Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

WRP: แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง

WRP: แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง

แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง
วันที่ 27 มีนาคม 2551 ข่าววิทยุและโทรทัศน์หลายช่อง รวมทั้งข่าวหน้าหนึ่งไทยรัฐ พาดหัวข่าว แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง ตรงนี้ มันฟ้อง หรือเป็นตัวชี้พฤติกรรมสังคมวิปริตอย่างหนัก ที่จริงวิธีการอย่างนี้ ถ้าเป็นพวกหมูหรือสุนัข เขาเรียกว่า การตอน เพื่อไม่ให้สามารถสืบพันธ์อีกต่อไปได้ แล้วจะทำให้หมูหรือสุนัขอ้วนด้วยเรื่องอย่างนี้เป็นกระแสที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เรื่องเพิ่งจะแดงขึ้นเมื่อเด็กมาอ่อนวอนให้ผู้ปกครองเซ็นชื่อยินยอมให้ตัวเองได้รับการตัดลูกอัณฑะได้ เด็กพวกนี้มีความประสงค์เพียงเพื่อให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง จะได้มีผิวพรรณสวยเหมือนหญิง ไม่ให้ขนขึ้น ไม่ให้ลูกกระเดือกแหลม พูดง่ายๆว่าต้องการเป็นหญิงที่สมบูรณ์แบบว่างั้นเถอะ แล้วเรื่องพรรค์อย่างนี้จะมีนักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องท่านใดจะออกมาวิจัยสังคมวิกฤตอย่างนี้ ที่กระทบกระเทือนความคิด ความอ่านสังคมเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้บ้างหรือไม่ ผู้เขียนขอรีบเสนอตัดหน้าเอาไว้ก่อนเลยว่า ตัวต้นเหตุโดยตรงนั้น (immediate cause) ไม่ใกล้ไม่ไกลที่ไหน นั่นคือ สื่อนั่นแหละ สื่อไปจัดพื้นที่ให้กับความเป็นกระเทยปรากฎต่อสาธารณชนทางสื่อมากไป และจำเจ เป็นประจำวัน และให้ระยะเวลาของรายการพวกนี้มากและยาวนานด้วย ไม่ต้องอื่นไกล รายการตลกคงจะหมดมุขแล้วหรือยังไง ไม่ว่าหนุ่มว่าแก่ ทำท่าทำทาง แต่งตัวเป็นหญิงแทบทุกวัน และมีออกหลายช่องอีกด้วย ในละคร ในภาพยนต์ก็ไม่น้อย มีกะเทยในบทสำคัญๆ และมีโอกาสได้นำเสนอรายการด้วยเวลาที่ยาวนานกว่าบทบาทของคนธรรมดาด้วยซ้ำ บรรดานางแบบ นักจัดรายการเกี่ยวกับความสวยงาม ที่เป็นกระเทย แถมยังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินรายการที่วัยรุ่นใฝ่ฝันและหลงไหลอยากเป็นอีกด้วย อย่างเช่น รายการแข่งขันการประกวดนางงามต่างๆ ประกวดนักร้อง นักแสดงต่างๆ เป็นต้นเด็กทุกวันนี้ถูกมอมเมาด้วยดารา นักร้อง นักแสดง นักกีฬา แถมในอนาคตคงจะเป็น นักชิมอาหาร นักทำกับข้าวหรือ เชฟ (Chef) และหมอดู เพราะสิ่งพวกนี้ไม่ต้องใช้วิชาการอะไรมากนัก คือฝึกหัด ฝึกทำ เรียนรู้แบบไม่ต้องใช้วิชาการพื้นฐานด้านอื่นที่หนักๆมาเกี่ยวข้องมากนัก ใครสนใจหน่อยก็ทำได้ และ แถมมีสิทธิ์ที่จะดัง ได้เงินค่าจ้าง รางวัลมากมายอีกด้วย หากประสบความสำเร็จ ไปไหนมาไหนผู้คนก็ชื่นชม นิยมรักใคร่ บางคนถึงขนาดลงสมัครผู้แทนก็ประสบความสำเร็จกันมากมาย ลองถามเด็กๆยุคนี้ดูซิว่า โตขึ้นพวกเขาอยากเป็นอะไร ส่วนมากจะตอบว่า อยากเป็นอาชีพอย่างที่ถูกนำเสนอผ่านทางทีวีนั่นแหละ นั่นคือ นักร้องเอย ดาราเอย รวมทั้งดารากะเทยด้วย นักกีฬาเอย ถ้าบ้านเมืองเรามีผู้คนส่วนใหญ่ต่างใฝ่ฝันแค่เป็น ดารา จิตกร นักแสดง หรืออะไรตามที่กล่าวมานั้น ประเทศเทศชาติจะเป็นอย่างไร จะเทียบกับประเทศอื่นเขาได้ไหม นักวิชาการ นักวิศวกร หมอหรือแพทย์รักษาผู้ป่วย ครู อาจารย์ นักคิด นักประดิษฐ์ที่ต้องใช้วิชาการ ความรู้ที่ลึกซึ้ง นักวิจัยเก่งๆ ต่อไปจะมีใครอยากเป็นบ้างไหม ต่อไปจะหาหมอหาแพทย์มารักษาคนป่วยจะมีสักกี่คน ยกเว้นหมอดู แถมนักวิชาการ แพทย์ วิศวกร ครู อาจารย์ นักวิจัย อย่างที่กล่าวมานั้น ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะ เรียนลึก แบบคนทั่วไปทำตามได้ยาก แต่พอทำอะไรดีๆเด่นๆ ประสบความสำเร็จแบบที่หาคนอื่นทำได้ยาก แต่ก็ไม่ได้รับชื่นชม ยินดีอย่างออกหน้าออกตาเลย ไม่ต้องดูอื่นไกล ดูแค่ผู้ที่ได้รับเหรียญทองคำแข่งขันวิชาการโอลิมปิค ได้มากี่เหรียญ จะมีคนชื่นชมสักกี่คน และแม้แต่ทางการก็ไม่ได้กระตือรือร้นให้ความสำตัญที่ใหญ่โตเลย อย่างมากก็แบบขอไปที ดูเหมือนกับจะถูกเมินเสียด้วยซ้ำ สื่อไม่ได้ให้ความสนใจที่จะเอาของดีๆมานำเสนอตีแผ่มากเท่ากับ พวกดารา นักร้อง นักกีฬา นักจัดรายการเลย ยกเว้นแต่ที่เป็นของเสีย ของไม่ดี ประเภทเสี่ยมเขาให้ชนกัน ฝ่ายรัฐบาลว่าอย่างนี้ ฝ่ายค้านกรีดกลับว่าอย่างนี้ แถมเสนอข่าวไปในทางเสริมสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่จะได้อารมณ์ทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์เมามันร่วม จนขาดสำนึกความถูกต้องไป เรื่องพรรค์อย่างนี้ถูกนำเอามาประโคมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนผู้ฟังขาดสติ ขาดสำนึกเห็นดีเห็นงามตามไปด้วย เลยกลายเป็นแฟชั่นที่จะต้องเอาอย่างในเรื่องที่ไม่ดี ไม่งาม เราจะปล่อยของพรรคือย่างนี้ให้ถูกนำมามอมเมาลูกๆ หลานๆ หรือสังคมเราอย่างนั้นเหรอ สังคมควรมีองค์กรที่จะมาควบคุม กำกับ ชี้ขาด ถอดถอน รายการ หรือบรรดาผู้นำเสนอเรื่องราวที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติของเรา ทำนองเป็นองค์กรเอกชนหรือสิทธิมนุษยชน อะไรสักอย่างคอยเฝ้าติดตามรายการต่างๆ ผู้จัดรายการต่างๆ เพื่อเตือนหรือแนะนำ หรือมีการห้ามโดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน ให้ตัดรายการออกไป ไม่ใช่จะจัดรายการแบบตามใจผู้จัด ตามภูมิปัญญาของผู้จัด เราสามารถถอดถอนนักการเมืองได้ รัฐมนตรี หรือข้าราชการระดับสูงได้ แล้วเรื่องทำนองนี้เราจะจัดการกับเขา หรือผู้จัดรายการทำลายสังคมที่ดีของเรา จะไม่ได้เชียวหรือ จะรอแต่สื่อ สภาสื่อ สภาหนังสือพิมพ์ หรืออะไรทำนองนั้นคอยทวงถามเอาแต่สิทธิพิเศษให้กับพวกเขาแต่ฝ่ายเดียวตลอดเวลาอย่างนั้นรึ โดยที่พวกเขาอ้างเพื่อผลประโยชน์พวกเขา ว่าเพื่อประชาชนจะได้รับรู้ข่าวสาร จนสร้างฐานะตลอดทั้งศักดิ์ศรีให้กับตัวเขาเองเกือบทุกวงการ เพราะว่าพวกเขาเป็นสื่อ ซึ่งมีที่ยืนในที่สาธารณะมากกว่าใคร ถือไมค์ ออกหน้ากล้องมากกว่าใคร เลยใช้สิทธิ์อยู่ในทุกวงการ ไม่ว่า การเมือง คณะกรรมาธิการ อะไรสำคัญๆ โดยที่ตัวเองก็ใช่ว่าจะสันทัด รู้เรื่องเหล่านั้นดีพอที่ไหน พวกเขาจะได้รับการเสนอตัวก่อน มันยุติธรรมแค่ไหน พวกเขาก็เป็นเพียงแต่ ผู้อ่านข่าว หาข่าวมาเสนอเท่านั้นแทบจะทำตัวเป็นพระเจ้าของคนในประเทศไปแทบทุกเรื่อง เชิญนักวิชาการมาสัมภาษณ์แทนที่แขกนักวิชาการรับเชิญจะได้พูดได้อธิบาย พิธีกรกลับแย่งพูด แย่งคุยไปก่อนทำเป็นรู้มากกว่าเจ้าของเรื่องเสียเอง เห็นช่างซ่อมรถเอาแบตเตอรี่ต่อเข้ามอเตอร์ไปขับเปลแกว่งเด็กไปมาก็ถือว่าเป็นไฮเทคแล้ว คนที่เข้าใจวิทยาศาสตร์หน่อยหรือเด็กอาชีวะเขาทำอะไรที่ดีกว่านั้น หรือใช้วิชาการที่ลึกซึ่งกว่านั้นน่าจะได้รับการตีแผ่แต่เปล่าเลย อาจจะเป็นเพราะ บรรดาผู้นำเสนอ รู้ไม่ถึง เข้าไม่ถึง เลยไม่รู้จะเอามาเสนออย่างไร จะตั้งคำถามอย่างไร เพราะสิ่งที่นักวิชาการรู้ กับบรรดาพวกจัดรายการ มีกำพืด มีฐานความรู้ มีภูมิปัญญาต่างกันมาก เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงรู้แต่ของง่ายๆ ของเสียๆตามติดเพื่อเอมาเสนอให้ผู้ชม ผู้ฟังได้รู้ได้เห็น นักวิชาการที่ทำดี คิดค้นอะไรได้เป็นประโยชน์ต่อสังคมกลับไม่มีการสนองตอบอย่างกระตือรือร้น อย่างเห็นความสำคัญ อย่างสนับสนุนเพื่อให้เกิดแบบอย่างที่ดีต่อชนรุ่นหลังๆ มีแต่พากันไปเก็บเอาของเสีย ของง่ายๆ ลวกๆมาเสนอ คนทำดีจึงเหมือนปิดทองหลังพระ ทั้งนี้เพราะผู้นำเสนอเข้าไม่ถึง รู้อยู่แค่ง่ายๆ หรือของไม่ดีมากกว่าของดีๆ ตรงนี้ถ้าจะแก้ ก็น่าจะให้ผู้ที่เขาเก่ง มีความรู้ดีๆมาจัดแทน อย่าให้เหมือนกับผู้ที่มีอาชีพครูบางคน ที่เคยสอนมายังไง กี่ปี กี่ชาติ หนังสือว่ายังไงก็ว่าไปตามนั้น แทบจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ที่เป็นความคิดของตัวเอง คิดค้นขึ้นมา วิจัยออกมา เสาะหามาเพื่อให้เด็กได้รู้ลึก รู้กว้าง เป็นที่น่าชื่นชม เป็นที่เชื่อถือ และน่าศรัทธา แต่กลับบอกว่าตัวเอง มีผลงานทั่วบ้านทั่วเมือง อ้างว่าเป็นผลงาน ผลสำเร็จของตัวเอง ตรงนี้เห็นได้ชัดในสมัยที่มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือ Workshop ผ่านทางทีวี สมัยรัฐบาลทักษิณ ที่จริงเป็นเจตนาที่ดีของรัฐบาลสมัยนั้น ซึ่งต้องการหาข้อมูลมาเพื่อปฏิรูปการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ โดยการเชิญสมาชิกครู อาจารย์มาออกความเห็น โดยถ่ายทอดผ่านทางทีวี มีอาจารย์ท่านหนึ่งแสดงความเห็นว่า ผมมีผลงาน (เข้าใจว่าทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้) น่าจะได้รับเงินเดือนที่สูงกว่านี้ หรือเลื่อนวุฒิหรือตำแหน่งที่สูงขึ้น อาจารย์บางท่านเกณฑ์เอานักเรียนมาร่วมประชุมด้วย เพื่อมาเชียร์ครูอาจารย์ของตนให้ได้คอมพิวเตอร์ เข้าโรงเรียน ให้ได้อาคารโรงเรียนใหม่ ครูจะได้ไปเที่ยวต่างประเทศ พูดง่ายๆว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ครูจะได้ทั้งนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ความคิดของระดับครู อาจารย์ก็อยู่กันแค่นี้ วิธีการปฏิรูปการศึกษา ไม่ใช่แค่จะหาของเข้าโรงเรียน เสร็จแล้วก็ประกาศปาวๆว่า เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ การระดมสมองเพื่อหาวิธีการทำให้นักเรียน หรือผู้เรียนได้ความรู้ หรือสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ รู้จักหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง รู้จักคิด รู้จักจินตนาการ มีความใฝ่รู้ รู้จักเสาะแสวงหาความรู้มาพัฒนา ความรู้ความสามารถของตนเอง ให้ดีขึ้น และดีขึ้น รู้จักแก้ปัญหา รู้จักใช้ไหวพริบ ทันต่อเหตุการณ์ รู้ถูกรู้ผิด มี จริยธรรม มีศีลธรรม รู้จักสร้างประโยชน์หรือทำสิ่งที่ดีให้กับสังคม ไม่ใช่รู้แต่ท่องจำ รอแต่ว่าครู อาจารย์จะเอาอะไรมายัดหรือกรอกให้ แล้วก็พากันท่องจำเพื่อเอาไปสอบเพื่อชิงเอาคะแนนจากอาจารย์กัน ว่าใครจะตอบถูกใจอาจารย์มากที่สุด แล้วก็บอกว่าเป็นคนเก่ง หัวกะทิ เรียนเก่ง เรียนดี ลองคิดดูเอาเถิด สี่งพวกนี้มันเป็นเพียงแค่การแสดงความสามารถในการท่อง การจำเอา หรือการเอาใจใส่ของผู้เรียนเท่านั้น ประเทศเราอีกกี่ร้อยปี หรือกี่พันปีจึงจะมีอะไรที่ดีไปกว่านี้หนอ! ในเมื่อผู้อยู่ในวงการบริหารการศึกษามองการปฏิรูปการศึกษาว่าเป็นเรื่องตื้นกันแค่นั้นถ้าปฏิรูปการศึกษามองกันอยู่แค่นี้ เสียทั้งเวลาประชุม เสียทั้งเวลาเรียน เวลาสอนเปล่า เพราะไม่ได้เข้าประเด็นการปฏิรูปการศึกษาแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษ จบปริญญาตรีก็แล้ว ปริญญาโทก็แล้วมีอะไรดีขึ้นบ้าง ใช้งานได้แค่ไหน อ่านออก เขียนได้ แปลได้ ฟังได้ แค่ไหน หรือขอให้ได้แค่สำเนียงเท่านั้น หรือสอนกันแค่ให้ได้แค่คะแนนสูงๆ ในเวลาสอบเท่านั้น หรือไม่ก็เพราะทำข้อสอบได้ถูกใจอาจารย์ เสร็จแล้วพวกเขาเหล่านั้นสามารถใช้งานได้จริงไหม ระดับผู้หลัก ผู้ใหญ่ในหน่วยงานต่างๆใช้ภาษาอังกฤษได้ดีแค่ไหน ตรงนี้ก็เป็นเครื่องชี้ และเป็นเครื่องวัดที่เชื่อถือได้ดีทีเดียว แต่จะมีใครใส่ใจกับข้อเท็จริงตรงนี้แค่ไหน ด๊อกเตอร์ก็เยอะ ส่งกันไปศึกษาต่อก็มาก พอกลับมาก็ไม่ได้มาแก้ปัญหาตรงนี้ แต่กลับได้รับเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น กลับไม่ได้สอนหรือได้มาแตะต้องกับการเรียน การสอนอีก หรือเป็นการเกาที่ไม่ตรงจุดเลย เสร็จแล้วก็เลื่อนคนใหม่สอนแทน อีกไม่นานก็ต้องส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศอีก กลับมาก็รูปเดิม เพราะความรู้ดีขึ้น มีโอกาสก้าวหน้าดีขึ้น ได้เป็นด๊อกเตอร์แล้วจะไปสอนในตำแหน่งเดิมได้ยังไง พูดง่ายๆว่า เมืองไทยเราจะเอาแต่คนที่ไม่เก่งสอนหนังสือ ตรงนี้มันฟ้องให้เห็นชัดๆเลย พอเป็นด๊อกเตอร์ (เก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น) กลับไม่เหมาะที่จะสอน เหล่านี้แหละคือปัญหาตื้นๆ ไม่มีปัญญาแก้กันได้ การศึกษาเมืองไทยจึงเรื้อรังตกผลึกกันมาจนถึงทุกวันนี้ และจะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกสักกี่ร้อยปี นักการเมืองคงไม่อยากให้การศึกษาของไทยดีกว่านี้แน่เลย เพราะถ้าดีกว่านี้พวกเขาจะไม่มีข้ออ้างว่า จะแก้ปัญหาการศึกษา คือเก็บเอาความไม่ดีไว้นำเสนอตอนหาเสียงตกลงบรรดา ส.ส. ที่ลงเล่นการเมืองจะมาใช้ความสามารถบริหารประเทศชาติเพื่อแก้ปัญหาต่างๆหรือจะมาโกยผลประโยชน์เข้าตัวเองกันแน่ เพียงแค่แก้ปัญหาอย่างนี้ก็ไม่เป็นแล้ว น่าจะมีความละอายที่จะไปขอเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านบ้าง นอ!Jcampa-เจแคมป้า28 March 2008[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

Engineer หรือว่า Engineering กันแน่


Engineer หรือว่า Engineering กันแน่
ที่จริงตรงนี้ในสายตาผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษตามที่เราๆเคยเรียนกันมาตั้งแต่ ตีเอาว่า เริ่มตั้งแต่ ม। 1 ถึง ม. 6 ก็น่าจะพอทราบกัน สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในไทย อย่างน้อยคงมีกล่าวถึงเรื่องนี้อยู่บ้าง อย่างน้อยตอนเตรียมตัวจะสอบ entrance อย่างน้อยก็ต้องมีคนอยากเข้า คณะวิศวกรรม คำศัพท์ที่จ่าหัวเรื่องเอาไว้ข้างบนนั้น ก็คงเคยผ่านหู ผ่านตากันบ้าง

แต่มาพรรคหลังๆ สังเกตเห็นว่า ชักจะมีการสับสน มีการใช้กันผิดๆ ทำให้เจอบ่อยครั้ง อย่าว่าแต่ นักเรียนนักศึกษาเลย แม้แต่ คนตรวจปรู๊พหนังสือยังงงเลย

เขาเห็น Engineering แต่เขากลับแก้เป็น engineer ทันที ทั้งๆที่ความหมาย ที่พูดถึงคือ วิศวกรรม หรือถ้าจะให้ความหมายเป็นเชิงวิชาการหน่อยก็คือ

** สาขาวิชาเกี่ยวกับ (the discipline dealing with) ศิลปะ หรือศาสตร์ในด้านการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (scientific knowledge) ไปประยุกต์เพื่อใช้งานจริงเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ (practical problems) หรือจะตีความง่ายๆว่า งานทางการช่าง แต่ถ้าอยู่บนเรือ เขาจะหมายถึง ห้องเครื่องยนต์

** อีกความหมายหนึ่ง คือ วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยีสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการใช้เครื่องยนต์ เครื่องจักร รวมไปถึงโครงสร้างต่างๆด้วย

Engineering หมายถึง วิศวกรรม เช่น :-

Automotive engineering :-วิศวกรรมยานยนต์
Electrical engineering :-วิศวกรรมไฟฟ้า
Electronic engineering :-วิศวกรรมอีเล็กทรอนิกส์
Engineering faculty :-คณะวิศวกรรม
Printing engineering :-วิศวกรรมการพิมพ์

ส่วน Engineer หมายถึง วิศวกร นายช่าง หรือทหารช่าง เช่น :-

Automotive engineer :-วิศวกรยานยนต์ นายช่างยานยนต์
Chief engineer :-นายช่างใหญ่ หัวหน้าวิศวกร ต้นกล (เกี่ยวกับเรือ)
Chief Inspection Engineer :-หัวหน้าวิศวกรฝ่ายการตรวจสอบ
civil / structure engineer :-วิศวกรโยธา / โครงสร้าง
Electronic engineer :-วิศวกรทางด้านอีเล็กทรอนิกส์
Locomotive engineer :-พนักงานขับรถไฟ (ตรงกับ railroad engineer หรือ engine driver)
Mechanical engineer :-วิศวกรเครื่องกล

เชื่อไหมว่าคำนี้ มีครั้งหนึ่งเคยได้ยินคนไทยเรียกกันว่า เอนทะเนีย แต่ยุคหลังๆคงไม่ได้ยินแล้ว ก็เลยขอบันทึกไว้ตรงนี้เลย ว่า เอนทะเนีย (ถ้าจำไม่ผิด) ก็คือ Engineer นั่นเอง เผื่อคนรุ่นใหม่ ไปอ่านเจอในหนังสือเก่าๆ

และที่กล่าวมานั้น Engineer เป็นความหมายที่เป็นคำนามทั้งเพ เชื่อไหมว่า คำนี้ใช้เป็นคำกริยาก็ได้ ซึ่งหมายถึง

** ออกแบบเหมือนอย่าง / กับวิศวกร วางแผนและควบคุม (การดำเนินการที่สลับซับซ้อน) ออกแบบ หรือสร้างเครื่องจักรหรือโครงสร้างต่างๆ เป็นต้น

สำคัญอยู่ว่ามี หนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับพจนานุกรมช่างเครื่องยนต์ เขาใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า
Dictionary of Automotive Engineers โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า พจนานุกรม วิศวกรมยานยนต์ หรือว่า ที่นักศึกษาพากันสับสน ใช้คำนี้กันผิดๆถูกๆ เพราะเห็นหนังสือเล่มนี้ใช้กันอย่างนี้ หรือเปล่าหนอ! เพราะเห็นหนังสือออกจะเล่มโต จากโรงพิมพ์มีชื่อ น่าจะใช้เป็นตำราเพื่อใช้อ้างอิงได้ แต่กลับผิดถนัดอย่างนี้ จะโทษคนเขียนหรือโรงพิมพ์กันแน่ หรือคนตรวจปรู๊พ ซึ่งก็ไม่น่าปล่อยออกมาเลย ไม่ใช่คำยากเย็นอะไรเลย น่าจะเปิดพจนานุกรมดูหน่อย ส่วนเนื้อหาข้างในนั้นจะถูกผิดแค่ไหน ก็ต้องพินิจพิเคราะห์ดูกันเอาเอง เพราะไม่มีภาษาอังกฤษเขียนคู่กันไว้ จึงไม่ทราบจะวิจารณ์อย่างไร ผู้ใช้ต้องเทียบความหมายกับเล่มอื่นดูด้วย
จะอย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณผู้เขียนรวบรวมมา ณ ตรงนี้ด้วย ที่อุตส่ารวบรวมทำเป็นเล่มขึ้นด้วยความพยายามที่จะให้ใช้ประโยชน์ในวงการนี้ ซึ่งหายากเต็มที


Jcampa-เจแคมป้า 23 October 2008
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]wrp।inbkk@gmail।com
http://jcampa-newlook.blogspot.com/

End user : ผู้ใช้งานจริง หรือ End-user


End user / End-user : ผู้ใช้งานจริง นอกจากนี้ยังมี End consumer และอื่นๆอีก

End user : เจ้าของที่เป็นผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ตัวนั้นโดยตรง ผู้ใช้งานจริงของสินค้าตัวนั้น บุคคลที่เป็นผู้ที่นำสิ่งของนั้นมาใช้งาน (คือไม่ได้นำไปขายต่ออีก) มีบางคนแปลว่า ผู้ใช้ปลายทางก็มี แต่ถ้าจะให้ตรงประเด็นน่าจะเป็น "สุดปลายทางที่ผู้ใช้งาน" คือ สินค้าตัวนั้นมาลงเอยที่ผู้ใช้โดยตรง บางครั้งเขียนว่า End-user : ซึ่งก็คือ ผู้ใช้งานจริง ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นจริง ผู้ที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าตัวนั้นหรือการบริการนั้นถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้ได้ใช้โดยตรง แทนที่จะเป็นคนติดตั้งหรือคนซ่อมบำรุงหรือคนขายอะไรทำนองนั้น หรือในอีกความหมายหนึ่ง

End-user : ฝ่ายผู้ใช้ ผู้ใช้ ทางผู้ใช้ ทางด้านผู้ใช้ ผู้ใช้งานโดยตรง

น่าจะให้ความหมายได้ตรงดีกว่ามีบางคนใช้คำว่า

ผู้ใช้ปลายทาง โดยเฉพาะในคู่มือการใช้พรินเตอร์ คอมพิวเตอร์หรืออะไรประเภทนี้เขาจะแปลว่า

ผู้ใช้ปลายทาง คำนี้น่าจะเหมาะกับ ผู้ใช้โทรศัพท์ต้นทางกับปลายทางมากกว่าหรือไม่ในกรณีที่พูดข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ หรือพูดคุยกับคนต่างประเทศว่า

At your end : ทางด้านหรือฝั่งของคุณหรือที่ทางคุณอยู่ เช่น

What 's going on at your end? : เกิดอะไรขึ้นทางคุณ / ทางที่คุณอยู่ / ที่ประเทศของคุณ

At my end : ทางฝ่ายหรือทางฝั่งของผม หรือที่ทางนี้หรือทางประเทศผม น่าจะเหมาะกว่านอกจากนี้ยังมีคำทำนองนี้คือ

End buyer : ผู้ซื้อซึ่งนำสินค้านั้นไปใช้เอง ผู้ซื้อที่ใช้สินค้าตัวนั้นโดยตรง ผู้ซื้อที่ซื้อไปเพื่อใช้เอง (ไม่ได้ซื้อไปขายต่อ) ผู้บริโภคจริง

End consumer : ผู้บริโภคสินค้าโดยตรง ถ้ามองในระบบซื้อขายหรือระบบการจัดจำหน่าย คือเริ่มตั้งแต่ผลิต นำไปจัดจำหน่าย ซื้อมาขายไปเป็นทอดๆ กว่าจะไปถึงมือผู้ใช้งานจริง คนที่เอาสินค้ามาใช้งานจริงโดยไม่นำเอาสินค้าตัวนั้น ไปซื้อ ไปขายต่ออีก ตรงนี้แหละ คือ

end-consumer หรือ End User


*********************************************************************************
                            2 April 2007   โดย วีระพล  จุลคำภา (VJ - Veeraphol  Julcampa)
                                    http://jcampa-newlook.blogspot.com/
      [สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

myvictory32@hotmail.com      //     Tel :    087 705 5958


อนึ่งบทความทุกบทความในบล๊อก http://worldway.multiply.com ซึ่งตัวเว๊บใหญ่ปิดตัวไปแล้ว หากต้องการอ่านบทความเหล่านั้นให้เข้ามาดูได้ที่บล๊อกนี้  http://jcampa-newlook.blogspot.com
 

WRP: WRP: หนังสือผิดๆ


หนังสือผิดๆ


Are all employers are present today?

เขาเขียนภาษาอังกฤษมาย่างนั้น และเขียนคำแปลว่า

พนักงานทุกคนมาพร้อมทุกคนไหมวันนี้หรืออะไรทำนองนั้น

ในประโยคนี้มีกริยาช่วยสองตัวคือ are หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ มีภาคแสดงสองตัว แถมคำว่า employers กลับแปลว่า พนักงาน ทั้งที่มันแปลว่า

นายจ้าง และแถมยังมีการอธิบายคำศัพท์ซ้ำด้านล่างด้วยคำว่า employer หมายถึง พนักงาน อีกครั้ง ตอนแรกก็เข้าใจว่าเรียงพิมพ์ผิด แต่ที่ไหนได้ เป็นการเข้าใจผิดของผู้เขียนเอง

ถ้าจะแก้ให้ถูกตามประโยคข้างบนนั้น ควรจะเป็น

Are employees present today? จึงจะแปลว่า พนักงานทุกคนมาทำงาน หรือพนักงานทุกคนมาพร้อมกันไหมวันนี้


แทนที่เด็กไทยจะเก่งกลับต้องเรียนอะไรผิดๆอย่างนี้ นี่เป็นหนังสือของฝ่ายวิชาการของโรงพิมพ์แห่งหนึ่ง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโรงพิมพ์ที่พิมพ์เป็นเล่มผิดๆทำนองนี้

และในหนังสือเล่มเดียวกันใช้ศัพท์คำว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าว่า Electrical machines ซึ่งก็ผิดถนัด


ที่ถูกนั้นต้องเป็น electrical appliances หรือ electric appliances:-เครื่องใช้ไฟฟ้า จะถูกต้องมากกว่า

ถ้า machine หมายถึงเครื่องจักร หรือเครื่องกล ส่วนมากใช้ตามโรงงาน เช่นเครื่องจักรที่เกี่ยวกับการผลิตเป็นต้น และถ้า


utensil :-หมายถึงเครื่องใช้ในครัว



Jcampa-เจแคมป้า

4 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551

WRP: Thai herbal crispy curl

WRP: Thai herbal crispy curl


Thai herbal crispy curl


Thai herbal crispy curl
Thai herbal crispy curl : ครองแครง ของบริษัทแห่งหนึ่ง เขาใช้คำนี้ ซึ่งถ้าจะแปลเป็นไทยให้ตรงตัวหนังสือ จะได้ว่า สิ่งที่โค้งงอกรอบเป็นสมุนไพรไทย / ตัวโค้งงอสมุนไพรไทยกรอบ อะไรทำนองนี้ นี่แปลแบบเอาใจเจ้าของขนมเขาแล้วนะ จะแปลว่า ขนมก็ไม่กล้าใช้ว่าขนม เพราะไม่มีคำที่พอจะบอกว่าเป็นขนมเลย อย่างน้อยมีคำว่า sweet / salty / spicy / snack อะไรสักอย่างก็พอจะบอกว่าเป็นขนมหน่อย แต่นี่เขาบอกว่า ตัวโค้งที่กรอบเป็นสมุนไพรไทย จะเป็นยาแผนโบราณหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้

ถ้าจะพูดว่า

Thai herbal, crispy and curled snack จะไม่ดูดีกว่าหรือ

สำหรับคำว่าครองแครงคำนี้ มีพจนานุกรมบางเล่ม ใช้คำว่า

sweet calms in the shell :-ในความหมายว่า ครองแครงกรอบ>
calms shell delight :-ครองแครงกะทิ>


ทั้งสองคำนี้ รับรองได้ว่าฝรั่งฟังแล้ว เป็น "งง" แปลมาได้ยังไง มันคนละครองแครง

มัน ไม่ใช่หอยแครงแท้ๆแต่อย่างไร และก็ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหอยหรือเปลือกห้อยแครงเอามาเข้าสูตรทำขนมนี้ แต่อย่างไรเลย เป็นเพียงตั้งชื่อเพราะว่ามีรูปร่างเหมือนหอยแครงเท่านั้น แต่มันเป็นขนมกรอบที่ทำขึ้นเป็นรูปร่างของเปลือกหอยแครงเท่านั้น

ถ้าจะแปล คำ
sweet calms in the shell :-จะหมายความว่า หอยกาบหวานในเปลือกหอยเชลล์>*

ถ้าจะใช้คำให้มันดูว่าเป็น ขนมมีรูปร่างเปลือกหอยแครงนั้นน่าจะเป็น

crispy snack in shape of shell / crispy snack in shell shape / shell-shaped crispy snack / crispy snack with shape of shell


ก็น่าจะดูดีกว่า ส่วนคำ

snack :-หมายถึง ของกินเล่น ของขบเคี้ยว ขนมขบเคี้ยวยามว่าง>*


********************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า

[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

ไม่มีความคิดเห็น:

Positive Thinking :=> การคิดในเชิงสร้างสรรค์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า การคิดเชิงบวก
















Positive Thinking
:=> การคิดในเชิงสร้างสรรค์  การคิดที่แสดงออกอย่างแน่ใจ (แน่นอน เด็ดขาด  เชื่อมั่น)  การคิดในแนวทางที่มั่นใจ  การคิดในเชิงยืนยันหรือเป็นการยอมรับ  หรือที่นิยมเรียกกันว่า "การคิดเชิงบวก" ในบรรดานักวิชาการ




บท ความตรงนี้เจตนานำเสนอทั้งในแง่ ความหมายของคำ ศัพท์ภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไป ข้อบกพร่องในเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งเทคนิคการบริหารงานเล็กๆน้อยๆ แต่มีความสำคัญอยู่ในตัว จากประสบการณ์ หรือจากการสังเกตเห็น ในเรื่องต่างๆที่ นำมากล่าวทำเป็นหัวข้อตรงนี้


สืบเนื่องมาจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ที่บ้าน ลูกสาวคนโตโทรไปแจ้งบริษัทขายแอร์ (หมายถึง Air Conditioner : เครื่องปรับอากาศ ตามภาษาทางการ) ในวันเสาร์ ซึ่งติดตั้งมาจนจะครบการบริการล้างฟรีครั้งสุดท้ายแล้ว จึงได้โทรไปขอรับการบริการ เป็นครั้งสุดท้าย จวบกับบางครั้ง ขณะที่แอร์กำลังทำงานจะมีเสียงดังผิดปกติด้วย ทำให้อยากทราบด้วยว่า การติดตั้ง มีการขันเกลียวยึดน๊อต (nuts and bolts : น๊อตยึดตัวเมีย กับสลักยึดตัวผู้) ให้แน่นหรือเปล่า


โทรไปที่บริษัทดังกล่าว มีคนรับสายเป็นเสียงหญิงสาว คุยกันอยู่พักหนึ่ง ลูกสาวก็ลงมาบอกพ่อกับแม่ว่า ทางบริษัทนัดจะมาล้างแอร์ให้ ในวันอังคาร เพราะลูกไม่อยู่บ้านต้องไปทำงาน เลยให้พ่อกับแม่รับผิดชอบแทน พอถึงวันอังคาร ทางบ้านก็รอแล้วรออีก ว่าช่างจะมาเมื่อไรแน่ ภรรยาเลยโทรเช็คว่ามาถึงไหนแล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่รับสายตอบว่า เกี่ยวกับช่างต้องติดต่อไปที่แผนกช่าง ซึ่งตั้งอยู่อีกที่หนึ่ง


ภรรยาผมก็โทรไปที่แผนกช่าง ทางเจ้าหน้าที่รับสายเป็นหญิง เช่นกัน พูดจาใช้ได้ ออกจะใช้ได้ ตามวิธีการที่เราๆทราบกันนั่นแหละ คือสุภาพ อ่อนหวานกับลูกค้า ตามแบบฉบับที่เป็นทางการตามที่ได้ร่ำเรียน หรือได้รับการอบรมมานั่นแหละ


แต่สอบถามกันแล้ว ได้ความว่าเธอไม่ทราบเกี่ยวกับการนัดหมาย ว่าจะต้องส่งช่างไปล้างแอร์เลย สรุปตรงนี้ก่อนว่า ที่นัดกันไว้ครั้งแรกล้มเลว ไม่เกิดผลประการใด


จึงมี การนัดใหม่อีกครั้ง ทางผู้รับสายของฝ่ายช่างแอร์ดังกล่าว แจ้งว่าคิวยาว จึงขอนัดเป็นวันศุกร์ เชื่อไหมว่า ตอนที่นัดว่าช่างจะมาวันอังคารนั้น พ่อกับแม่ที่บ้าน ตั้งหน้าตั้งตารอว่าเมื่อไหร่ช่างจะมาถึงสักที จะไปไหน นัดใครไว้ก็ต้องยกเลิก มีธุระจะออกนอกบ้านก็ไม่กล้าไป เพราะเกรงว่าช่างมาจะไม่เจอ แต่ก็ไม่มาจริงๆ


ที่นี้ พอถึงวันศุกร์ ก็มาแบบเดิมอีก คือถึงเวลาตามที่คิดว่าช่างน่าจะมาถึงแล้ว แต่ก็ไม่มีท่าทีว่าจะมีช่างมาเลยทางเราก็โทรเช็คอีกครั้ง หญิงสาวที่รับสายคนเดิม พอทราบว่าเป็นเราที่เคยติดต่อ และตกลงกันเอาไว้แล้ว ว่าจะส่งช่างมาล้างแอร์ให้ เธอก็รีบออกตัวทันที่ว่า ตายแล้ว! ตอนนี้ช่างกำลังติดตั้งแอร์อยู่ที่สำโรง แผนกช่างของเขา เข้าใจว่า ตั้งอยู่ที่ลาดพร้าว ส่วนเรานั้นอยู่ทางฝั่งรังสิต ตรงนี้ที่นำมาพูดถึง เพราะจะได้ทราบว่าระยะทางไกลกันแค่ไหน และอยู่กันคนละทิศละทางเลย ต่อจากนั้น เธอจึงแจ้งกับทางเราว่า ไม่เป็นไรค่ะ ต้องขอโทษ ขอโพยเราตามธรรมเนียม และตามลีลาพนักงานรับสาย หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์นั่นแหละ (เธอทำถูกต้องตามรูปแบบการติดต่อกับลูกค้าทุกประการ ตามที่เราๆทราบกันอยู่แล้ว)


ในที่สุด เธอก็บอกกับทางเราว่า จะตามช่างให้มาล้างให้ภายในวันนี้ (วันศุกร์ตามที่นัดหมายเอาไว้) ก็เป็นอันว่า ช่างมาทำการล้างแอร์ให้กับเราเรียบร้อยแล้ว และก็ทำได้ดีตามหน้าที่ช่าง ขอบใจช่าง มา ณ ที่นี้ด้วย


ที่กล่าวมานั้น เป็นการนำเอาเหตุการณ์จริงมาคุยกัน ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี นำเอามาเป็นอุทาหรณ์ ประกอบบทความตรงนี้ว่า

คนรับโทรศัพท์ ตอบรับ ขา ค่ะ แบบ Positive ตามที่พวกเรามักได้ยินกันบ่อยๆว่า “แบบบวก / เชิงบวก”
(ตาม ภาษาที่นักวิชาการยุคนี้กำลังนิยมใช้กัน ทั้งที่มันมี ความหมายทางคณิตศาสตร์ ของคำว่า บวกในภาษาไทยเรา คือ การเพิ่ม หรือรวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้มีขนาดโตขึ้น จำนวนมากขึ้น เป็นต้น ทำไมไม่แปลกันว่า:-

ทางสร้างสรรค์ ทางที่ดี ทางเสริมสร้าง ซึ่งมีเจตนาดี หรือเจตนาในทางสร้างสรรค์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า constructive intention

ทางที่น่าเชื่อถือได้ หรือ ในทางที่มั่นใจได้ มีลักษณะที่แสดงออกถึงการยืนยันได้ เป็นที่แน่ใจได้ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า displaying certainty or affirmation

หรือในลักษณะของการยอมรับ หรือแสดงออกซึ่งการยอมรับ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า expressing acceptance

หรือ มีความไว้เนื้อเชื่อใจอย่างมาก ซึ่งเชื่อมั่นได้อย่างยิ่ง เป็นที่ไว้ใจได้อย่างแท้จริง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า implying excessive confidence
เหล่านี้ เป็นต้น ทำไมจึงแปลเอาไว้ง่ายๆ ได้แค่ อย่างเช่น :-



positive thinking :- ซึ่งเขาแปลกันว่า การคิดบวก
positive attitude :- ซึ่งเขาแปลว่า ทัศนคติเชิงบวก หรือเจคติเชิงบวก หรือเจคติทางบวก หรือ คำว่า
positive reinforcement :- การเสริมแรงทางบวก หรือ
positive adaptation :- การปรับตัวเชิงบวก



ซึ่งคำพวกนี้เป็นศัพท์ทางการศึกษา มีการบัญญัติเอาไว้ ส่วนมาก จะหมายถึง เชิงบวก ทางบวก เป็นส่วนมาก ถ้า อย่างผู้คนที่ไม่ค่อยจะได้มีโอกาสเรียนสูงๆ ชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนาที่ไม่ค่อยจะสันทัดกับคำพูดพวกนี้ บังเอิญมีนักวิชาการจะไปแนะนำ หรืออบรมอะไรสักอย่างให้พวกเขาคิดเชิงบวกบ้าง พวกเขาเกิดมาได้ยินคำพวกนี้ จะพากันคิดอย่างไรแน่ เพราะเคยเรียนมา บวก หมายถึง เอามารวมกัน เอามาใส่ด้วยกัน เอามาเพิ่มเข้าด้วยกัน จะไม่ทำให้พวกเขาคิดว่า  “การคิดที่เอามาเพิ่มเข้าด้วยกัน หรือการคิดแบบเอามารวมกัน    การคิดแบบเอามาใส่กัน และถ้า ในความหมายของ คำว่า positive thinking จะไม่ทำให้พวกเขาคิดไปว่า  ทัศนคติที่เอามาเพิ่มเข้า ด้วยกัน หรือ เจตคติที่เอามารวมกัน และในความหมายของคำว่า positive attitude ตามที่พวกเขาเคยรู้ เคยเรียนมา และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบวกเลข ในวิชาเลขคณิตมา อย่างนี้เป็นต้น" คงตลกไม่น้อย ในกรณีที่พูดถึงการบัญญัติศัพท์กัน ตรงนี้นำมาเขียนไว้ เป็นการติเพื่อก่อนะคร๊าบ! ไม่ว่ากันนะ


จาก ตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นนั้น เกี่ยวกับการล้างแอร์ ทางผู้รับโทรศัพท์ ทำถูกต้องเป็นการแสดงออกในลักษณะ ที่เรียกกันว่า ทางบวก หรือเชิงบวก (positive ตามศัพท์ที่ใช้กัน) ก็จริง แต่มันจริงไม่ครบ หรือแค่บางส่วนเท่านั้น คือ จริงแค่คำพูดตอนรับสายโทรศัพท์เท่านั้น พูดง่ายๆว่า แค่ขอไปทีมากกว่า ค่ะ ค่ะ ได้เลยค่ะ ทำนองว่าพร้อมหรือเต็มใจทำให้แบบคิด เชิง Positive ที่ฝรั่งใช้ว่า Positive thinking ก็เอาตามเขาแต่ก็ได้แค่ พูดได้ตามเขา แต่ทำไม่ได้ ตามเขา


ดูเอาง่ายๆว่า ยุคร้านสดวกซื้อ (convenience store) มีทั่วทุกมุมเมือง ผู้บริหารคิดว่าคงจะเอาวิธีการดังกล่าวมาใช้เหมือนฝรั่ง (ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีด้วย) แต่ก็แค่ตรงนี้เอง คือมีลูกค้าเข้ามา ก็ได้ยินคำว่า สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ ทั้งที่ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นเขาไม่ได้มองหน้าลูกค้าเสียด้วยซ้ำ หรือจะมีการยกมือไหว้ ก็แบบขอไปที แทนที่จะเป็นของดีกลับเป็นเรื่องตลก หรือเป็นการดูถูกลูกค้าเสียด้วยซ้ำ เพราะเป็น การกระทำที่ขาดความจริงใจมากกว่า


กลับไปที่ตัวอย่างที่ยกมาเป็นประเด็น อีกครั้ง ถ้าหากจะให้มีการคิดเชิง Positive จริง ผู้รับสาย ก็ควรมี service minded ด้วย คือพร้อมที่จะให้บริการ มีจิตใจที่จะช่วยหรือให้การบริการที่จริงใจจริงๆด้วย นั่นคือ รับปากแล้ว ก็ต้องจด บันทึก ส่งเรื่องให้กับหัวหน้างาน หรือผู้จัดการฝ่ายช่าง ทำให้เป็นเรื่องเป็นการเป็นงาน ว่าวันนี้รับงานเอาไว้เวลานั้น และมีการนัดหมายกับลูกค้าว่า จะส่งช่างไปบริการในวันนั้น เวลานี้ จะได้จัดทีมงาน เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ หรือกะเส้นทางเตรียมไว้ ว่าช่างทีมไหนจะต้องผ่านเส้นทางไหน ไม่ไช่เอาทีมงานที่ส่งไปสำโรง แล้วจึงให้ย้อนกลับ หรือวกกลับไปแถวรังสิต ซึ่งเป็นคนละเส้นทาง เสียทั้งค่าใช้จ่าย เวลา เหนื่อยเพราะเสียแรงจากการเดินทาง ทั้งรถติด และไม่ทันเวลาตรงตามที่นัดหมายไว้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้ารู้จักคิด หรือรู้จักนำเรื่องพวกนี้มาพิจารณากันจริงจังแล้ว จะเห็นว่า สิ่งต่างๆดังที่กล่าวมานั้น สามารถทำให้ธุรกิจเสียหายได้ไม่น้อยที่เดียว ทำให้ขาดทั้งระบบงานที่ดี การบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีในสายตาลูกค้า หรือผู้ที่ติดต่อด้วย


ในแง่ของเสมียน หรือพนักงานรับโทรศัพท์ซึ่งรับงานที่เป็น Service call หรือ การขอรับบริการ หรือการแจ้งซ่อม การขอให้ไปซ่อมจากลูกค้าแล้ว ตัวเองเป็นผู้น้อย ไม่มีอำนาจสั่งการ ที่จะสั่งให้ช่างทำตาม ก็มีทางออกหากฉลาดทำ นั่นคือ ทำเป็นรายการของงาน เกี่ยวกับงานที่เรียกเข้ามา ว่ามีที่ไหนบ้าง อยู่แถวไหน ตกลงกับลูกค้าจะให้ช่างไปเมื่อไร วันไหน ออกเป็นรายงานประจำวัน ส่งให้กับผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องรับรู้ด้วย ซึ่งอาจจะหมายถึง ผู้จัดการช่าง หัวหน้าช่าง ผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นต้น ซึ่งวิธีการอย่างนี้ ผู้เขียนเองก็เคยนำไปใช้ และประสบความสำเร็จมาแล้ว มากต่อมาก ในหลายๆสถานะการณ์ พูดง่ายๆว่า เป็นการนำเอาบุคคลที่สาม (third party) หรือถ้าเป็นยุค อินเตอร์เนต ก็คงไม่ผิดอะไรกับการใช้ CC: หรือ การส่งสำเนาให้อีกคนหนึ่งรับทราบด้วย เพื่อมารับรู้ด้วย มาเกี่ยวข้องด้วย จะเป็นการตรวจเช็คหรือยืนยันกันได้ และจะทำให้มีการติดตามงาน หรือช่วยกันดู หากมีใครหลงลืม ไป เรื่องอย่างนี้ธุรกิจใดอย่าได้มองข้ามไป เพราะจะทำให้เสียหายได้ง่ายๆ


*********************************************************************************

Jcampa-เจแคมป้า 19 October 2008.[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบอื่นใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

WRP: ยอดอัจฉริยะ

WRP: <strong>ยอดอัจฉริยะ</strong>

WRP: ต้องบันทึกเอาไว้

WRP: ต้องบันทึกเอาไว้

WRP: You are what you eat :-กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เขาแปลมาอย่างนี้

WRP: You are what you eat :-กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เขาแปลมาอย่างนี้             




You are what you eat :-กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น  เขาแปลมาอย่างนี้

เล็กๆน้อยอย่างนี้อย่าได้มองข้าม ที่จริงนั้นคือ ถ้ากินของดีมีประโยชน์ก็จะได้ผลดีต่อร่างกายของคุณ กินของไม่ดีก็จะเกิดโทษกับตัวคุณ


ประโยคเดียวกันนี้แหละ มีบริษัทขายสินค้าควบคุมน้ำหนั แจกใบปลิวโฆษณาผลิตภัณฑ์ของเขา ซึ่งแปลว่าเอาไว้อย่างที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นนั้น

ซึ่งเป็นการแปลที่ดูผิวเผินดูเหมือนจะถูกต้อง แต่เป็นการแปลที่ไม่ได้ดูความหมายที่ถูกต้องเลย เปิดพจนานุกรมแปลเอาดื้อ โดยไม่คิดว่าแปลออกมาแล้วมันฟ้องว่า คนแปลรู้เรื่องหรือเปล่า เจตนาของประโยคนี้คืออะไรแน่


You are what you eat :-เขาแปลว่า กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น หรืออีกความหมายหนึ่งคือ "คุณจะเป็นอะไรตามสิ่งที่คุณกินเข้าไป" ตีความว่า กินเนื้อ ตัวคุณจะเป็นเนื้อ กินไข่ตัวคุณจะเป็นไข่


ฟังดูแล้วมันคนละความหมาย กลายเป็นว่าอยากแปลงตัวเองให้เป็นอะไรก็ได้ เพียงแค่กินของสิ่งนั้นลงไป แล้วคุณจะกลายเป็น ผักเป็น ปลา กา ไก่ ไม่ใช่คน มิน่าล่ะ คนเราทุกวันนี้จึงมีจิตใจเป็นหมูเป็นหมา หรือสัตว์ ไล่กัดไล่ตีกัน ปล้นแย่งชิงกัน แม้แต่การแย่งชิงแม้แต่โทรศัพท์มือถือ อันตรายไปทั่วบ้านทั่วเมือง ไม่ว่าบนสะพานลอยเปลี่ยวๆที่คนใช้ข้ามทาง จึงมีคนตกเป็นเหยื่อ ทั้งตกอกตกใจเป็นลมหมดสติ พิการเข้าโรงพยาบาลรักษาตัวคนแล้วคนเล่า จนถึงตายก็มี


ถ้ามองย่างนี้เห็นทีจะยอมรับในคำแปลที่เขาแปลเอาไว้ได้ แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นในความหมายของประโยคนี้ที่ถูกต้องนั้น ความหมายจริงๆของเขานั้นคือ

กินอย่างไรก็ได้อย่างนั้น คือถ้ากินของดีก็มีประโยชน์และจะก่อให้ผลดีต่อร่างกายของคุณ กินของไม่ดีก็จะเกิดโทษกับตัวคุณ ตรงนี้จะชัดเจนขึ้น

*******************************************************************************

Jcampa-เจแคมป้า 
27 April 2007.
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

End user / End-user


WRP: End User

วันพุธ, พฤษภาคม 2, 2007

End user

End user : เจ้าของที่เป็นผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ตัวนั้นโดยตรง ผู้ใช้งานจริงของสินค้าตัวนั้น บุคคลที่เป็นผู้ที่นำสิ่งของนั้นมาใช้งาน (คือไม่ได้นำไปขายต่ออีก)

มีบางคนแปลว่า ผู้ใช้ปลายทางก็มี แต่ถ้าจะให้ตรงประเด็นน่าจะเป็น "สุดปลายทางที่ผู้ใช้งาน" คือ สินค้าตัวนั้นมาลงเอยที่ผู้ใช้โดยตรง หรือมาลงเอยที่ผู้ใช้งานจริง บางครั้งเขียนว่า End-user : ซึ่งก็คือ ผู้ใช้งานจริง ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นจริง ผู้ที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าตัวนั้นหรือการบริการนั้นถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้ได้ใช้โดยตรง แทนที่จะเป็นคนติดตั้งหรือคนซ่อมบำรุงหรือคนขายอะไรทำนองนั้น

หรือในอีกความหมายหนึ่ง End-user : ฝ่ายผู้ใช้ ผู้ใช้ ทางผู้ใช้ ทางด้านผู้ใช้ ผู้ใช้งานโดยตรง น่าจะให้ความหมายได้ตรงดีกว่า

มีบางคนใช้คำว่า ผู้ใช้ปลายทาง โดยเฉพาะในคู่มือการใช้พรินเตอร์ คอมพิวเตอร์หรืออะไรประเภทนี้เขาจะแปลว่า ผู้ใช้ปลายทาง คำนี้น่าจะเหมาะกับ ผู้ใช้โทรศัพท์ต้นทางกับปลายทางมากกว่า

หรือไม่ในกรณีที่พูดข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ หรือพูดคุยกับคนต่างประเทศว่า

At your end : ทางด้านหรือฝั่งของคุณหรือที่ทางคุณอยู่

At my end : ทางฝ่ายหรือทางฝั่งของผม หรือที่ทางนี้หรือทางประเทศผม น่าจะเหมาะกว่านอกจากนี้ยังมีคำทำนองนี้คือ

End buyer : ผู้ซื้อซึ่งนำสินค้านั้นไปใช้เอง ผู้ซื้อที่ใช้สินค้าตัวนั้นโดยตรง ผู้ซื้อที่ซื้อไปเพื่อใช้เอง (ไม่ได้ซื้อไปขายต่อ) ผู้บริโภคจริง

End consumer : ผู้บริโภคสินค้าโดยตรง ถ้ามองในระบบซื้อขายหรือระบบการจัดจำหน่าย คือเริ่มตั้งแต่ผลิต นำไปจัดจำหน่าย ซื้อมาขายไปเป็นทอดๆกว่าจะไปถึงมือผู้ใช้งานจริง คนที่เอาสินค้ามาใช้งานจริงโดยไม่นำไปซื้อมาขายไปอีก ตรงนี้แหละ คือ end-consumer หรือ EndUser


Jcampa-เจแคมป้า 2 April 2007।[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบอื่นใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

WRP: Globalization : โลกาภิวัฒน์

WRP: <strong>Globalization : โลกาภิวัฒน์ </strong>

Globalization : โลกาภิวัฒน์ / Second hand smoker




Globalization : โลกาภิวัฒน์


แต่ก่อนจะมาลงเอยที่ความหมายนี้ได้ มีการใช้คำอื่นมาก่อนหลายคำ เช่น

โลกาวิวัฒน์ โลกาวัฒนา หรืออะไรอีกหลายคำจำไม่ได้ สุดท้าย ราชบัณฑิตยสถานบอกว่าไม่ถูกต้องจึงบัญญัติ

คำว่า โลกาวิวัฒน์ มาแทน จึงอยากตั้งข้อสังเกตไว้ว่าฟังข่าว อ่านข่าว ดูข่าว โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน ซึ่งมีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่เว้นแต่ละวินาที การแปลข่าว การบัญญัติคำ เขาใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปไม่ การบัญญัติคำศัพท์บางที จะถือเอามาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เช่น

Second hand smoker เขาแปลง่ายๆว่า คนสูบบุหรี่มือสอง ทั้งที่เขาหมายถึง ผู้คนที่อยู่รอบข้างผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับผลกระทบจากผู้สูบบุหรี่โดยตรง เขาพูดยังกะว่าบุหรี่ สามารถสูบจนเบื่อแล้วทิ้งไป หรือส่งทอดให้คนอื่นไปสูบต่อได้เหมือนรถใช้แล้ว ทั้งที่สูบที่ก็เหลือแค่ก้นบุหรี่ หรือขี้บุหรี่ (ขี้เถ้าที่เกิดขึ้นหลังจากการไหม้จนหมด) เท่านั้น จะเป็นมือสอง มือสามไปได้ยังไง

บางครั้งแม้ว่าจะไม่ถูกต้องก็ดูเหมือนว่าถูกไปหมด เพราะไม่มีใครทักท้วง แล้วคำเหล่านี้ถูกนำมาประโคมเข้าหูผู้ฟังตลอดเวลาผิดก็เหมือนถูก จึงต้องใช้วิจารณญาณว่าควรจะนำมาใช้ หรือจะใช้อ้างอิงได้มั๊ย

ทำนองเดียวกันกับคำที่กำลังนิยมใช้กันอยู่คือ “ก้าวกระโดด” ไม่ทราบว่าก้าวยังไงถึงจะกระโดดได้ นอกจาก ก้าวออกมาแล้วหยุดจึงกระโดดต่อ ไม่เชื่อลองทดลองก้าวขาออกมาดู ไม่มีทางที่จะกระโดดได้ทันที เว้นแต่จะหยุดลง แล้วถึงกระโดดต่อ

ต่อมาอีกคำคือ “รุกคืบ” คำว่า “รุก” หรือ invade (to enter a region or a country so as to subjugate or occupy it ตามความหมายของ The NEW OXFORD Dictionary of ENGLISH) เพื่อเข้าไป
ในพื้นที่หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อเอาชนะหรือเข้าครองครองพื้นที่นั้นหรือประเทศนั้น)
(ส่วน to trespass หมายถึง รุกล้ำ หรือการบุกรุก เช่นเข้าไปในที่ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต)

ตามความเป็นจริงแล้วมันเป็นการรุก หรือบุกอย่างกระชั้นชิด ไล่ติดตามค่อนข้างจะเร็วอยู่ แล้ว แต่อยู่ๆมาบอกว่าได้แค่คืบ หรือทำให้มองออกว่า ค่อยๆเคลื่อน ค่อยๆรุกไปที่ละคืบ มันก็ยังไงอยู่ ที่จริงคำพูดพวกนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามจะอธิบายการต่อสู้ของกองทัพสหรัฐกับกองทัพหรือกองโจรอิรัคช่วงสหรัฐเข้าโจมตีอิรัคว่ามี ความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว แต่เขาใช้ว่ารุกคืบ




Jcampa-เจแคมป้า
12March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com

WRP: Red registration plate

WRP: Red registration plate


Red registration plate


Red registration plate



car registration plate : หมายถึง แผ่นป้ายทะเบียน


มีเรียกกันหลายแบบ เช่น:-

A vehicle registration plates :-

car red registration plate : ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ป้ายทะเบียนสีแดงของรถ หรือ
red registration plate of a car : ทะเบียนป้ายแดง (ของรถ)
a car with a red registration plate : รถทะเบียนป้ายแดง รถป้ายแดง
red number plate of a car : ทะเบียนป้ายแดง อย่างนี้ก็มีเรียกกัน



ที่ จริงนั้น ป้ายทะเบียนดังกล่าวจะทำด้วยแผ่นโลหะ หรือแผ่นพลาสติกแล้วแต่ละประเทศ เพื่อใช้ติดกับยานยนต์ (motor vehicle ) หรือรถพ่วง (trailer) เพื่อใช้เป็นการบ่งชี้เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เป็นทางการ (For official identification purpose) ของยานยนต์แต่ละคัน

ในบางประเทศอาจจะหมายถึง license plate, number plate, vehicle tag หรืออาจเรียกสั้นๆว่า tag เลยก็มี

ทราบ ไหมว่า รถที่มีทะเบียนป้ายแดงตามกฎหมายในเมืองไทยเรา ให้วิ่งได้ตามซอย ห้ามวิ่งออกถนนหลวง (หมายถึงถนนที่มีป้ายชื่อ) ห้ามวิ่งกลางคืน ห้ามวิ่งต่างจังหวัด ถ้าเกิดเรื่องเกิดเหตุตำรวจจะสันนิษฐานหรือถือว่ารถป้ายแดงมีความผิดเอาไว้ ก่อน
********************************************************************************
เขียนโดย Jcampa-เจแคมป้า เมื่อ
3 มีนาคม 2551 (Copy ไปไว้ที่ http:worldway.multiply.com แล้ว เนื่องแต่ละ Blog มีสิทธิ์ที่หายหรือถูกลบไปได้ ตัวอย่าง เช่น Geocities.com ที่ถูกซื้อไป ทั้งบล๊อก ทั้งเว็บเพ็จ หายไปหมด จึงจำเป็นต้องโพสต์ไว้อย่างน้อย 2 ฺบล๊อก)


Visit us at : http://jcampa-newlook.blogspot.com

อนึ่งบล๊อก   http:worldway.multiply.com  ได้ปิดบล๊อกไปแล้วเนื่องจาก Website  .com> ได้ปิดตัวไปแล้ว

[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

myvictory32@hotmail.com