Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

WRP: แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง

WRP: แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง

แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง
วันที่ 27 มีนาคม 2551 ข่าววิทยุและโทรทัศน์หลายช่อง รวมทั้งข่าวหน้าหนึ่งไทยรัฐ พาดหัวข่าว แฉกะเทยวัยรุ่น ตุ๊ด-แต๋ว แห่ตัดลูกอัณฑะเป็นแฟชั่น เชื่อสวยเหมือนหญิง ตรงนี้ มันฟ้อง หรือเป็นตัวชี้พฤติกรรมสังคมวิปริตอย่างหนัก ที่จริงวิธีการอย่างนี้ ถ้าเป็นพวกหมูหรือสุนัข เขาเรียกว่า การตอน เพื่อไม่ให้สามารถสืบพันธ์อีกต่อไปได้ แล้วจะทำให้หมูหรือสุนัขอ้วนด้วยเรื่องอย่างนี้เป็นกระแสที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เรื่องเพิ่งจะแดงขึ้นเมื่อเด็กมาอ่อนวอนให้ผู้ปกครองเซ็นชื่อยินยอมให้ตัวเองได้รับการตัดลูกอัณฑะได้ เด็กพวกนี้มีความประสงค์เพียงเพื่อให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง จะได้มีผิวพรรณสวยเหมือนหญิง ไม่ให้ขนขึ้น ไม่ให้ลูกกระเดือกแหลม พูดง่ายๆว่าต้องการเป็นหญิงที่สมบูรณ์แบบว่างั้นเถอะ แล้วเรื่องพรรค์อย่างนี้จะมีนักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องท่านใดจะออกมาวิจัยสังคมวิกฤตอย่างนี้ ที่กระทบกระเทือนความคิด ความอ่านสังคมเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้บ้างหรือไม่ ผู้เขียนขอรีบเสนอตัดหน้าเอาไว้ก่อนเลยว่า ตัวต้นเหตุโดยตรงนั้น (immediate cause) ไม่ใกล้ไม่ไกลที่ไหน นั่นคือ สื่อนั่นแหละ สื่อไปจัดพื้นที่ให้กับความเป็นกระเทยปรากฎต่อสาธารณชนทางสื่อมากไป และจำเจ เป็นประจำวัน และให้ระยะเวลาของรายการพวกนี้มากและยาวนานด้วย ไม่ต้องอื่นไกล รายการตลกคงจะหมดมุขแล้วหรือยังไง ไม่ว่าหนุ่มว่าแก่ ทำท่าทำทาง แต่งตัวเป็นหญิงแทบทุกวัน และมีออกหลายช่องอีกด้วย ในละคร ในภาพยนต์ก็ไม่น้อย มีกะเทยในบทสำคัญๆ และมีโอกาสได้นำเสนอรายการด้วยเวลาที่ยาวนานกว่าบทบาทของคนธรรมดาด้วยซ้ำ บรรดานางแบบ นักจัดรายการเกี่ยวกับความสวยงาม ที่เป็นกระเทย แถมยังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินรายการที่วัยรุ่นใฝ่ฝันและหลงไหลอยากเป็นอีกด้วย อย่างเช่น รายการแข่งขันการประกวดนางงามต่างๆ ประกวดนักร้อง นักแสดงต่างๆ เป็นต้นเด็กทุกวันนี้ถูกมอมเมาด้วยดารา นักร้อง นักแสดง นักกีฬา แถมในอนาคตคงจะเป็น นักชิมอาหาร นักทำกับข้าวหรือ เชฟ (Chef) และหมอดู เพราะสิ่งพวกนี้ไม่ต้องใช้วิชาการอะไรมากนัก คือฝึกหัด ฝึกทำ เรียนรู้แบบไม่ต้องใช้วิชาการพื้นฐานด้านอื่นที่หนักๆมาเกี่ยวข้องมากนัก ใครสนใจหน่อยก็ทำได้ และ แถมมีสิทธิ์ที่จะดัง ได้เงินค่าจ้าง รางวัลมากมายอีกด้วย หากประสบความสำเร็จ ไปไหนมาไหนผู้คนก็ชื่นชม นิยมรักใคร่ บางคนถึงขนาดลงสมัครผู้แทนก็ประสบความสำเร็จกันมากมาย ลองถามเด็กๆยุคนี้ดูซิว่า โตขึ้นพวกเขาอยากเป็นอะไร ส่วนมากจะตอบว่า อยากเป็นอาชีพอย่างที่ถูกนำเสนอผ่านทางทีวีนั่นแหละ นั่นคือ นักร้องเอย ดาราเอย รวมทั้งดารากะเทยด้วย นักกีฬาเอย ถ้าบ้านเมืองเรามีผู้คนส่วนใหญ่ต่างใฝ่ฝันแค่เป็น ดารา จิตกร นักแสดง หรืออะไรตามที่กล่าวมานั้น ประเทศเทศชาติจะเป็นอย่างไร จะเทียบกับประเทศอื่นเขาได้ไหม นักวิชาการ นักวิศวกร หมอหรือแพทย์รักษาผู้ป่วย ครู อาจารย์ นักคิด นักประดิษฐ์ที่ต้องใช้วิชาการ ความรู้ที่ลึกซึ้ง นักวิจัยเก่งๆ ต่อไปจะมีใครอยากเป็นบ้างไหม ต่อไปจะหาหมอหาแพทย์มารักษาคนป่วยจะมีสักกี่คน ยกเว้นหมอดู แถมนักวิชาการ แพทย์ วิศวกร ครู อาจารย์ นักวิจัย อย่างที่กล่าวมานั้น ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะ เรียนลึก แบบคนทั่วไปทำตามได้ยาก แต่พอทำอะไรดีๆเด่นๆ ประสบความสำเร็จแบบที่หาคนอื่นทำได้ยาก แต่ก็ไม่ได้รับชื่นชม ยินดีอย่างออกหน้าออกตาเลย ไม่ต้องดูอื่นไกล ดูแค่ผู้ที่ได้รับเหรียญทองคำแข่งขันวิชาการโอลิมปิค ได้มากี่เหรียญ จะมีคนชื่นชมสักกี่คน และแม้แต่ทางการก็ไม่ได้กระตือรือร้นให้ความสำตัญที่ใหญ่โตเลย อย่างมากก็แบบขอไปที ดูเหมือนกับจะถูกเมินเสียด้วยซ้ำ สื่อไม่ได้ให้ความสนใจที่จะเอาของดีๆมานำเสนอตีแผ่มากเท่ากับ พวกดารา นักร้อง นักกีฬา นักจัดรายการเลย ยกเว้นแต่ที่เป็นของเสีย ของไม่ดี ประเภทเสี่ยมเขาให้ชนกัน ฝ่ายรัฐบาลว่าอย่างนี้ ฝ่ายค้านกรีดกลับว่าอย่างนี้ แถมเสนอข่าวไปในทางเสริมสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่จะได้อารมณ์ทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์เมามันร่วม จนขาดสำนึกความถูกต้องไป เรื่องพรรค์อย่างนี้ถูกนำเอามาประโคมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนผู้ฟังขาดสติ ขาดสำนึกเห็นดีเห็นงามตามไปด้วย เลยกลายเป็นแฟชั่นที่จะต้องเอาอย่างในเรื่องที่ไม่ดี ไม่งาม เราจะปล่อยของพรรคือย่างนี้ให้ถูกนำมามอมเมาลูกๆ หลานๆ หรือสังคมเราอย่างนั้นเหรอ สังคมควรมีองค์กรที่จะมาควบคุม กำกับ ชี้ขาด ถอดถอน รายการ หรือบรรดาผู้นำเสนอเรื่องราวที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติของเรา ทำนองเป็นองค์กรเอกชนหรือสิทธิมนุษยชน อะไรสักอย่างคอยเฝ้าติดตามรายการต่างๆ ผู้จัดรายการต่างๆ เพื่อเตือนหรือแนะนำ หรือมีการห้ามโดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน ให้ตัดรายการออกไป ไม่ใช่จะจัดรายการแบบตามใจผู้จัด ตามภูมิปัญญาของผู้จัด เราสามารถถอดถอนนักการเมืองได้ รัฐมนตรี หรือข้าราชการระดับสูงได้ แล้วเรื่องทำนองนี้เราจะจัดการกับเขา หรือผู้จัดรายการทำลายสังคมที่ดีของเรา จะไม่ได้เชียวหรือ จะรอแต่สื่อ สภาสื่อ สภาหนังสือพิมพ์ หรืออะไรทำนองนั้นคอยทวงถามเอาแต่สิทธิพิเศษให้กับพวกเขาแต่ฝ่ายเดียวตลอดเวลาอย่างนั้นรึ โดยที่พวกเขาอ้างเพื่อผลประโยชน์พวกเขา ว่าเพื่อประชาชนจะได้รับรู้ข่าวสาร จนสร้างฐานะตลอดทั้งศักดิ์ศรีให้กับตัวเขาเองเกือบทุกวงการ เพราะว่าพวกเขาเป็นสื่อ ซึ่งมีที่ยืนในที่สาธารณะมากกว่าใคร ถือไมค์ ออกหน้ากล้องมากกว่าใคร เลยใช้สิทธิ์อยู่ในทุกวงการ ไม่ว่า การเมือง คณะกรรมาธิการ อะไรสำคัญๆ โดยที่ตัวเองก็ใช่ว่าจะสันทัด รู้เรื่องเหล่านั้นดีพอที่ไหน พวกเขาจะได้รับการเสนอตัวก่อน มันยุติธรรมแค่ไหน พวกเขาก็เป็นเพียงแต่ ผู้อ่านข่าว หาข่าวมาเสนอเท่านั้นแทบจะทำตัวเป็นพระเจ้าของคนในประเทศไปแทบทุกเรื่อง เชิญนักวิชาการมาสัมภาษณ์แทนที่แขกนักวิชาการรับเชิญจะได้พูดได้อธิบาย พิธีกรกลับแย่งพูด แย่งคุยไปก่อนทำเป็นรู้มากกว่าเจ้าของเรื่องเสียเอง เห็นช่างซ่อมรถเอาแบตเตอรี่ต่อเข้ามอเตอร์ไปขับเปลแกว่งเด็กไปมาก็ถือว่าเป็นไฮเทคแล้ว คนที่เข้าใจวิทยาศาสตร์หน่อยหรือเด็กอาชีวะเขาทำอะไรที่ดีกว่านั้น หรือใช้วิชาการที่ลึกซึ่งกว่านั้นน่าจะได้รับการตีแผ่แต่เปล่าเลย อาจจะเป็นเพราะ บรรดาผู้นำเสนอ รู้ไม่ถึง เข้าไม่ถึง เลยไม่รู้จะเอามาเสนออย่างไร จะตั้งคำถามอย่างไร เพราะสิ่งที่นักวิชาการรู้ กับบรรดาพวกจัดรายการ มีกำพืด มีฐานความรู้ มีภูมิปัญญาต่างกันมาก เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงรู้แต่ของง่ายๆ ของเสียๆตามติดเพื่อเอมาเสนอให้ผู้ชม ผู้ฟังได้รู้ได้เห็น นักวิชาการที่ทำดี คิดค้นอะไรได้เป็นประโยชน์ต่อสังคมกลับไม่มีการสนองตอบอย่างกระตือรือร้น อย่างเห็นความสำคัญ อย่างสนับสนุนเพื่อให้เกิดแบบอย่างที่ดีต่อชนรุ่นหลังๆ มีแต่พากันไปเก็บเอาของเสีย ของง่ายๆ ลวกๆมาเสนอ คนทำดีจึงเหมือนปิดทองหลังพระ ทั้งนี้เพราะผู้นำเสนอเข้าไม่ถึง รู้อยู่แค่ง่ายๆ หรือของไม่ดีมากกว่าของดีๆ ตรงนี้ถ้าจะแก้ ก็น่าจะให้ผู้ที่เขาเก่ง มีความรู้ดีๆมาจัดแทน อย่าให้เหมือนกับผู้ที่มีอาชีพครูบางคน ที่เคยสอนมายังไง กี่ปี กี่ชาติ หนังสือว่ายังไงก็ว่าไปตามนั้น แทบจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ที่เป็นความคิดของตัวเอง คิดค้นขึ้นมา วิจัยออกมา เสาะหามาเพื่อให้เด็กได้รู้ลึก รู้กว้าง เป็นที่น่าชื่นชม เป็นที่เชื่อถือ และน่าศรัทธา แต่กลับบอกว่าตัวเอง มีผลงานทั่วบ้านทั่วเมือง อ้างว่าเป็นผลงาน ผลสำเร็จของตัวเอง ตรงนี้เห็นได้ชัดในสมัยที่มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหรือ Workshop ผ่านทางทีวี สมัยรัฐบาลทักษิณ ที่จริงเป็นเจตนาที่ดีของรัฐบาลสมัยนั้น ซึ่งต้องการหาข้อมูลมาเพื่อปฏิรูปการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ โดยการเชิญสมาชิกครู อาจารย์มาออกความเห็น โดยถ่ายทอดผ่านทางทีวี มีอาจารย์ท่านหนึ่งแสดงความเห็นว่า ผมมีผลงาน (เข้าใจว่าทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้) น่าจะได้รับเงินเดือนที่สูงกว่านี้ หรือเลื่อนวุฒิหรือตำแหน่งที่สูงขึ้น อาจารย์บางท่านเกณฑ์เอานักเรียนมาร่วมประชุมด้วย เพื่อมาเชียร์ครูอาจารย์ของตนให้ได้คอมพิวเตอร์ เข้าโรงเรียน ให้ได้อาคารโรงเรียนใหม่ ครูจะได้ไปเที่ยวต่างประเทศ พูดง่ายๆว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ที่ครูจะได้ทั้งนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ความคิดของระดับครู อาจารย์ก็อยู่กันแค่นี้ วิธีการปฏิรูปการศึกษา ไม่ใช่แค่จะหาของเข้าโรงเรียน เสร็จแล้วก็ประกาศปาวๆว่า เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ การระดมสมองเพื่อหาวิธีการทำให้นักเรียน หรือผู้เรียนได้ความรู้ หรือสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ รู้จักหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง รู้จักคิด รู้จักจินตนาการ มีความใฝ่รู้ รู้จักเสาะแสวงหาความรู้มาพัฒนา ความรู้ความสามารถของตนเอง ให้ดีขึ้น และดีขึ้น รู้จักแก้ปัญหา รู้จักใช้ไหวพริบ ทันต่อเหตุการณ์ รู้ถูกรู้ผิด มี จริยธรรม มีศีลธรรม รู้จักสร้างประโยชน์หรือทำสิ่งที่ดีให้กับสังคม ไม่ใช่รู้แต่ท่องจำ รอแต่ว่าครู อาจารย์จะเอาอะไรมายัดหรือกรอกให้ แล้วก็พากันท่องจำเพื่อเอาไปสอบเพื่อชิงเอาคะแนนจากอาจารย์กัน ว่าใครจะตอบถูกใจอาจารย์มากที่สุด แล้วก็บอกว่าเป็นคนเก่ง หัวกะทิ เรียนเก่ง เรียนดี ลองคิดดูเอาเถิด สี่งพวกนี้มันเป็นเพียงแค่การแสดงความสามารถในการท่อง การจำเอา หรือการเอาใจใส่ของผู้เรียนเท่านั้น ประเทศเราอีกกี่ร้อยปี หรือกี่พันปีจึงจะมีอะไรที่ดีไปกว่านี้หนอ! ในเมื่อผู้อยู่ในวงการบริหารการศึกษามองการปฏิรูปการศึกษาว่าเป็นเรื่องตื้นกันแค่นั้นถ้าปฏิรูปการศึกษามองกันอยู่แค่นี้ เสียทั้งเวลาประชุม เสียทั้งเวลาเรียน เวลาสอนเปล่า เพราะไม่ได้เข้าประเด็นการปฏิรูปการศึกษาแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษ จบปริญญาตรีก็แล้ว ปริญญาโทก็แล้วมีอะไรดีขึ้นบ้าง ใช้งานได้แค่ไหน อ่านออก เขียนได้ แปลได้ ฟังได้ แค่ไหน หรือขอให้ได้แค่สำเนียงเท่านั้น หรือสอนกันแค่ให้ได้แค่คะแนนสูงๆ ในเวลาสอบเท่านั้น หรือไม่ก็เพราะทำข้อสอบได้ถูกใจอาจารย์ เสร็จแล้วพวกเขาเหล่านั้นสามารถใช้งานได้จริงไหม ระดับผู้หลัก ผู้ใหญ่ในหน่วยงานต่างๆใช้ภาษาอังกฤษได้ดีแค่ไหน ตรงนี้ก็เป็นเครื่องชี้ และเป็นเครื่องวัดที่เชื่อถือได้ดีทีเดียว แต่จะมีใครใส่ใจกับข้อเท็จริงตรงนี้แค่ไหน ด๊อกเตอร์ก็เยอะ ส่งกันไปศึกษาต่อก็มาก พอกลับมาก็ไม่ได้มาแก้ปัญหาตรงนี้ แต่กลับได้รับเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น กลับไม่ได้สอนหรือได้มาแตะต้องกับการเรียน การสอนอีก หรือเป็นการเกาที่ไม่ตรงจุดเลย เสร็จแล้วก็เลื่อนคนใหม่สอนแทน อีกไม่นานก็ต้องส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศอีก กลับมาก็รูปเดิม เพราะความรู้ดีขึ้น มีโอกาสก้าวหน้าดีขึ้น ได้เป็นด๊อกเตอร์แล้วจะไปสอนในตำแหน่งเดิมได้ยังไง พูดง่ายๆว่า เมืองไทยเราจะเอาแต่คนที่ไม่เก่งสอนหนังสือ ตรงนี้มันฟ้องให้เห็นชัดๆเลย พอเป็นด๊อกเตอร์ (เก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น) กลับไม่เหมาะที่จะสอน เหล่านี้แหละคือปัญหาตื้นๆ ไม่มีปัญญาแก้กันได้ การศึกษาเมืองไทยจึงเรื้อรังตกผลึกกันมาจนถึงทุกวันนี้ และจะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกสักกี่ร้อยปี นักการเมืองคงไม่อยากให้การศึกษาของไทยดีกว่านี้แน่เลย เพราะถ้าดีกว่านี้พวกเขาจะไม่มีข้ออ้างว่า จะแก้ปัญหาการศึกษา คือเก็บเอาความไม่ดีไว้นำเสนอตอนหาเสียงตกลงบรรดา ส.ส. ที่ลงเล่นการเมืองจะมาใช้ความสามารถบริหารประเทศชาติเพื่อแก้ปัญหาต่างๆหรือจะมาโกยผลประโยชน์เข้าตัวเองกันแน่ เพียงแค่แก้ปัญหาอย่างนี้ก็ไม่เป็นแล้ว น่าจะมีความละอายที่จะไปขอเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านบ้าง นอ!Jcampa-เจแคมป้า28 March 2008[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]