)
draftsman :-ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบก่อสร้างอาคารหรือเครื่องจักร คนเขียนแบบ มีคนแปลว่า คนร่างหนังสือ N. (อเมริกันใช้คำนี้) (ถ้า พหูพจน์ ใช้ draftsmen)
draftsperson :-ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบก่อสร้างอาคารหรือเครื่องจักร คนเขียนแบบ N
draught beer :- (เบียร์ที่ได้จากถังเบียร์ เบียร์สด มีคนแปลว่า เบียร์ถัง (อังกฤษกับแคนาดาใช้คำนี้)
draughtsman :-นักเขียนแบบ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบก่อสร้างอาคารหรือเครื่องจักร คนเขียนแบบ นักเขียนแบบ N. (อังกฤษ แคนาดาใช้คำนี้)
draw :-ทำให้เคลื่อนที่ด้วยการดึง ได้รับ (เช่นผลประโยชน์) วาดหรือเขียนเครื่องหมายหรือเส้นบนผิว ชัก (มีด ชักปืน) วาด บรรยาย พรรณนา ดึงเอาน้ำออกจากถังหรือจากบ่อ ถอนเงิน ร่างเอกสาร วาดภาพ
drawing :-การเขียนเป็นโครงร่างของภาพ การแสดงด้วยภาพที่เขียนด้วยมือในหนังสือ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ รูปวาด การจับสลาก การวาดภาพลวกๆให้ดู การดึงเอาของเหลว หรือไฟฟ้าจากแหล่งจ่าย เช่นดึงเอาไฟมาใช้งาน ดึงหรือดูดน้ำจากบ่อ เป็นต้น แบบแปลน พิมพ์เขียว การวาดเขียน แบบก่อสร้าง วิชาวาดเขียน รูปวาดเขียน การเขียนแบบ N.
drawing and endorsement :-การออกและสลักหลังตั๋วแลกเงิน
drawing No. :-แบบแปลนที่
drawing pin :-หมุดปักติดประกาศ อเมริกันใช้ว่า thumbtack หมุดขนาดสั้นๆปลายแหลมหัวแบนใช้เพื่อติดประกาศ (used for putting up notices)
drawing room :-ห้องที่มีบรรยากาศสบายๆในบ้านหลังใหญ่ใช้เพื่อรับรองผู้มาเยี่ยมเยียน ห้องรับแขกผู้มาเยียนที่เป็นทางการ ห้องโดยสารส่วนตัวบนรถนอนซึ่งมีทั้งเตียงนอนและห้องน้ำให้ด้วย
drawing title :-ชื่อแบบแปลน
drawstring :-เชือกดึงรูดปากถุง เชือกรูดเอว (หัวกางเกง)
engineering drafting :-วิชาเขียนแบบวิศวกรรม
engineering drawing :-ภาพวาดทางวิศวกรรม การเขียนแบบวิศวกรรม
mechanical drafting :-(วิชา) ช่างเขียนแบบเครื่องกล
senior draftsman :-นายช่างเขียนแบบ (เช่น ชื่อตำแหน่งการบริหารภาษาอังกฤษในกรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้คำนี้)
technical drafting :-การเขียนแบบเกี่ยวกับทางเทคนิค วิชาเขียนแบบเทคนิค
withdrawing room :-ห้องรับรองแขก (ผู้มาเยี่ยมเยียน) ที่เป็นทางการ


*********************************************************************
ข้อ ความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความ ภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or visit the Blog directly at
โดยเข้าไปที่ บล๊อก (Blog หรืออาจจะเรียกอีกชื่อว่า Web Log):-http://worldway.multiply.com/ หรือ
http://jcampa-newlook.blogspot.com

คลิ๊ก “กล่องข้อความเข้า” แล้วเลื่อนหัวข้อรายการบทความหา (scroll) หัวข้อ “After Sales Service” เพื่อตรวจดูว่ามีอะไรใหม่ที่จะต้องแก้ไขอีก หรือจะ

คลิ๊กอ่าน “Message of the Day” ใน ไซ้ต์ของฉัน (Myway’s Site) แต่ละหัวข้อของ http://worldway.multiply.com/ และถ้าต้องการดูบทความทั้งหมด

ที่นำเสนอใน Blog อีกวิธีหนึ่งให้คลิ๊ค View All ใต้ข้อความย่อของบทความ

และสำหรับ บล๊อก http://jcampa-newlook.blogspot.com ใต้บทความแต่ละเรื่อง หรือใต้แต่ละหน้า Page นั้นจะมีข้ความว่า “บทความที่ใหม่กว่า” และ

“บทความที่เก่ากว่า” เพื่อค้นหาบทความที่ต้องการอ่าน
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 20 January 2011
สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร

ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และบริการหลังให้ท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ
Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases
หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป
ติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Present Perfect Tense ต่างจาก Past Tense ตรงไหน อีกแง่มุมหนึ่งที่พวกเรายังไม่ชัดเจน-Message of The Day-20 January 2011










Present Perfect Tense ต่างจาก Past Tense ตรงไหน อีกแง่มุมหนึ่งที่พวกเรายังไม่ชัดเจน-Message of The Day-20 January 2011


Present Perfect Tense :-อีกแง่มุมหนึ่งที่พวกเรายังไม่ชัดเจน-Message of The Day-20 January 2011

Present Perfect Tense


บทความนี้ขอนำเอาเรื่องไวยากรณ์มาพูดถึงอีกสักครั้ง เพราะนานๆจะมีการหยอด เกร็ดไวยากรณ์เอาไว้กันลืม และเผื่อเป็นการเน้นให้ผู้ที่ยังไม่ชัดเจนในบางประเด็นได้เก็บไปคิด และนำไปใช้งานได้


ลองดูประโยคตัวอย่างง่ายๆ สองประโยคนี้

1. James was in Bangkok for four years กับ 2. James has been in Bangkok for four years.

ดูความสัมพันธ์ในเรื่องของเวลา (time relationships) ที่ไม่เหมือนกัน แม้จะบอกว่า for four years ด้วยกันทั้งสองประโยค ในประโยคที่ 1. นั้น

เจมส์อยู่ในกรุงเทพเป็นเวลา 4 ปี เป็นการใช้แบบ Past Tense แสดงว่าเป็นการพูดถึงอดีต หรือบอกถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว และตอนนี้ก็ไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว

ซึ่งก็แสดงว่าขณะนี้เจมส์ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพอีกต่อไปแล้ว (He is no longer in Bangkok.) ไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ไหนแล้ว หรือ

He is now in some other city : ตอนนี้เขาไปอยู่เมืองอื่นที่ไหนก็ไม่ทราบ (ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นเมืองไหน หรือที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า some city หรือ some other city นั่นเอง)

แต่ในประโยคที่ 2. นั้นจะให้ความหมายว่า เจมส์ have been in คือ อยู่มาเป็นเวลาสี่ปีแล้ว ซึ่งอาจจะย้ายมาจากที่ไหนสักแห่ง เข้ามาอยู่ในกรุงเทพ เป็นเวลา 4 ปีแล้ว และตอนนี้ก็ยังอยู่ในกรุงเทพ (He moved in Bangkok four years ago and is still in Bangkok)

จะเห็นว่าในประโยค 2. นี้ เป็นการใช้ประโยคในรูปของ Present Perfect Tense ซึ่งบอกให้ทราบว่า เป็นเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิด หรือเริ่มมาตั้งแต่อดีตและสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันขณะที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ และก็จะต่อเนื่องต่อไปในขณะปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้แหละที่เราจะต้องใช้ Present

Perfect Tense กันล่ะ

ทีนี้มาดูตัวอย่างบางตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้ Present Perfect Tense นี้เพิ่มเติมอีก
1. I have been gathering this information all week :-ผมกำลังรวบรวมข้อมูลนี้มา (จนถึงบัดนี้) ทั้งสัปดาห์แล้ว
นั่นหมายถึง ผมได้ทำการรวบรวมมาตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์ และวันนี้เป็นวันเสาร์ผมก็ยังกำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ เพราะ ใช้ว่า have been compiling

2. How long have you been reading this book? :-คุณอ่านหนังสือเล่มนี้มานานแค่ไหน (ซึ่งขณะนี้คุณก็กำลังอ่านมันอยู่ ณ เวลานี้ -You are still reading

it at this present moment)

3. She has been your daughter's friend for many years :-เธอเป็นเพื่อนของลูกสาวคุณมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว (และตอนนี้เธอก็ยังเป็นเพื่อนของลูกสาวคุณอยู่-And she is still your daughter's friend อย่างนี้เป็นต้น


*********************************************************************



ข้อ ความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or visit the Blog directly at

< http://worldway.multiply.com >


คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า” เพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล๊อก http://worldway.multiply.com ) ส่วน ในบล๊อก http://jcampa-newlook.blogspot.com ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า (Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก "บทความที่ใหม่กว่า" หรือ "บทความที่เก่ากว่า"

เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 20 January 2011

สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่าวย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และบริการหลังขายให้กับท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases

หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป

ติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ

Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com

That is the way the nature is (หัวข้อที่ 31).






That is the way the nature is (หัวข้อที่ 31). – Message of the Day-20 January 2011



(¯`*•.(¯`*•. Tathata (it is what it is).•*´¯).•*´¯)

That is the way the nature is.


บทความนี้ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

ซึ่ง เป็นอีกลีลาหนึ่งในการนำเสนอวิธีการฝึกปฏิบัติธรรม ด้วยการเลือกใช้มุมมองเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการพิจารณาค้นหาข้อเท็จจริง หรือสัจธรรม ที่หาอ่านได้ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นการฉีกแนว คิดนอกกรอบแตกต่างไปจากคำแนะนำที่มีการกล่าวถึงกันทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใฝ่รู้ เสาะหาแนวทางในการปฏิบัติธรรมอีกแง่มุมหนึ่ง

ซึ่งเขียนโดย

อุบาสิกา (อบ.) ละมัย จุลคำภา (Female Ascetic Lamai Chulkampha)

(A female devotee who practices self-denial as a spiritual discipline)

แห่งสำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง

36 หมู่ 11 ต. เกาะพลับพลา

อ. เมือง จ. ราชบุรี 70000

จะนำเสนอในบล็อกต่อไปนี้ จนจบเล่ม พร้อมทั้งต้นฉบับ ภาษาไทยและคำแปล อังกฤษ

สามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งที่

Visit us at:

http://worldway.multiply.com/

และ

http://jcampa-newlook.blogspot.com/



หมายเหตุ:

[ข้อ ความที่ทำเป็นตัวเอน พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ ทำไว้เพื่อให้สะดวกกับผู้อ่าน หากท่านที่เข้าใจความหมายคำหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปพะวงอ่าน คำอธิบายความหมายที่อยู่ในวงเล็บดังกล่าว ให้ข้ามข้อความตรงนั้นไปเลย จะได้อ่านไม่ขาดตอน ไม่ทำให้ขาดความกลมกลืนในเนื้อหา ที่อธิบายไว้ก็เพื่อให้ชาวต่างชาติ หรือคนที่ไม่สันทัดกับคำหรือข้อความหลักเหล่านั้น จะได้เข้าใจความหมายถูกว่า ทางพระท่านหมายถึงอะไรได้บ้าง]


-31-


If one can see the disappearance of Vedhana (the sensation), Tanha (the desire) will never exist.

- Knowing and seeing Vedhana (the sensation) at the same time while it is vanishing abruptly, Tanha (the desire) existing in the thing flowing to strike the Vedhana (the sensation) will never take place, because everything has vanished and changed urgently to the emptiness. This is what is called Tathata (or it is what it is), therefore there is neither gladness nor unhappiness to take place any longer.
- If one does not perceive the disappearance of Vedhana (the sensation), there will, of course, be gladness and unhappiness to take place in the thing coming to strike it. Hence, Tanha (the desire) will therefore be taken place by the thing coming to strike the Vedhana.
- Upadhana (the clinging or remaining emotionally; remaining intellectually attached; putting one's thinking on what he / she envisages to be; putting one's thinking on what he / she had in mind) of a fast attachment to that Tanha (the desire) will later be brought about, it will bind firmly beforehand to the ground of Bhava Bhuta (the state of existence) tightly and firmly to the extent that it becomes the real entity of oneself. Then grief and groaning resulted from unfulfillment of the expected hope will later continue to come up again and again until one gets old and sick, however, he / she will still not be able to realize it, until the death comes, and the reoccurrence thereof will continue to take place again after one’s rebirth. (See29).
- Paticcasamuppada (the law of causation; truths subject to one another to take place step by step) is divided into 2 types, namely Samut-thayavara and Nirodhavara.
- Samut-thayavara is a period of time occurring in connection with the cycle of birth; getting old, ailment, and death (Sangsaravatta, or Samsaracakka). The acts of deed will carry on along with the period of time of the unknowingness, thereby the occurrence of good or bad deed and hostile action will keep coming up repeatedly without ending.
- Nirodhavara is a period of time during which one knows or perceives the disappearance of the state, it is because one has intelligence or wisdom, knowing, seeing, and understanding the traces of origination of everything. Tathata (or it is what it is) and an absolute disappearance of Avitcha (the lack of essential knowledge; ignorance) will then appear to be seen.
- The acts of good or bad deed will end during the time at which one perceives that the persistently flowing nature is Tathata (it is what it is). The good or bad deed and hostile action will end because one knows and sees them through one’s wisdom.



(ต้นฉบับภาษาไทย)



เห็นความดับของเวทนา ตัณหาไม่เกิด

- การรู้เห็นทันตรงเวทนาดับลงอย่างฉับพลัน ตัณหาในสิ่งที่ไหลมากระทบก้จะไม่เกิด เพราะทุกสิ่งดับลงสู่ความว่างเปล่าเฉพาะหน้า เป้นตถตา ความยินดียินร้ายจึงไมเกิด
- ถ้าไม่รู้เห็นตรงความดับของเวทนา ก้จะเกิดยินดียินร้ายในสิ่งที่มากระทบ เกิดตันหาเพราะสิ่งนั้น
- ต่อจากนั้น อุปาทาน ความยึดมั่นจริงจังก้เกิดขึ้น ผนึกเป็นภพภูมิไว้ล่วงหน้าแล้ว แล้วแน่นเหนียวกลายเป้นตัวตนของฉันอย่างแท้จริง ความโศกความร่ำไรรำพันต่อความไม่สมหวังก็ติดตามมา จนกระทั่งวัยชราและเจ้บป่วยก็ยังไม่สำนึกได้ จวบจนตายแล้วก็กลับมาเวียนว่ายใหม่อีก (ดู 29)
- ท่านจัดปฏิจจสมุปบาทไว้ 2 สาย คือสายสมุทยวาร และนิโรธวาร
- สมุทยวาร คือ วาระที่สืบต่ออยู่ในสังสารวัฏฏ์ การกระทำกรรมดำเนินไปตามวาระของความไม่รู้ จึงก่อเกิดกรรมไม่รู้จบ
- นิโรธวาร คือ วาระที่รู้ความดับของสภาวะ เพราะมีปัญญารู้เห็น และรู้เค้าเงื่อนของความก่อเกิดของสรรพสิ่ง เห้นความเป้น ตถตา และความดับสนิทลงของอวิชชา
- การกระทำกรรมก้สิ้นสุดลงทุกวาระที่เห็นและรู้ธรรมชาติที่ไหลเรื่อยเป้นตถตา กรรมเวรจึงสิ้นสุดลงเพราะรู้เห้นด้วยปัญญา


-0-


*********************************************************************



ข้อ ความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or visit the Blog directly at

< http://worldway.multiply.com >


คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า” เพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล๊อก http://worldway.multiply.com ) ส่วน ในบล๊อก http://jcampa-newlook.blogspot.com ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า (Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊กที่ "บทความที่ใหม่กว่า" หรือ "บทความที่เก่ากว่า"

เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 20 January 2011

สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และบริการหลังขายให้กับท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases
หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป

ติดต่อที่ โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ

Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

WRP or Jcampa (เจแคมป้า): Chief of police, Chon Buri :-หมายถึงใคร? - Message of the Day - 7 January 2011

WRP or Jcampa (เจแคมป้า): Chief of police, Chon Buri :-หมายถึงใคร? - Message of the Day - 7 January 2011

Chief of police, Chon Buri :-หมายถึงใคร? - Message of the Day - 7 January 2011








Chief of police, Chon Buri : ตรงนี้ต้องขอแก้ไขคำแปลที่ว่า "ผู้กำกับการจังหวัดชลบุรี" ในหน้า 75 แก้เป็น "ผู้บังคับการจังหวัดชลบุรี"

[หมาย เหตุ : หัวหน้าโรงพัก หรือหัวหน้าใหญ่ในแต่ละโรงพัก เรียกว่า ผู้กำกับสถานีตำรวจ (ภูธร) แต่ถ้า ผู้บังคับการ ในแต่ละจังหวัดหมายถึง หัวหน้าใหญ่ หรือหัวหน้าสูงสุดของทุกสถานีตำรวจในเขตจังหวัดนั้น ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ผู้การ ซึ่งตรงกับคำว่า

Commander, Khonkaen Provincial Police :-ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น (ผบก.ภ.จว.] หรือ
Commander, Chon Buri Provincial Police :-ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรั (ผบก.ภ.จว.]


เนื่อง จากมีการแก้ไขคำแปล ของคำว่า Chief of police, Chon Buri ดังกล่าว จึงใคร่ที่จะขอเพิ่มเติม คำอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดในหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases : หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป เล่มนี้ ดังนี้ :-

a policeman in charge of a precinct :-ตำรวจรับผิดชอบในเขตพื้นที่
assistant national police chief :-ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
assistant senior inspector :-ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ
chief inspector :-สารวัตรใหญ่ (สวญ.)
chief of station :-หัวหน้าสถานี หรือ Chief of police station :-หัวหน้าสถานีตำรวจ ซึ่งหมายถึง ผู้กำกับ หรือผู้กำกับการ เป็นภาษาเรียกแบบกลางๆ ซึ่งก็หมายถึง superintendent :-ผู้กำกับการ (ผกก.) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ทางการ
Commander in Chief of The Royal Thai Police :-ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (คำนี้ก็มีคนใช้กัน) แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ Police Commissioner-General :-ผู้ บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร. [เมื่อก่อนสังกัดอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเทียบเท่ากับกรมตำรวจ หรือ police department ผู้บัญชาการตำรวจ เมื่อก่อนเป็นกรมตำรวจเรียกว่า Director-General :-อธิบดีตำรวจ]
Commander of Khonkaen Provincial Police :-ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น (ผบก.ภ.จว.)
commissioner :-ผู้บัญชาการ (ผบช.)
commissioner, provincial police, region 1-9 :-ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 (ผบช.ภ. 1-9))
deputy inspector-general :-รองจเรตำรวจ
deputy senior inspector :-รองผู้ตรวจราชการ
inspector :-ผู้บังคับกอง สารวัตร (police inspector :-สารวัตร)
inspector-general :-จเรตำรวจ
police commissioner-general :-ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร.
police inspector :-สารวัตร (สว.) ผู้บังคับกอง นายตำรวจ
police precinct :-เขตลาดตระเวนของตำรวจ
senior inspector :-ผู้ตรวจราชการ
staff inspector :-สารวัตรอำนวยการ
sub-inspector :-รองสารวัตร
superintendent :-ผู้กำกับการ (ผกก.) ถ้ารองผู้กำกับการ (รอง ผกก.) ใช้ว่า deputy superintendent
The Chief of Police, Chon Buri :-ผู้บังคับการตำรวจ จังหวัดชลบุรี
The Royal Police :-สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


*********************************************************************



[ข้อ ความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อ

ความ ภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of

the Day" at the top of this email, or access the Blog directly at

< http://worldway.multiply.com >

คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า”]

เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 4 January 2011

สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็น

ลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น

(highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำ

นั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และสมนาคุณท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษา

อังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป

มีจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือจะติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ

myvictory32@hotmail.com CC: victory267@yahoo.com

ท่านสามารถเข้าชมเรื่องต่างๆเหล่านี้เพิ่มเติมได้อีกที่ http://jcampa-newlook.blogspot.com

Preface of The Dictionary of Names, Positions, Occupations and...
















<= คลิ๊กตรงภาพ 2 ครั้ง (Double-click) เพื่อขยายภาพให้โตขึ้น




บทความตรงนี้เป็น คำนำของ Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases : หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป มีเนื้อหาดังนี้ :-


บทความตรงนี้เป็น คำนำของ Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases : หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป มีเนื้อหาดังนี้ :-

คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธความสำคัญของภาษาอังกฤษว่ามีประโยชน์มากมายแค่ไหน มีบทบาทมากอย่างไร ยิ่งยุคโลกาภิวัตน์ ยุคไอที (IT) ยุคอิน เทอร์เน็ต (Internet) ที่มีความสามารถในการสื่อสารหรือถ่ายทอดความคิดเห็นต่าง ๆ กับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วอย่างทุกวันนี้ และทั้งด้านการสื่อสาร กับหลายวงการ จนกลายเป็นปัจจัยสำคัญในวงการข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง ได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งได้กลายเป็นฐาน ธุรกิจระดับโลกในหลายรูปแบบ คนที่จะค้นหาข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ต แน่นอนว่าส่วนมากแล้วจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสื่อกลางใน การค้นหาข้อมูล รวมทั้งการติดต่อสื่อสาร ภาษาที่เห็นเด่นชัดและใช้กันมากที่สุดนั้นคือ ภาษาอังกฤษ เราคงไม่นิ่งดูดายที่จะไม่ยอมรับรู้ ไม่ตื่นตัว ไม่ศึกษาเพิ่มเติม หรือไม่พยายามต่อยอดให้ภาษาอังกฤษจากที่เคยร่ำเรียนมานานหลายปี ให้แข็งแรงจนเกิดประโยชน์และใช้งานได้ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตามทันประเทศอื่นที่เขาเจริญรุดหน้าไปไกล และเพื่อไม่ให้ล้าหลังประเทศเหล่านั้น


เคยมีข่าวว่าคนไทยสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษเข้าทำงานกับหน่วยงานต่างชาติ อยู่ในลำดับรั้งหลังชาวเขมร และสอบเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศ อยู่ในอันดับรั้งท้ายชาวลาว ทั้งที่ทั้งสองประเทศเขาไม่เคยอยู่ในความปกครองของประเทศอังกฤษเลย ส่วนมากพวกเขาถนัดภาษาฝรั่งเศส แต่ทำไมภาษาอังกฤษของเขาจึงดีกว่า ของเรา ทั้งที่เราทุ่มเท ตั้งหน้าตั้งตาเรียนภาษาอังกฤษกันมาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนระดับสูง ๆ อย่างน้อยก็ระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ แต่ก็ไม่สามารถนำภาษาอังกฤษออกมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้และดีเท่ากับเวลา และเงินทองที่ทุ่มเทไปเลย คิด ๆ ดูเหมือนถูกสาป เรียนอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ยุคใหนรัฐบาลไหนก็เห็นมุ่งปฏิรูปการศึกษา และเน้นเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นประเด็นหลัก แต่แล้วก็อยู่กัน แค่นี้ ทีประเทศอื่นเขากลับสามารถนำเอามาใช้เป็นงานเป็นการได้ เรื่องประหลาดอย่างนี้เกิดขึ้นกับประเทศเราได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นกับการเรียนการสอนของประเทศเรามาตลอด


[ขอแทรกตรงนี้ เพื่อการอ้างอิง ผุ้เขียนไม่ได้พูดเอง แต่ได้มาจากเว๊บไซต์ข้างล่างนี้ => วงการศึกษาไทยช็อกไปตามๆ กัน!! เมื่อศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ.) เปิดเผยข้อมูลของ อีดูเคชั่นนัล เทสติ้ง เซอร์วิส (อีทีเอส) สหรัฐอเมริกา ผู้จัดสอบโทเฟล พบว่า คะแนนเฉลี่ยสอบโทเฟลเดือนกรกฎาคม 2547-มิ.ย. 2548 ไทยมีคะแนนเฉลี่ยลำดับที่ 8 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม และลาว นอกจากนั้น อีทีเอสยังจัดสอบโทอิก (TOEIC) ซึ่งพบว่าคะแนนเฉลี่ยโทอิกช่วงปี 2547-2548 ของไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และกัมพูชา ตามลำดับ รวมถึงค่าเฉลี่ยคะแนนภาษาอังกฤษจากการสอบเอนทรานซ์เดือนมีนาคม 2545-มีนาคม 2548 ไม่มีปีใดที่ผู้สอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ "การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในไทยยังไม่น่าพอใจ เพราะการส่งเสริมขาดความต่อเนื่อง ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องสอนภาษาอังกฤษ โดยไม่ได้จบเอกด้านนี้ ขณะที่หลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้ความสำคัญกับวิชาการมากกว่าการนำไปใช้สื่อ สารได้จริง" ศ.ดร.อัจฉรา วงศ์โสธร ผู้อำนวยการ ศสษ. กล่าว สอดคล้องกับการที่กรมสามัญศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปัจจุบันได้ประเมินพื้นฐานความรู้ของครูสอนภาษาอังกฤษเป็นรายบุคคล 1 หมื่นคนทั่วประเทศเมื่อปี 2546 พบว่า ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถม 90% มีความรู้ค่อนข้างต่ำเพราะไม่ได้จบวิชาเอกภาษาอังกฤษโดยตรง ขณะที่ครูสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมมีความรู้อยู่ระดับปานกลางถึงค่อนข้าง ต่ำ http://www.moe.go.th/webpr/news_day/m081648/edu1.html]


ไม่ทราบว่าจะโทษใคร เป็นความผิดของใคร หรือว่าวิธีการเรียนการสอนของเราเป็นอย่างไร เราเกาไม่ถูกที่คันกันหรืออย่างไร ใครดัดเสียงให้ เหมือนต่างชาติ (แม้แต่จะออกเสียงแปร่ง ๆ เหมือนจีน เขมร ญวน พม่า) ก็ชื่นชมกันว่าเก่ง ทั้งที่เนื้อหาความถูกต้องไม่ได้ถูกต้องเลย พูดง่าย ๆ ว่าจะเอาแต่สุ้มเสียงมาวัดกัน ทีหลักเกณฑ์ความถูกต้องเหมือนกับที่เจ้าของภาษาเขาใช้กลับไม่ให้ความสำคัญ มีบางยุค นักการเมืองออกมาพูดกันว่าไม่ให้สอนไวยากรณ์ ฟังดูตลกแบบรู้กันไม่จริง เราจะเรียนภาษาเขาแต่ไม่เอาหลักเกณฑ์ของเขามาใช้ หรือนำมาใช้เทียบเป็นแนว แล้วจะไปงมเข็มอีท่าไหน จึงจะใช้ภาษาเขาได้ เราไม่ได้อยู่ในเมืองเขา นาน ๆ เราจะได้เจอะเจอ ได้พูด ได้ฟังเขาพูด แต่เรามีโอกาสได้อ่านหรือไม่ก็ได้เขียน อย่างในยุคนี้


คือ ต้องใช้มันบนอินเทอร์เน็ต และทั่วโลกก็กำลังให้ความสนใจกับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อทำธุรกิจ เสาะแสวงหาความรู้ หาข้อมูลชิงความเป็นใหญ่กันจากแหล่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั่วโลก และตรงนี้แหละภาษาอังกฤษจะเข้ามามีบทบาทมากมายมหาศาล เราเรียนกันมาแล้ว เสียเงินมาแล้ว ปล่อยให้มันจางหายไปทำไม ปัดฝุ่น ฟื้นฟูมันให้แน่น ให้แข็งแรง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ควรจะได้ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การคิดค้นนวัตกรรม การประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที จะยอมแพ้ชาติอื่นเขาง่าย ๆ อย่างนั้นเหรอ


ตรงนี้ผู้เขียนก็ไม่ได้ยกเมฆมาเขียน แต่นำมาจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อตามรูปข้างล่างนี้ ถ้าต้องการอ่านให้ตัวหนังสือโตขึ้น ให้ คลิ๊กตรงภาพ 2 ครั้ง




แม้แต่ประเทศสิงคโปร์เอง ภาษาทางการของเขาทั้งที่เขาใช้ภาษาอังกฤษเป็นประจำ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องเรียนต้องใช้ภาษานี้เป็นสื่อที่เป็นทางการ แต่เขากลับออกตัวว่าภาษาของเขายังไม่ถูกต้อง ทางรัฐบาลเขายังพยายามหาทางปรับปรุงภาษาอังกฤษของเขาให้ดี ให้ได้มาตรฐาน เพราะเขายอม รับว่าภาษาอังกฤษของเขาไม่ได้มาตรฐานทำให้เขาเจริญไม่เท่าเทียมชาติอื่น  

ตรงนี้เป็นคำพูดของลีกวนยูเอง


แค่นี้ก็พอจะมองออกแล้วว่าเขาให้ความ สำคัญกับภาษาอังกฤษแค่ไหน ทั้งที่พวกเราคนไทยกลับเข้าใจว่า ภาษาอังกฤษของเขาดีกว่าของเรา แต่เขายังไม่ยอมหยุดยั้งที่จะปรับปรุงพัฒนาให้ภาษาอังกฤษของเขาดีขึ้นไปเรื่อย ๆ

ประมวลศัพท์เกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษและวลีต่าง ๆ ที่ใช้งานกันทั่วไป เล่มนี้บรรจงนำมาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อนำเสนอแนวทาง การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในอีกรูปแบบหนึ่ง แม้จะใช้ชื่อว่า ศัพท์เกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพ ในภาษาอังกฤษและวลีต่าง ๆ ที่ใช้งานกันทั่วไป นอก จากคำศัพท์โดด ๆ ที่พอจะหาดูได้จากหนังสือเล่มอื่น แต่ก็มีเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถหาได้จากที่ไหนในหนังสือที่มีวางขายอยู่ใน ขณะนี้ อาจจะหาได้ในเล่มนี้ นอกจากนั้น การรู้คำแค่เพียงคำโดด ๆ อย่างดีก็แค่รู้เพียงความหมายของคำศัพท์คำนั้นเท่านั้น ครั้นเมื่อจะนำไปทำเป็นข้อความหรือรวมเข้ากับคำอื่น ไม่ทราบว่าจะใช้อย่างไร หรือจะให้หมายความออกมาว่าอย่างไรแน่


หลายครั้งเมื่อเอาคำตั้งแต่สองคำมารวมกัน ขยายกัน สมาสกัน ทำให้สงสัยว่า ที่เราสร้างคำขึ้นมานั้น มันให้ความหมายอย่างที่เราคิดเอาไว้ไหม หรือเขาใช้กันอย่างนั้นหรือเปล่า จะไปเปิดหาพจนานุกรมเล่มอื่นแทบจะไม่มีเลย หรือไม่มีเอาเสียเลย อย่างดีก็คำแปลแบบคำต่อคำ แล้วจะไปหาที่ไหน ได้ แม้แต่พจนานุกรมภาษาอังกฤษต้นฉบับเองก็มีน้อยเต็มที หรือบางครั้งมี เราเองก็ไม่แน่ใจว่า เขาเขียนเหมือนเรา แต่เขาแปลหรือมีหมายความว่า อะไรแน่ เพราะเราเองก็ไม่ถนัด พูดง่าย ๆว่าเราเองภาษาก็ไม่เก่ง คือแปลไม่ได้ว่าเขาอธิบายว่าอย่างไรแน่ อันนี้ก็เป็นปัญหา ที่เราคนไทยส่วนมาก กำลังเผชิญกันอยู่ เพราะตำหรับตำราที่จะช่วยปูทางหรือทำให้เราขยายความรู้ทางภาษาอังกฤษให้มีวง กว้างขึ้น หรือจะหามาใช้เปรียบเทียบความหมายหรือความถูกต้องของมันช่างหายากจริง ๆ

ไปร้านหนังสือกี่ครั้ง ก็เห็นมีแต่เนื้อหาเก่า ๆ จำเจ เคยเรียนในชั้นเรียนมาอย่างไร ก็เห็นกันอยู่อย่างนั้นแม้จะเป็นหนังสือใหม่ ไม่พอจะเอามาใช้เป็นบรรทัดฐาน เอาไว้ปรึกษาเวลาติดขัด เข้าตาจน อยากจะปรึกษาหรือถามใครก็ไม่มีและไม่มีเลย กี่เล่มที่ออกมา ก็ตอกย้ำกันอยู่แค่ที่เคยได้เรียนมาในห้องเรียนสมัยเป็นนักเรียน นักศึกษา จึงดูเหมือนว่า เมืองไทยรู้กันอยู่แค่ ตัดป่า เกลี่ยดิน ตอกเสาเข็ม ทำฐานรากอยู่แค่นั้น เลยกลายเป็นว่าคนไทย ถ้าจะเปรียบก็ไม่ต่างอะไรกับการเป็นแค่คนรู้จักถางหญ้า เกลี่ยดินให้เข้าที่เข้าทาง ตอกเสาเข็มให้ฐานรากแน่นแล้วแน่นอีกอยู่กันแค่นั้น พูดง่ายๆ ว่ามีแค่คนรู้จักทำงานฐานรากแค่นี้เอง แล้วเมื่อไรจะมีบริษัทรับจ้างหรือผู้รับเหมาที่จะมารับจ้างพาเรา ตั้งเสา สร้างโครงร่าง ก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นหลังขึ้นมาสักที เราแน่นกันอยู่แค่ภาษาอังกฤษพื้นฐาน เพื่อให้สอบได้คะแนนสูง ๆ สอบเสร็จก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไรเพราะตอนเรียน ครูก็บอกว่าตรงนี้แหละสำคัญจะออกข้อสอบนะ ไม่มีการชี้นำให้เอาไปใช้งานได้เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ได้พาแต่งประโยค ฝึกแปล ฝึกอ่าน ฝึกเขียน โต้ตอบจดหมาย เขียนเรียงความ อ่านหนังสือพิมพ์ แชทบนอินเทอร์เน็ต หรือค้นคว้า เพื่อดึงเอาความรู้จากอินเทอร์เน็ตที่เป็นภาษาอังกฤษมาฝึกอ่านฝึกแปลกันเลย


หนังสือเล่มนี้จะช่วยแก้ปัญหายิ่ง เวลาจะอ่าน จะเขียน จะแปลแต่ละครั้ง เวลาเจอข้อความที่มีหลายคำนำมาเขียนรวมกันยาว ๆ ไม่ทราบว่าจะ แปลอย่างไร จะเริ่มตัวไหนก่อน ตามด้วยตัวไหน แล้วจะไปอย่างไรต่อ ในกรณีที่อ่านเจอ และในกรณีที่เขียน ถ้าเอาคำนี้มารวมกับคำนี้ จะให้ความหมาย เป็นอย่างไร มีคนเขาใช้อย่างนี้บ้างหรือเปล่า ในที่สุดก็เบื่อ เพราะไม่ทราบจะปรึกษาใคร ขณะที่นั่งเขียนอยู่ตัวคนเดียว อย่างมากก็หาเปิดพจนานุกรม เล่มนั้น เล่มนี้มีบ้าง ไม่มีบ้าง ถ้าไม่สนใจจริงหรือไม่เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษแล้ว คงต้องเลิกที่จะให้ความสนใจอีกต่อไป


เขาว่าปัญหามีไว้เพื่อให้แก้ จึงพยายามหาทางแก้ไปทีละจุด จนทำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการอ่าน การแปล การเขียน ใช้เป็นแนวทาง และเปรียบเทียบ แม้จะมีไม่ครบทุกแง่ทุกมุม ทุกประเด็นปัญหา แต่ก็ช่วยได้เยอะทีเดียว อย่างน้อยก็จะเป็นการริเริ่ม ฉีกแนวตำราเรียน ภาษาอังกฤษออกไปบ้าง มีกฎและหลักต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการพูดถึงหรือไม่เคยสอนในห้องเรียนมาก่อน หรือมีก็แค่เปรย ๆ พอเป็นพิธี ไม่พอจะให้ความกระจ่าง ให้แตกฉานได้ จึงเป็นการเชิญชวนให้ผู้สนใจในภาษานี้ กล้าพอที่จะตั้งเสาบ้าน เอาองค์ประกอบแต่ละส่วนมาติดตั้งทำเป็นโครงร่างขึ้นมาได้บ้าง อย่างน้อยก็จะไม่จำเจอยู่กับการทำฐานราก เช่น เกลี่ยดิน ตอกเสาเข็ม เทปูนกันไปตลอดชีวิตโดยไม่มีอะไรคืบหน้าเลย


ลักษณะเฉพาะของหนังสือเล่มนี้


► เป็นการรวบรวมคำ ข้อความ วลี สำนวน ที่หาจากเล่มอื่นไม่มี
► ไม่ว่าจะเป็นคำเดียวโดด ๆ ที่หาไม่ค่อยเจอในเล่มอื่น อาจหาพบในเล่มนี้
► เป็นการนำเสนอทำนองเดียวกันกับพจนานุกรมทั่วไป แต่มีการเพิ่มเติมด้วยการเน้นเรื่องชื่อ ตำแหน่ง
อาชีพในภาษาอังกฤษ และสำนวน (Idiom) วลีต่าง ๆ
► เป็นการให้คำแปลในความหมายที่เป็นไปได้ (Possible Meanings) ในคำหรือข้อความเดียวกัน เท่าที่จะมี
ทางแปลได้ โดยเฉพาะคำในภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่โดด ๆ ความหมายจะดิ้นได้ เว้นแต่จะมีข้อความอื่น หรือ
บริบท มากำกับหรือจำกัดความหมาย อย่างเช่น Australian English translator อาจจะหมายถึง นักแปลภาษาอังกฤษที่เป็นชาวออสเตรเลีย หรือนักแปลภาษาอังกฤษที่ใช้ในออสเตรเลีย ซึ่งมีอธิบายเอาไว้ชนิดที่ว่า ไม่เคยมีสอนในชั้นเรียนมาก่อน
► มีการนำเอาคำหรือข้อความที่เกี่ยวข้องมารวมกันไว้ตามเท่าที่จำเป็น เพราะถ้ามากไปจะทำให้หนังสือมี
ขนาดโตมากไป
► คำหรือข้อความต่าง ๆ ที่นำเสนอมาจากเอกสารจริง จากการแปลเอกสารหลายรูปแบบ
► คำคำเดียวกันเมื่อขยายคำต่างกันจะมีความหมายไปคนละอย่าง เช่น working girl กับ working
woman หรือ working life หรือ working party หรือ working group หรือ working papers มีความหมาย
ต่างกัน
► มีกฎต่าง ๆ ที่หาอ่านจากที่อื่นได้ไม่ง่ายนัก และไม่มีสอนในชั้นเรียนทั่ว ๆ ไป หรืออาจจะมีบ้างแต่ก็เป็น
การกล่าวเปรย ๆ ลอย ๆ เอาไว้ไม่มีความชัดเจน
► อัดแน่นด้วยชื่อต่าง ๆ ตำแหน่งงาน อาชีพ ไม่ว่าเอกชน ราชการ ทหาร ตำรวจ ศาล โรงเรียน นักเรียน
นักศึกษา ครูอาจารย์ ผู้คนในทุกวงการ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล โรงงาน และอื่น ๆ รวมทั้งวลีสำคัญ
ต่าง ๆ เพื่อใช้อ้างอิงและใช้งาน
► สำหรับผู้ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา นักแปล ผู้ที่จะเป็นนักแปล นักเขียน นักเรียน นักศึกษา ผู้คนทั่วไป และผู้สนใจทางภาษา จะได้หยิบไปใช้ มีหลาย ๆคำ ที่ยังไม่มีการบัญญัติใช้เป็นทางการ ต่างคนต่างเข้าใจ ต่างคนต่างเรียกกันตามพื้นฐานความรู้ที่มี ก็พยายามเก็บเอามาให้เลือกใช้ตามที่เห็นว่าเหมาะสมในงานนั้น ๆ ที่ผู้อ่านกำลังอ่านหรือแปลอยู่
► ยกตัวอย่างง่าย ๆ คำง่าย เช่น your กับ contact มารวมกันเป็น your contact หมายความอย่างไร เข้าใจอย่างไรแน่ หรือมันคืออะไร ใครติดต่อ ใครแน่ อะไรทำนองนี้ คำง่าย ๆ อย่างนี้แหละทำให้ปวดหัวและก็ไม่มีสอนในชั้นเรียน แต่เห็นกันบ่อย ๆ ตามสื่อ แต่ไม่ทราบว่าแปลว่าอะไร หรือ
team player หรือ technician co-ordinator หมายความว่าอย่างไร เป็นต้น
► ถ้ามีหลายคำนามมาขยายหรือรวมเข้าด้วยกันอย่าง Chinese-speaking female fruit seller ถ้าอย่างนี้ จะแปลอย่างไร หรืออีกสักตัวอย่าง

ในวลีที่ว่า veteran of two world wars จะแปลว่าอย่างไร เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งมีบรรจุไว้ในเล่มนี้มากมาย เกินที่จะนำมากล่าวในพื้นที่ตรงนี้ได้ แทนที่จะจำแค่คำเดียวโดด ๆ ลองมาจำเป็นชุดคำ กลุ่มคำ เป็นข้อความ หรือเป็นวลี ถึงแม้จะจำไม่ได้หมด แต่จะทำให้เราเคยชินกับการใช้คำได้หลากหลายรูปแบบ อย่างน้อยจะทำให้ทราบว่าแต่ละคำเขาใช้กันอย่างไร ต่อให้รู้คำโดด ๆ มากมายแค่ไหนก็เท่านั้นแหละ อย่างดีก็แค่เอามาพูดไทยปนอังกฤษให้มองว่าเท่ห์ดี แต่เชื่อเหลือเกินว่า ยากมากสำหรับคนที่มีพื้นฐานไม่แน่น ขาดประสบการณ์ทางการใช้ภาษา บางครั้งไม่สามารถทำเป็นวลีหรือข้อความยาว ๆได้ และแม้แต่ประโยคต่าง ๆ ที่จะพูด จะเขียนเพื่อสื่อความหมายที่ถูกต้องได้ ทางผู้เขียนเห็นว่า การจำหรือทำความเคยชินกับข้อความหลาย ๆ คำ ทำให้เราสามารถมองอะไรได้กว้างมากขึ้น ใช้งานได้มากและดีกว่าการจำเป็นคำ อย่างน้อยจะได้รู้ว่า แต่ละคำไม่ได้แปลอย่างนั้นเสมอไป หรือไม่ก็จะทำให้ทราบได้ว่าคำอย่างนี้เขาใช้กันอย่างไรได้บ้าง


คำบางคำที่ไม่มีใครบัญญัติไว้ เราจะมีวิธีการสร้างคำหรือพูดอย่างไรให้ต่างชาติเข้าใจ ทางผู้เขียนนำมาเขียนและรวบรวมเอาไว้ เพื่อใช้เปรียบเทียบหรือเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับแต่งหรือสร้างคำใหม่ ขึ้นมาเอง และพยายามสอดแทรกคำต่าง ๆ เอาไว้ มีคำบางคำ ดูผิวเผินอาจจะเห็นว่าไม่เกี่ยวข้อง แต่เป็นคำที่เอามาจากเอกสารจริง ที่เป็นเนื้อหาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เผื่อมีโอกาสได้ไปอ่าน เขียน หรือแปลเอกสารในเรื่องเหล่านั้น จะได้สะดวกหรือเข้าใจได้ และยังเป็นการอ้างอิงว่ามาจากเอกสารเดียวกัน ซึ่งส่วนมากเป็นเอกสารทางการ มาจากหลายประเทศ จากสื่อต่าง ๆ และหนังสือพิมพ์ระดับต่างประเทศ รวมไปถึงพจนานุกรมต้นฉบับภาษาอังกฤษ เช่น :-

The New Oxford Dictionary of English, Cambridge Advanced Learner’s Dictionary, Newbury House Dictionary, Longman Active Study Dictionary, Babylon Dictionary, American Heritage Dictionary, Collins Cobuild Dictionary, Longman Dictionary of Contemporary English, Webster’s Collegiate Dictionary, New Oxford Business English Dictionary, Cambridge International Dictionary of English รวมทั้งพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น ถูกนำมาใช้อ้างอิงเป็นส่วนใหญ่


ขอย้ำตรงนี้อีกครั้ง แม้ว่าบางครั้งเรารู้ความหมายของแต่ละคำเป็นอย่างดี ตามที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้น เมื่อไปเจอคำเหล่านั้นรวมกันเป็นข้อความหรือเป็นวลี เราไม่สามารถตีความหมายหรือแปลความหมายของวลีนั้นได้ หรือไม่ก็ทำให้ไม่แน่ใจว่ามันหมายความว่าอะไรแน่ และตรงนี้แหละทำให้เราอ่านไม่ได้ เขียนไม่เป็น เบื่อที่จะอ่าน เบื่อที่จะศึกษาภาษาอังกฤษ จะลองอ่านอะไรสักอย่างดูหน่อย หากไปเจออย่างเช่น

Deputy regional director-general / International medical marketing manager หรืออย่าง Double-decker bus driver / Technical support engineer / Thai government ship surveyor / Thainess appreciators / Northeast Thailand media workers

สำหรับพวกเราคนไทยที่ถนัดแต่งาน ฐานราก (เรียนมาแต่อังกฤษพื้นฐาน) ดังที่กล่าวข้างต้นนั้น จะพาลงงหรือสับสนทันที ยิ่งไปอ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งเขาพยายามสรรหาคำใหม่ ๆ แปลก ๆ เป็นข้อความยาว ๆ ขึ้นมาให้พวกเราได้อ่านกันตลอดเวลา

เหล่านี้แหละคือปัญหาที่ทำ ให้เราเบื่อหน่ายกับการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ การแปล รวมทั้งการพูด และตรงนี้แหละเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ อีกประการหนึ่ง เพื่อจะให้ผู้อ่านสามารถค้นหา อ้างอิง หรือใช้เทียบเป็นแนวการแปล การเขียนข้อความต่าง ๆ ได้ และเพื่อให้เกิดความเคยชินกับ การจำที่เป็นข้อความ แทนที่จะจำกันแค่คำโดดๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น

มีหลายคำที่ต่างฝ่ายต่างบัญญัติไปคนละทิศละทาง ตามพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ แนวคิด แวดวงการทำงานที่ตนถนัด รวมถึงความสนใจต่างแง่ต่างมุม เป็นต้น ในหนังสือเล่มนี้ก็มีเอามาลงไว้บ้าง เพื่อให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาว่าคำไหนควรจะใช้ตอนไหนหรือไม่ควรใช้ตอนไหน ตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่นคำว่า ปลัดอำเภอ ปลัดจังหวัด ปลัดเทศบาล หาข้อยุติไม่ได้ ต่างคนต่างเข้าใจ ต่างคนต่างใช้ แถมกระทรวงต่างประเทศ และสถานทูตต่าง ๆ กำหนดให้ใช้อีกคำ ตรงนี้บรรดานักแปลคงปวดหัวไม่น้อย นั่นยังไม่พอ คำว่าหมอตำแย นางผดุงครรภ์ แต่ละคนใช้กันแต่ละคำไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนักแปลหรือในพจนานุกรมภาษาไทยแต่ละเล่ม ผู้เขียนพยายามที่จะนำมารวมไว้ แต่มองในแง่ลิขสิทธิ์ทำให้ลังเลใจที่จะนำเอามากล่าวไว้ แต่อยากนำมาเล่าเป็นข้อสังเกตเอาไว้ เพื่อจะได้พิจารณาความน่าจะเป็นไปได้ก่อนนำไปใช้ แม้แต่ตำแหน่งทหาร ตำรวจ ก็ค่อนข้างจะมั่วกันไม่น้อย ต่างคนต่างว่ากันไปคนละแบบ แม้แต่คนในวงการ ทหาร ตำรวจ ในสื่อหนังสือพิมพ์ อีกอย่างในพจนานุกรมภาษาไทยของแต่ละคนก็มีคำของเขาต่างหากแต่ละเล่มก็ไม่ตรงกัน


มีหลายครั้ง เวลาจะเขียนอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่งนึกไม่ออก หาที่ไหนก็ไม่มี ยกตัวอย่างง่าย ๆ ข้าราชการตำรวจ จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร มีหนังสือบางเล่มเขาใช้ว่า Police Business ก็มี Police Official อย่างนี้ก็มี แถมคำว่า ราชการ เขาใช้ว่า Government Business ก็มี ก่อนใช้ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนที่นำ มากล่าวไว้ในที่นี้ก็เพราะอยากจะบอกให้ทราบทั่วกันว่า บางอย่างเราต้องช่วยกันแก้ ช่วยกันระดมสมองเพื่อบัญญัติคำ เพื่อความถูกต้องให้ไปแนวเดียวกัน และหนังสือเล่มนี้มีเจตนาสำคัญและเป็นวัตถุประสงค์หลัก อยากให้เป็นฐานข้อมูลขั้นต้นเกี่ยวกับคำพวกนี้ โดยการรวบรวมคำต่าง ๆ เอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ผู้สนใจ นักศึกษา ผู้รู้ นักอ่าน นักแปล นักเขียน รวมทั้งนักวิชาการจะได้นำไปใช้เป็นลู่ทางปรับปรุง เสริมแต่งเติมต่อให้มีความหลากหลายถูกต้องมากยิ่งขึ้น และใช้เป็นประโยชน์ในการอ้างอิงกันสืบต่อไป เพราะหนังสือประเภทอย่างนี้ยังไม่มีใครทำเอาไว้ และหากพบว่าคำไหนควรแก้ไข คำแปลไม่ตรงความหมาย (ซึ่งอาจจะหลงมีหรือเกิดความพลาดพลั้งที่คิดไม่ถึงของผู้เขียนเอง) ไม่กระชับ หรือมีคำแปลที่ดีกว่า (แต่ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ของคนอื่นที่เขาบัญญัติไว้ก่อนด้วย อย่าให้ซ้ำกับของเขา) ก็พร้อมและยินดีที่จะให้มีการแก้ไข เพื่อความถูกต้อง เพื่อให้เป็นความคิดเห็นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นต่อไป เพื่อปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเพื่อระดมความคิดเห็นจากท่านผู้รู้ ผู้สนใจต่าง ๆ จะได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอย่างนี้มากขึ้น จะได้ใช้เป็นบรรทัดฐาน ให้มีความหลากหลาย ความถูกต้องแน่นอนมากขึ้น เป็นที่ยอมรับกันต่อไป เป็นคลังคำศัพท์เฉพาะด้าน และเพื่อสะดวกในการค้นหาในหลาย ๆ วงการในเล่มเดียวอีกด้วย


อนึ่ง ความหมายเกี่ยวกับตำแหน่งงานต่าง ๆ บางครั้งผู้รวบรวมจำต้องยอมรับเอาตามตำแหน่งที่บริษัทต่าง ๆ เขาใช้กัน ซึ่งคำแปลอาจไม่ตรงตามความหมายของภาษาโดยตรง แต่เป็นตำแหน่งงานที่หน่วยงานต่าง ๆ เขาใช้กันมาจนเคยชิน ยกตัวอย่างคำว่า Vice President บางบริษัทแปลว่า ผู้อำนวยการ ก็มีอย่างนี้เป็นต้น


ท้ายนี้หวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษไม่มากก็น้อย เพื่อปูทางสู่การอ่าน การเขียน การแปล และการพูดภาษาอังกฤษให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาสมอง จะได้ไม่เกิดความรู้สึกว่า มีอุปสรรคปิดกั้นทางภาษา ที่เป็นสื่อสำคัญในการถ่ายทอดความนึกคิดออกมาเป็นภาษาที่สอง และเพื่อติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก และเปิดช่องทางที่จะค้นหา หยิบ จับฉวย นำเอาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกมาใช้ประโยชน์ เพื่อประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร้อุปสรรคทางภาษา ประเทศชาติของเราจะได้มีพหูสูตร ผู้รู้ลึก รู้กว้างมากขึ้น จะได้ช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศชาติของเราให้ก้าวทันกับประเทศอื่นที่เจริญ ด้านสติปัญญา ความรู้ และด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้


VJ. (Veeraphol Julcampa) - วีระพล  จุลคำภา

myvictory32@hotmail.com          CC: victory267@yahoo.com
Tel: 0877055958

http://worldway.multiply.com     - บล๊อกนี้ปิดไปแล้ว บทความต่างๆดูได้ที่


http://jcampa-newlook.blogspot.com



[เขียน โดย วีระพล จุลคำภา - Veeraphol Julcampa (VJ.) สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งแบบใด เพื่อนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

Operand :-คืออะไร?-Message of the Day-4 January 2011

Operand :-คืออะไร?-Message of the Day-4 January 2011

คำนี้ส่วนมากจะเจอในเอกสารหรือตำราเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ถ้าหาคำแปลในพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยทั่วไปจะไม่ค่อยเจอ ที่เจอก็จะให้ความหมายว่า

จำนวนที่ถูกกระทำทางคณิตศาสตร์ อันนี้ก็พออนุโลมให้ได้ เพราะแปลออกมาแบบกว้างๆ ตามคำแปลต้นฉบับในพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่เขาแปลเป็นอังกฤษเอาไว้ว่า

the quantity upon which an operation is to be done หรือ A quantity on which a mathematical operation is performed หรือ A quantity on which a mathematical or logical operation is performed.
ซึ่งเป็นพจนานุกรมทั่วไป ไม่ใช่การแปลศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทาง (technical term) ก็ถือว่าใช้ได้

แต่ในกรณีที่เป็นคำศัพท์เฉพาะทาง หรือคำเฉพาะ อย่างเช่น พจนานุกรม ศัพท์คณิตศาสตร์ (แท้ๆ) กลับแปลว่า "ตัวถูกดำเนินการ" อ่านดูแล้วมันยังไงอยู่ ไหนๆก็เป็นเรื่องทางคณิตศาสตร์
ท่านจะแปลให้พวกเราได้อ่านแล้วเข้าได้เลย ก็หาไม่ ไม่ผิดอะไรกับคำแปลในพจนานุกรมคำศัพท์ทั่วไป ดังกล่าวนั้นเลย ถ้าแปลออกมาอย่างนี้ พวกเราคนไทยจะไปอ่านตำราภาษาอังกฤษ
กับชาติอื่นเขาได้ยังไง ทำไมไม่เจาะจงลงไป ให้อ่านแล้วรู้เรื่องได้เลย หรือกลัวว่าจะเข้าใจกันได้ง่าย กลัวคนไทยจะเก่งทันชาติอื่นเขา หรือว่าคนที่เขียนพจนานุกรมดังกล่าวนั้นรู้ไม่จริง
โมเมไปตามต้นฉบับตามที่เขาเขียนมา

ดูๆแล้ว ก็เหมือนอมภูมิปัญญา หรือดูๆก็เหมือนรู้ไม่จริง ที่ว่าอมภูมิปัญญานั้น เช่น หลายคำที่แปลยากๆ หรือเข้าใจยาก ท่านก็กลับไปเอาภาษาบาลี สันสกฤตมาใช้แทน คนไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว
ก็ยิ่งไม่รู้กำลังสอง กำลังสาม ไปเลย ยกตัวอย่างง่ายๆ ในวิชาไฟฟ้า Primary winding ท่านก็พาแปลว่า ขดปฐมภูมิ หรือ Secondary winding แปลว่า ขดทุติยภูมิ ฟังดูเทห์
ขลังดี แต่คนไทยได้อะไรกับความเทห์ ความขลังดังกล่าว ถ้าปวดหัวอยู่แล้ว จะไม่ปวดหนักขึ้นไปอีกหลายดีกรีเหรอ น่าจะคิดสรรหาคำที่อ่านแล้วใช่เลย เข้าใจได้เลย ทำให้คนไทยหูตาสว่าง
ไอเดียกระฉูด ไม่ต้องไปเปิดพจนานุกรมบาลีสันสกฤตอีกที่ หรือไปหาคำแปลอีกที เหมือนเจตนาจะเพิ่มภาระงานให้กับผู้อ่าน ให้กับคนที่กำลังเรียนในเรื่องนั้นๆไม่น้อย

ทีอย่างนี้รัฐบาลทำไมไม่คิดจะปฏิรูปกันบ้าง

เคยเห็นการเรียน การศึกษา การสอนยุคใหม่ ที่เขาเอาตำราจากต่างประเทศมาสอนคนไทย คำไหนยากๆเขาก็ทับศัพท์เอาดื้อๆ ไม่ว่าข้อความจะยาวแค่ไหน เขาทับลงไปให้เด็กไทยจำ
โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้แค่ว่าเอาไปแทนค่าในสูตรหาค่าเป็นคำตอบออกมา อะไรทำนองนั้น

ตัวอย่างที่เจอเช่น :-

ค่า 1 cm ที่รายงานในที่นี้ไม่ใช่ค่า standard deviation แต่เป็นค่า uncertainty จาก
การวัดว่ามีความไม่แน่นอนของการวัดในครั้งนี้ + 1 cm
Uncertainty ต่างกับ ค่า Error อย่างไร

หรือ
การประเมินโดยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทำ Repeatability เช่น การใช้ข้อมูลจาก calibration certificate การนำ resolution ของเครื่องมือมาใช้ และปัจจัยทาง environment ที่เกี่ยว
ข้องในการทดลอง

หรือ
กำหนดให้
Uc(y) = combined uncertainty
Ci = sensitivity coefficient ซึ่งมักได้มาจากการทดลอง แต่โดยทั่วไปใช้ค่า = 1
U(i) = ค่า individual uncertainty จาก ขั้นที่ 2
Ui(y) = individual uncertainty ที่คูณกับ sensitivity coefficient ซึ่ง = CiU(xi) ในที่นี้ Ci = 1
แล้วก็ให้ไปแทนค่าในสูตร อย่างนี้เป็นต้น

เสร็จแล้วนักเรียน นักศึกษาก็สอบได้เกรด A หรือ 4 ไปเลย เก่ง! ว่างั้นเถอะ ต่อไปคนไทยจะใช้ภาษาไทยในการเรียนรู้ก็แค่คำง่ายๆ เช่น เมื่อคำนี้ คือตัวนี้ เอามาแทนค่านี้ แล้วหาออกมาตาม
สูตรตามที่ให้ไว้

ชักจะเป็นห่วงคนไทย ภาษาไทย ตรงที่ว่าต่อไป ตำหรับตำราของไทย จะมีภาษาไทยปนอยู่สักกี่คำ นอกจากคำว่า และ หรือ ซึ่ง เพราะว่า แทนค่า หาคำตอบ
อะไรทำนองนี้ ส่วนเนื้อ สาระสำคัญคงต้องทับศัพท์ไปหมด อย่างที่ยกตัวอย่างมาให้ดูข้างต้นนั้น อย่าว่าแต่ในตำราเลย ในรายการทีวี แม้แต่รายการอาหารต่างๆ
เขายังเรียกชื่ออาหารทับศัพท์ มั่วไปหมดแล้ว มะม่วง ก็เรียกเป็น แมงโก้ ไปแล้ว และอะไรต่อมิอะไรที่ผสมลงไปในอาหาร ทั้งที่คำไทยแท้ๆ เรียกปุ๊บ ก้รู้เลย แต่เขากลับไปเรียก ไปชื่นชมภาษา
ต่างชาติไปหมด

ก็เลยอดที่จะนึกต่อไปว่า ที่ส่งกันไปเรียนเมืองนอก เจตนาจะไปเอาความรู้ใหม่ๆ ความรู้แปลกๆ พัฒนาการใหม่ๆ เทคโนโลยี่ที่เกิดขึ้นใหม่มาประยุกต์ใช้กับคนไทย ให้ประเทศไทยเราก้าวทันโลก
ไปกับชาติอื่น หรือว่าแค่ไปจำเอาแต่คำศัพท์ง่ายๆมาทำลายภาษาไทยให้หายไปจากโลกกันแน่ เรื่องอย่างนี้น่าห่วงไม่น้อย ส่วนคำยากๆที่พอจะตีความหมายให้ฟังรู้เรื่อง อ่านรู้เรื่องกลับไม่แปล
แต่ใช้ทับศัพท์แทนอย่างที่ยกตัวอย่างให้เห็นข้างต้นนั้น

ยังมีอีกหลายคำ ที่อ่านแล้วงง ไม่เป็นที่เข้าใจเอาเสียเลย เช่น คำว่า :-
operator ที่เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้ท่านก็แปลว่า "ตัวดำเนินการ" และพจนานุกรมบางเล่มแปลว่า "สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์" ก็มี ส่วน operation ท่านก็แปลว่า "การดำเนินการ" ทั้งที่เป็น
คำศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ แล้วอย่างนี้จะไปอ่านตำราภาษาอังกฤษรู้เรื่องได้อย่างไร

มาถึงตรง ผู้เขียน (บทความนี้) ขออนุญาตตีความ หรือแปลคำดังกล่าว เพื่อเป็นแนวในการแปล เผื่อท่านผู้อ่าน อาจจะไปอ่านเจอคำดังกล่าว จะได้ไม่ต้องไปมัวเปิดค้นหาคำแปลอีกแล้ว
เพราะถึงหาเจอก็จะได้คำแปลออกมาอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น นอกจากบทความนี้จะไปสะกิตใจ คนที่จะเขียน หรือกำลังจะเขียนคำแปลที่จะออกมาใหม่ จะมีการแก้ไขให้ตรงประเด็นมากขึ้น

Operand :=> (เกี่ยวกับคณิตศาสตร์) หมายถึง จำนวนที่จะต้องนำมาคำนวณหาค่า หรือ จำนวนหรือปริมาณที่จะใช้เพื่อคำนวณหาค่าออกมา เช่น 1, 2, 3, 4 เป็นปริมาณ หรือจำนวนที่จะใช้หาค่า หรือ
Operand นั่นเอง
operation :=> ในที่นี้ ก็คือ การคำนวณ หรือการหาค่าออกมา เช่น จาก operands (ซึ่งก็คือ 1, 2, 3, 4 ดังกล่าว) ถ้าจะหาผลรวม การ operation ก็คือการคำนวณด้วยการนำเอา operands (1, 2, 3, 4) มา
บวกกันนั่นเอง ถ้าต้องการหา หรือต้องการทราบผลคูณ (product) ของ operands (1, 2, 3, 4) (ตัว operands ดังกล่าวนี้ก็จะเรียกว่า multiplicand) การคำนวณก็คือ การนำปริมาณ
จำนวณ หรือค่าต่างๆที่เป็น operands (1, 2, 3, 4) ดังกล่าว มาคูณกันนั่นเอง
operator :=> ก็คือ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่บอกให้ทำอะไรกับจำนวนหรือ operands นั้น เช่น เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร หรือสูงขึ้นมาหน่อย ก็เป็น differentiate หรือ integrate ตาม
วิธีการที่เล่าเรียนมา อย่างนี้เป็นต้น

นอกจากคำ operand ยังมีอีกหลายคำ ที่ลงท้ายด้วย -and เช่น :-

< multiplicand / dividand / intregrand / differentiand / summand / subtracand / measurand>

*********************************************************************



[ข้อความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or access the Blog directly at

< http://worldway.multiply.com >

คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า”]

เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 4 January 2011

สงวนสิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที

ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และสมนาคุณท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป

มีจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือจะติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ

_ myvictory32@hotmail.com CC: victory267@yahoo.com

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

That is the way the nature is (หัวข้อที่ 30).


WE WISH YOU A HAPPY NEW YEAR THROUGHOUT THE YEAR 2011!



(¯`*•.(¯`*•. Tathata (it is what it is).•*´¯).•*´¯)
That is the way the nature is.

บทความนี้ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
ซึ่ง เป็นอีกลีลาหนึ่งในการนำเสนอวิธีการฝึกปฏิบัติธรรม ด้วยการเลือกใช้มุมมองเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการพิจารณาค้นหาข้อเท็จจริง หรือสัจธรรม ที่หาอ่านได้ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นการฉีกแนว คิดนอกกรอบแตกต่างไปจากคำแนะนำที่มีการกล่าวถึงกันทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใฝ่รู้ เสาะหาแนวทางในการปฏิบัติธรรมอีกแง่มุมหนึ่ง
ซึ่งเขียนโดย
อุบาสิกา (อบ.) ละมัย จุลคำภา (Female Ascetic Lamai Chulkampha)
(A female devotee who practices self-denial as a spiritual discipline)
แห่งสำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง
36 หมู่ 11 ต. เกาะพลับพลา
อ. เมือง จ. ราชบุรี 70000
จะนำเสนอในบล็อกต่อไปนี้ จนจบเล่ม พร้อมทั้งต้นฉบับ ภาษาไทยและคำแปล อังกฤษ
สามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งที่
Visit us at:
http://worldway.multiply.com/
และ
http://jcampa-newlook.blogspot.com/

หมายเหตุ:
[ข้อความที่ทำเป็นตัวเอน พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ ทำไว้เพื่อให้สะดวกกับผู้อ่าน หากท่านที่เข้าใจความหมายคำหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปพะวงอ่าน คำอธิบายความหมายที่อยู่ในวงเล็บดังกล่าว ให้ข้ามข้อความตรงนั้นไปเลย จะได้อ่านไม่ขาดตอน ไม่ทำให้ขาดความกลมกลืนในเนื้อหา ที่อธิบายไว้ก็เพื่อให้ชาวต่างชาติ หรือคนที่ไม่สันทัดกับคำหรือข้อความหลักเหล่านั้น จะได้เข้าใจความหมายถูกว่า ทางพระท่านหมายถึงอะไรได้บ้าง]


------30------


If one can see Vedhana (the sensation) clearly, he / she will understand other Sabhava (states) as well.

- All Dham (s) (states of being active; actions being performed) initiated by Avitcha (the ignorance, or lack of essential knowledge), will link up with and get involved in one another until they reach Vedhana (sensation), in which they will abruptly combine with one another obviously.
- Studying to know the related features and phenomena thereof respectively will help one to know what Vedhana (the sensation) is up to. This knowing is only the feeling that one can feel about a natural phenomenon or a pure phenomenon of the feeling, together with its repeated phenomenon of disappearance. These phenomena vary their states along with momentum that rapidly drives them all the time.
- Seeing Vedhana (the sensation), it is a feeling of pure phenomenon, which will combine other states to coexist completely, namely if the ears hear a sound, there will be phenomena of the sound, of Kaya (physical body), of Vedhana (sensation), of Citta (thought; a state of consciousness), and of Dham (states of being active; actions being performed). They all will appear in the feeling of that Vedhana (sensation). (See 5, 19).
- One is required to simultaneously observe Vedhana (the sensation), while it is appearing and varying in his / her feeling. Those are the total phenomena of knowing all states.

(ต้นฉบับภาษาไทย)
เห็นเวทนาชัดก็จะรู้สภาวะอื่นๆด้วย
- ธรรมทั้งหลายที่เริ่มจากอวิชชา แล้วยึดโยงพัวพันกันมาถึงเวทนา มารวมเด่นชัดอยู่ที่เวทนาอย่างฉับพลันทันที
- การศึกษารู้ลักษณะอาการต่างๆ เกี่ยวเนื่องกันมาตามลำดับ จะรู้ทันเวทนา ว่าแค่รู้สึกในอาการปรากฎตามธรรมชาติ หรืออาการรู้สึกล้วนๆ พร้อมกับดับๆๆเท่านั้น มีอาการแปรเปลี่ยนสถานะตามโมเมนตั้ม ซึ่งขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วอยู่ทุกขณะ
- การเห็นเวทนา ความรู้สึกที่เป็นอาการล้วนๆ จะรวมสภาวะอื่นๆมาอยู่ด้วยกันพร้อมสรรพ เช่น ถ้าหูได้ยินเสียง ก็จะมีอาการของเสียง ของกาย ของเวทนา ของจิต ของธรรม มาปรากำครบในความรู้สึกที่เป็นเวทนานั้น (ดู 15, 19)
- ท่านจึงให้สังเกตเวทนาให้ทันกับความปรากฎและแปรเปลี่ยนนั้น เป็นอาการรวมรู้สภาวะทั้งหมด
------0------

[แปลโดย วีระพล จุลคำภา - Veeraphol Julcampa (VJ.) สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งแบบใด เพื่อนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]