วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551
The Rules of English Language
ภาษาอังกฤษ ในหนังสือ The Rules of English Language
The Rules of English Language : รวมกฎการใช้ภาษาอังกฤษ
ดูเหมือนถูกต้อง แต่ที่ถูกนั้นควรเป็น
Rules of the English Language
คำว่า ภาษา ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ จะไม่มี The นำหน้า
แต่ถ้ามี คำว่า Language ตามหลังต้องมี the จึง เป็น the English Language
หากพูดว่า The English เฉยๆ จะหมายถึง คนหรือประชาชนของประเทศอังกฤษ (the English :-the people of England
แต่ถ้า English เฉยๆ :-หมายถึง ในหรือเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เป็นคำ adjective (in or relating to the English language -Cambridge Advanced Learner's Dictionary)
ส่วน Rules นั้น หมายถึงกฎเกณฑ์ต่างๆของภาษาอังกฤษ ไม่ได้เจาะจงว่ากฎไหนและมีหลายกฎด้วย ก็ไม่น่าจะมี the อย่างเช่น ชื่อหนังสือไวยากรณ์อังกฤษจากต่างประเทศเขาใช้ว่า
"Grammatical Hints to Remember" หรือ
"English Grammar Exercises" หรือ
"1001 Useful Phrases and Expressions"
" 7 grammar rules you really should pay attention to"
********************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า
15 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]wrp.inbkk@gmail.com
ประโยคนี้ผิด - Please give a chance to prove my worth to you
Please give a chance to prove my worth to you :-โปรดให้โอกาสเพื่อพิสูจน์ความสามารถของผม (คำแปล ตามเขาแปลเอาไว้ ไปในทำนองนี้เพราะจำแปลที่แท้จริงไม่ได้)
ที่นำมากล่าวที่ตรงนี้ เพราะภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง ด้วยมารยาทจะไม่พูดถึงคนเขียน ตรง
Please give a chance ไม่ทราบว่าให้โอกาสกับใครเพื่อพิสูจน์คุณค่า / ความสำคัญของผมกับคุณ ที่จริงควรเป็น
Please give me a chance
ส่วน my worth ถ้าจะแปลว่า ความสามารถของผม ทำไมไม่ใช้ my ability เพราะ
worth :-คำนี้เป็นทั้ง n।/ adj. แปลว่า (มี) คุณค่า ค่า ประโยชน์ ความสำคัญ ทรัพย์สิน ทรัพย์สมบัติ (ตามคำแปลในพจนานุกรมของ ดร. วิทย์)
ถ้าจะแก้ให้ถูกควรเป็น
Please give me a chance to prove my ability to you :-โปรดให้โอกาสผมพิสูจน์ความสามารถของผมว่ามีคุณค่ากับคุณแค่ไหน / อย่างไร
หมายเหตุ :-
หากต้องการจะใช้ worth ก็ย่อมได้แต่ก็น่าจะให้ความหมายว่า คุณค่า หรือความสำคัญ (ของผม) นั่นคือ
Please give me a chance to prove my worth to you :-โปรดให้โอกาสผมพิสูจน์คุณค่า / ความสำคัญในตัวของผมกับคุณสักครั้งเถอะ (worth ในที่นี้มีความหมายเท่ากับ value)
ประโยคดังกล่าวนี้อยู่ในหน้า 97 Vol।3 (คงไม่บอกชื่อหนังสือไว้ตรงนี้ แต่พร้อมที่จะบอกทางโทรศัพท์หรือ อีเมล์ หากต้องการคำอ้างอิง)
และอีกข้อความจากคนเขียนคนเดียวกันแต่อยู่ใน Vol। 5 ว่า
as an evidence
สำหรับ ในความหมาย "ไว้เป็นหลักฐาน" นี้ เขาจะไม่นิยมใช้ article นำหน้า evidence จึงควรเป็น as evidence
Jcampa-เจแคมป้า
15 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]wrp.inbkk@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551
Globalization : โลกาภิวัฒน์ / Second hand smoker
► Globalization : โลกาภิวัฒน์
แต่ก่อนจะมาลงเอยที่ความหมายนี้ได้ มีการใช้คำอื่นมาก่อนหลายคำ เช่น
โลกาวิวัฒน์ โลกาวัฒนา หรืออะไรอีกหลายคำจำไม่ได้ สุดท้าย ราชบัณฑิตยสถานบอกว่าไม่ถูกต้องจึงบัญญัติ
คำว่า โลกาวิวัฒน์ มาแทน จึงอยากตั้งข้อสังเกตไว้ว่าฟังข่าว อ่านข่าว ดูข่าว โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน ซึ่งมีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่เว้นแต่ละวินาที
การแปลข่าว การบัญญัติคำ เขาใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปไม่ การบัญญัติคำศัพท์บางที จะถือเอามาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เช่น
Second hand smoker เขาแปลง่ายๆว่า คนสูบบุหรี่มือสอง ทั้งที่เขาหมายถึง ผู้คนที่อยู่รอบข้างผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับผลกระทบจากผู้สูบบุหรี่โดยตรง เขาพูดยังกะว่าบุหรี่ สามารถสูบจนเบื่อแล้วทิ้งไป หรือส่งทอดให้คนอื่นไปสูบต่อได้เหมือนรถใช้แล้ว ทั้งที่สูบที่ก็เหลือแค่ก้นบุหรี่ หรือขี้บุหรี่ (ขี้เถ้าหลังจากการไหม้) เท่านั้น จะเป็นมือสอง มือสามไปได้ยังไง
บางครั้งแม้ว่าจะไม่ถูกต้องก็ดูเหมือนว่าถูกไปหมด เพราะไม่มีใครทักท้วง แล้วคำเหล่านี้ถูกนำมาประโคมเข้าหูผู้ฟังตลอดเวลาผิดก็เหมือนถูก จึงต้องใช้วิจารณญาณว่าควรจะนำมาใช้ หรือจะใช้อ้างอิงได้มั๊ย
ทำนองเดียวกันกับคำที่กำลังนิยมใช้กันอยู่คือ “ก้าวกระโดด” ไม่ทราบว่าก้าวยังไงถึงจะกระโดดได้ นอกจาก ก้าวออกมาแล้วหยุดจึงกระโดดต่อ ไม่เชื่อลองทดลองก้าวขาออกมาดู ไม่มีทางที่จะกระโดดได้ทันที เว้นแต่จะหยุดลง แล้วถึงกระโดดต่อ
ต่อมาอีกคำคือ “รุกคืบ” คำว่า “รุก” หรือ invade (to enter a region or a country so as to subjugate or occupy it ตามความหมายของ The NEW OXFORD Dictionary of ENGLISH) เพื่อเข้าไป
ในพื้นที่หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อเอาชนะหรือเข้าครองครองพื้นที่นั้นหรือประเทศนั้น)
(ส่วน to trespass หมายถึง รุกล้ำ หรือการบุกรุก เช่นเข้าไปในที่ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต)
ตามความเป็นจริงแล้วมันเป็นการรุก หรือบุกอย่างกระชั้นชิด ไล่ติดตามค่อนข้างจะเร็วอยู่แล้ว แต่อยู่ๆมาบอกว่าได้แค่คืบ หรือทำให้มองออกว่า ค่อยๆเคลื่อน ค่อยๆรุกไปที่ละคืบ มันก็ยังไงอยู่ จริงคำพูดพวกนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามจะอธิบายการต่อสู้กองทัพสหรัฐกับกองทัพหรือกองโจรอิรัคช่วงสหรัฐเข้าโจมตีอิรัคว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว แต่เขาใช้ว่ารุกคืบ
Jcampa-เจแคมป้า
12March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
ตรงนี้ก็เป็นตำราเรียนภาษาอังกฤษอีกเล่ม
ตรงนี้ก็เป็นตำราเรียนภาษาอังกฤษอีกเล่ม
Update English Grammar :-ซึ่งใช้ชื่อภาษาไทยว่า “ ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย”
ถ้าจะแปลตามตัวจะได้ว่า
จงทำให้ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย ไม่ใช่ ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย
ขนาดตำราแท้ๆยังผิดกันอย่างนี้ การศึกษาเมืองไทยจะเป็นอย่างไร สงสารเด็กๆที่ต้องเจอตำราประเภทอย่างนี้ผิดๆ ถูกๆ ยิ่งหนังสือทุกวันนี้ แถมบทเรียนก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ จำเจอยู่กับบทเรียนเก่าๆ อย่างเช่น is, am are, กริยาสามช่องมี Tenses, some, any, much, many, articles, there is, there are, lot of, a lot of, how much, how many เป็นต้น ออกใหม่กี่เล่ม กี่คนเขียน ก็ไม่เห็นมีใครจะคิดเจาะลึก หาวิธีการเขียนที่แปลก แหวกแนว ให้น่าอ่าน ชวนอ่าน และเข้าใจ สามารถนำมาใช้ได้งานได้จริง แต่งประโยค พูดเขียน อ่าน แปลได้ ที่ยังไม่มีใครรู้ หรือที่คนอยากรู้ เพื่อเสริมเติมแต่ง ต่อยอดความรู้เดิมที่มีอยู่ ให้รู้ลึก รู้กว้างสามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่ให้เด็กรู้แค่สอบได้คะแนนสูง ซึ่งตำราประเภทดังกล่าวมีเกลื่อนและยังมีออกมาใหม่อยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีอะไร ที่เป็นรูปแบบการเขียนให้มีการเจาะลึก พลิกแพลง ให้เด็กได้เข้าใจดีขึ้นเลย เพราะใครเขียน ออกมาก็คล้ายกัน อยากให้มีการเอาสิ่งที่หาอ่านไม่ได้ หรือที่ผู้คนข้องคาใจ มาทำให้กระจ่างขึ้น จะทำอย่างไรถึงจะเก่งให้สามารถเอาภาษาอังกฤษมาใช้งานได้ อ่านได้ เขียนได้ พูดได้ แปลได้ แถมเขียนตำราออกมาแบบรู้ไม่จริง แล้วบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าสู้ประเทศอื่นเขาได้อย่างไร
ข้อความที่เป็นชื่อหนังสือ แก้ใหม่ควรเป็น
Updated English Grammar : ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย หรือ ไวยากรณ์อังกฤษที่ถูกทำให้ทันสมัย หรือไม่ก็
Update of English Grammar : การทำให้ทันสมัยเกี่ยวกับไวยากรณ์อังกฤษ
ถ้าตามที่เขาเขียนภาษาอังกฤษมานั้น Update เป็นคำกริยาแปลว่าจงทำให้ หรือให้ทำให้ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย ขณะเดียวกันคำนี้ก็เป็นคำนามได้ด้วย คือการทำให้ทันสมัย จึงควรใช้ให้ถูก
Jcampa-เจแคมป้า
12 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]wrp.inbkk@gmail.com
Update English Grammar :-ซึ่งใช้ชื่อภาษาไทยว่า “ ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย”
ถ้าจะแปลตามตัวจะได้ว่า
จงทำให้ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย ไม่ใช่ ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย
ขนาดตำราแท้ๆยังผิดกันอย่างนี้ การศึกษาเมืองไทยจะเป็นอย่างไร สงสารเด็กๆที่ต้องเจอตำราประเภทอย่างนี้ผิดๆ ถูกๆ ยิ่งหนังสือทุกวันนี้ แถมบทเรียนก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ จำเจอยู่กับบทเรียนเก่าๆ อย่างเช่น is, am are, กริยาสามช่องมี Tenses, some, any, much, many, articles, there is, there are, lot of, a lot of, how much, how many เป็นต้น ออกใหม่กี่เล่ม กี่คนเขียน ก็ไม่เห็นมีใครจะคิดเจาะลึก หาวิธีการเขียนที่แปลก แหวกแนว ให้น่าอ่าน ชวนอ่าน และเข้าใจ สามารถนำมาใช้ได้งานได้จริง แต่งประโยค พูดเขียน อ่าน แปลได้ ที่ยังไม่มีใครรู้ หรือที่คนอยากรู้ เพื่อเสริมเติมแต่ง ต่อยอดความรู้เดิมที่มีอยู่ ให้รู้ลึก รู้กว้างสามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่ให้เด็กรู้แค่สอบได้คะแนนสูง ซึ่งตำราประเภทดังกล่าวมีเกลื่อนและยังมีออกมาใหม่อยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีอะไร ที่เป็นรูปแบบการเขียนให้มีการเจาะลึก พลิกแพลง ให้เด็กได้เข้าใจดีขึ้นเลย เพราะใครเขียน ออกมาก็คล้ายกัน อยากให้มีการเอาสิ่งที่หาอ่านไม่ได้ หรือที่ผู้คนข้องคาใจ มาทำให้กระจ่างขึ้น จะทำอย่างไรถึงจะเก่งให้สามารถเอาภาษาอังกฤษมาใช้งานได้ อ่านได้ เขียนได้ พูดได้ แปลได้ แถมเขียนตำราออกมาแบบรู้ไม่จริง แล้วบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าสู้ประเทศอื่นเขาได้อย่างไร
ข้อความที่เป็นชื่อหนังสือ แก้ใหม่ควรเป็น
Updated English Grammar : ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย หรือ ไวยากรณ์อังกฤษที่ถูกทำให้ทันสมัย หรือไม่ก็
Update of English Grammar : การทำให้ทันสมัยเกี่ยวกับไวยากรณ์อังกฤษ
ถ้าตามที่เขาเขียนภาษาอังกฤษมานั้น Update เป็นคำกริยาแปลว่าจงทำให้ หรือให้ทำให้ไวยากรณ์อังกฤษทันสมัย ขณะเดียวกันคำนี้ก็เป็นคำนามได้ด้วย คือการทำให้ทันสมัย จึงควรใช้ให้ถูก
Jcampa-เจแคมป้า
12 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]wrp.inbkk@gmail.com
วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551
ตรงนี้ก็เป็นตำราภาษาอังกฤษเล่มโต
ตรงนี้ก็เป็นตำราภาษาอังกฤษเล่มโต ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า
“English Grammar for High Learners”
มีใครที่ไหนเขาใช้กัน High Learners มีแต่ High level ที่ถูกต้องเป็น
Advanced Learners : ผู้เสาะหาความรู้ในชั้นที่สูงขึ้น ผู้ใฝ่รู้ขั้นก้าวหน้า คนแสวงหาความรู้ความช่ำชองในวิชาการด้านใดด้านหนึ่งที่อยู่ในระดับสูงที่ขึ้นอย่างมาก
Advanced student : นักศึกษาระดับสูง ไม่ใช่
High Learner เหมือนชื่อหนังสือไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเล่มดังกล่าวที่ชื่อว่า English Grammar for High Learners ไม่มีใครเขาพูดกัน เว้นแต่
ต้นไม้สูง อาคารสูง ภูเขาสูง เขาถึงจะใช้กันว่า high มากกว่า หรือไม่ก็
high class, high level จึงจะถูกต้อง
สำหรับ Learner นั้นหมายถึง คนที่กำลังเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือทักษะสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือผู้เสาะหาความรู้ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น learner driver หมายถึงคนที่กำลังเรียนขับรถที่ยังไม่ผ่านการทดสอบรับใบขับขี เป็นต้น
Jcampa-เจแคมป้า
10 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
นี่ก็อีกเล่มที่มีอะไรผิดๆ
นี่ก็อีกเล่มที่มีอะไรผิดๆ
ตรงนี้ก็เป็นหนังสือที่ผิดอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาภายในหลายที่เขียนเอาไว้ผิดๆ เช่น
ประโยคง่ายๆอย่างนี้ก้ยังมีผิด
How are you? :สบายดี (ตรงนี้ถูกต้อง แต่ประโยคถัดมา
How do you do? :สบายดีหรือ (ตรงนี้ผิด ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะประโยคนี้เป็นประโยคทักทายที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ เช่นมีคนแนะนำให้รู้จักกัน ต่างฝ่ายจะใช้คำพูดว่า How do you do? : ทำนองว่า หวัดดีครับ หรือยินดี (ที่ได้รู้จักครับ) พร้อมกับ Shake hand (shake each other's right hand ถ้าเป็นคำนามใช้ว่า handshake) กัน หรือสัมผัสมือข้างขวาของแต่ละคน ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็พูดทักทายด้วยข้อความเดียวกันดังที่กล่าวนั้น
ดังนั้น How do you do? จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะแปลว่า สบายดีหรือ เหมือนกับ How are you? จึงเป็นไปไม่ได้ กลัวว่าเด็กจะดูดซับเอาของผิดๆพวกนี้ไปใช้ไม่รู้ตัว
ต่อมาในหน้า 13 ของหนังสือเล่มนี้ ถามว่า
How's going? : เป็นอย่างไรบ้าง ที่ถูกต้องเป็น How's it going?
ต่อมาในหน้า 14 มีประโยคว่า
What's bring you here today? : ลมอะไรหอบมาที่นี่ได้ล่ะ ที่ถูกต้องเป็น
What has brought you here today?
ในหน้า 30. When is he expected back? : เขาบอกว่าจะกลับมาเมื่อไรครับ ที่ถูกต้องเป็น
When is he expected to be back?
ในหน้า 48 ตรงหัวข้อ ถามอาการเพื่อน เขาใช้ภาษาอังกฤษว่า about sick เป็นไปไม่ได้เลย เมื่อ about เป็นบุรพบทขณะที่ sick เป็นคำคุณศัพท์ ไม่สามารถเป็นกรรมของบุรพทได้
sick จึงควรเป็น sickness หรือ about being sick หรือ illness (แต่ตัวนี้ออกจะป่วยหนักกว่า sick)
หัวข้อหน้า 56 ใช้ว่า Likes and Dislikes : ชอบ ไม่ชอบ ทั้งสองคำนี้เป็นคำกริยาจะเติม -s เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุทที่สามในประโยค Present tense เท่านั้นจึงเติม -s
อย่างในกรณีอย่างที่ใช้เป็นหัวข้อในขณะที่ผู้เขียนคงนึกว่าเป็นคำนามกระมัง ถ้าเป็นคำนามเขาใช้ว่า the like (ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่เป็นเอกพจน์ หรือเป็นพหูพจน์ (a thing or things ) ที่เป็นชนิดเดียวกัน คือเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์) ส่วน Dislike เมื่อเป็นคำนามหมายถึง ความไม่ชอบ ความไม่เป็นมิตร ความมุ่งร้าย ความรู้สึกที่ไม่ชอบ (a feeling of distaste or hostility)
นอกจานั้นยังมีประโยคผิดๆอีกมาก เช่น
It better not be Ball. I don't want to loss another friend to the death of love. หรือ
It better not be just 'coz' he looks like Brad Pitt. Marriage is more than a fling with a movie-star look-alike.
สรุปง่ายๆว่าจะซื้อหรืออ่านหนังสือต้องให้ความสนใจด้วยว่ามีความถูกต้องแค่ไหน ไม่ใช่พิมพ์เป็นเล่มก็คิดว่าเป็นหนังสือที่ถูกต้องสมบูรณ์ เหมือนคำพูดที่มักจะได้ยินกันบ่อยว่า “อ่านไปเถอะ ดีทั้งนั้นขอให้เป็นหนังสือ” คนที่รู้อะไรไม่จริงจะพูดอะไรก็พูดได้ทั้งนั้น ไม่ได้มองว่าจะเกิดผลกระทบ ความเสียหายว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เดี่ยวจะอายต่างชาติเขา ยิ่งยุคทุกวันนี้ เป็นยุคไร้พรมแดน ภาษาอังกฤษใช้เป็นตัววัดหรือกำหนดระดับความรู้ การศึกษาของคนในแต่ละประเทศ หรือสถานะบางอย่างของคนได้
มีไหม ผู้รู้ทั้งหลายที่คิดจะมารวมตัวกันตั้งเป็นชมรม หรือเป็นอาสาสมัครเพื่อคอยเฝ้าติดตาม คอยดูการใช้ภาษาอังกฤษ หรือจะเป็นภาษาไทยด้วยก็ได้จะยิ่งดีมากเลย คอยติ ให้คำแนะนำ แก้ไขในสิ่งที่ผิดๆให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานสากลกับประเทศอื่นๆ
หรือจะให้มีการเผาตำราไปก่อนถึงจะรู้ตัวว่า เรียนกันมาผิดๆ สอนกันมาผิดๆ จำกันได้ไหมประมาณปี 2541 หรือ 2542 ประมาณนั้น มีนักวิชาการออกมาโวยวายว่าตำราผิด ทางโรงพิมพ์จึงสั่งเผาตำรา ทั้งที่ (หนังสือเล่มดังกล่าว (หนังสือภาษาอังกฤษมัธยมปีที่ 3) มีการสอนกันมาหลายปีก่อนที่จะมีการเผาเสียด้วยซ้ำ ครู อาจารย์ที่สอนช่างไม่รู้เลยว่าอะไรถูกอะไรผิด ผู้เขียนบทความนี้เคยมีลูกได้เรียนหนังสือเล่มดังกล่าวด้วย และ พ่อเคยบอกกับลูกว่าตรงนี้ผิด ช่วยไปบอกครูด้วย แต่ลูกไม่กล้าเพราะกลัวจะเด่นและเสี่ยงที่ครูจะไม่เห็นด้วย เดี๋ยวหน้าแตก
ตรงนี้คืออุทาหรณ์ที่ควรตระหนักเอาไว้ อย่าว่าแต่หนังสือเลย โฆษณาภาษาอังกฤษหลายสถาบันก็มีผิดไม่น้อย นี่และเมืองไทย ที่ไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ควรจะแสดง อะไรก็เก็บเงียบ กว่าจะรู้อะไรผิดก็สายเสียแล้ว
Jcampa-เจแคมป้า
10 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/ [สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
ตรงนี้ก็เป็นหนังสือที่ผิดอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาภายในหลายที่เขียนเอาไว้ผิดๆ เช่น
ประโยคง่ายๆอย่างนี้ก้ยังมีผิด
How are you? :สบายดี (ตรงนี้ถูกต้อง แต่ประโยคถัดมา
How do you do? :สบายดีหรือ (ตรงนี้ผิด ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะประโยคนี้เป็นประโยคทักทายที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ เช่นมีคนแนะนำให้รู้จักกัน ต่างฝ่ายจะใช้คำพูดว่า How do you do? : ทำนองว่า หวัดดีครับ หรือยินดี (ที่ได้รู้จักครับ) พร้อมกับ Shake hand (shake each other's right hand ถ้าเป็นคำนามใช้ว่า handshake) กัน หรือสัมผัสมือข้างขวาของแต่ละคน ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็พูดทักทายด้วยข้อความเดียวกันดังที่กล่าวนั้น
ดังนั้น How do you do? จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะแปลว่า สบายดีหรือ เหมือนกับ How are you? จึงเป็นไปไม่ได้ กลัวว่าเด็กจะดูดซับเอาของผิดๆพวกนี้ไปใช้ไม่รู้ตัว
ต่อมาในหน้า 13 ของหนังสือเล่มนี้ ถามว่า
How's going? : เป็นอย่างไรบ้าง ที่ถูกต้องเป็น How's it going?
ต่อมาในหน้า 14 มีประโยคว่า
What's bring you here today? : ลมอะไรหอบมาที่นี่ได้ล่ะ ที่ถูกต้องเป็น
What has brought you here today?
ในหน้า 30. When is he expected back? : เขาบอกว่าจะกลับมาเมื่อไรครับ ที่ถูกต้องเป็น
When is he expected to be back?
ในหน้า 48 ตรงหัวข้อ ถามอาการเพื่อน เขาใช้ภาษาอังกฤษว่า about sick เป็นไปไม่ได้เลย เมื่อ about เป็นบุรพบทขณะที่ sick เป็นคำคุณศัพท์ ไม่สามารถเป็นกรรมของบุรพทได้
sick จึงควรเป็น sickness หรือ about being sick หรือ illness (แต่ตัวนี้ออกจะป่วยหนักกว่า sick)
หัวข้อหน้า 56 ใช้ว่า Likes and Dislikes : ชอบ ไม่ชอบ ทั้งสองคำนี้เป็นคำกริยาจะเติม -s เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุทที่สามในประโยค Present tense เท่านั้นจึงเติม -s
อย่างในกรณีอย่างที่ใช้เป็นหัวข้อในขณะที่ผู้เขียนคงนึกว่าเป็นคำนามกระมัง ถ้าเป็นคำนามเขาใช้ว่า the like (ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่เป็นเอกพจน์ หรือเป็นพหูพจน์ (a thing or things ) ที่เป็นชนิดเดียวกัน คือเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์) ส่วน Dislike เมื่อเป็นคำนามหมายถึง ความไม่ชอบ ความไม่เป็นมิตร ความมุ่งร้าย ความรู้สึกที่ไม่ชอบ (a feeling of distaste or hostility)
นอกจานั้นยังมีประโยคผิดๆอีกมาก เช่น
It better not be Ball. I don't want to loss another friend to the death of love. หรือ
It better not be just 'coz' he looks like Brad Pitt. Marriage is more than a fling with a movie-star look-alike.
สรุปง่ายๆว่าจะซื้อหรืออ่านหนังสือต้องให้ความสนใจด้วยว่ามีความถูกต้องแค่ไหน ไม่ใช่พิมพ์เป็นเล่มก็คิดว่าเป็นหนังสือที่ถูกต้องสมบูรณ์ เหมือนคำพูดที่มักจะได้ยินกันบ่อยว่า “อ่านไปเถอะ ดีทั้งนั้นขอให้เป็นหนังสือ” คนที่รู้อะไรไม่จริงจะพูดอะไรก็พูดได้ทั้งนั้น ไม่ได้มองว่าจะเกิดผลกระทบ ความเสียหายว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เดี่ยวจะอายต่างชาติเขา ยิ่งยุคทุกวันนี้ เป็นยุคไร้พรมแดน ภาษาอังกฤษใช้เป็นตัววัดหรือกำหนดระดับความรู้ การศึกษาของคนในแต่ละประเทศ หรือสถานะบางอย่างของคนได้
มีไหม ผู้รู้ทั้งหลายที่คิดจะมารวมตัวกันตั้งเป็นชมรม หรือเป็นอาสาสมัครเพื่อคอยเฝ้าติดตาม คอยดูการใช้ภาษาอังกฤษ หรือจะเป็นภาษาไทยด้วยก็ได้จะยิ่งดีมากเลย คอยติ ให้คำแนะนำ แก้ไขในสิ่งที่ผิดๆให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานสากลกับประเทศอื่นๆ
หรือจะให้มีการเผาตำราไปก่อนถึงจะรู้ตัวว่า เรียนกันมาผิดๆ สอนกันมาผิดๆ จำกันได้ไหมประมาณปี 2541 หรือ 2542 ประมาณนั้น มีนักวิชาการออกมาโวยวายว่าตำราผิด ทางโรงพิมพ์จึงสั่งเผาตำรา ทั้งที่ (หนังสือเล่มดังกล่าว (หนังสือภาษาอังกฤษมัธยมปีที่ 3) มีการสอนกันมาหลายปีก่อนที่จะมีการเผาเสียด้วยซ้ำ ครู อาจารย์ที่สอนช่างไม่รู้เลยว่าอะไรถูกอะไรผิด ผู้เขียนบทความนี้เคยมีลูกได้เรียนหนังสือเล่มดังกล่าวด้วย และ พ่อเคยบอกกับลูกว่าตรงนี้ผิด ช่วยไปบอกครูด้วย แต่ลูกไม่กล้าเพราะกลัวจะเด่นและเสี่ยงที่ครูจะไม่เห็นด้วย เดี๋ยวหน้าแตก
ตรงนี้คืออุทาหรณ์ที่ควรตระหนักเอาไว้ อย่าว่าแต่หนังสือเลย โฆษณาภาษาอังกฤษหลายสถาบันก็มีผิดไม่น้อย นี่และเมืองไทย ที่ไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ควรจะแสดง อะไรก็เก็บเงียบ กว่าจะรู้อะไรผิดก็สายเสียแล้ว
Jcampa-เจแคมป้า
10 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/ [สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
แม้แต่ชื่อหนังสือภาษาอังกฤษก็ยังผิด
Speak English For Kids : แม้แต่ชื่อนังสือภาษาอังกฤษก็ยังผิด
มีหนังสือเล่มหนึ่งเพิ่งออกใหม่ชื่อ Speak English For Kids
โปรดสังเกตภาษาอังกฤษที่ใช้ให้ดีด้วย ส่วนชื่อ ภาษาไทยของเขาคือ “อังกฤษง่ายๆสไตล์ฝรั่ง" เป็นชื่อหนังสือเล่มดังกล่าว
ที่จริงนั้นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เขามีเจตนาจะให้เป็นหนังสือสอนเด็กพูดภาษาอังกฤษ แต่ชื่อที่ใช้นั้นแสดงว่าผู้เขียนไม่ได้เข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ลึกซึ้งเลย
ถ้าแปลตามที่เขาเขียนมานั้นจะหมายถึง “จงพูดอังกฤษสำหรับเด็กๆ” หรือ “พูดอังกฤษเพื่อเด็กๆ (พูดอังกฤษให้กับเด็ก หรือพูดอังกฤษแทนเด็ก หรือจงพูดอังกฤษแทนเด็กๆ เหล่านี้คือคำแปลที่เป็นไปได้ แต่ไม่ได้ตรงประเด็นเหมือนกับที่เขาต้องการสื่อออกมาเลย) และก็ ไม่ใช่ อังกฤษง่ายๆสำหรับเด็กด้วยซ้ำ”
ถ้าจะพูดให้ใช้ได้นั้นควรเป็น English speaking for Kids : การพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก การพูดภาษาอังกฤษเพื่อเด็กๆ การพูดภาษาอังกฤษแทนเด็ก
หรือ ถ้าจะให้ตรงประเด็นจริงๆแล้ว ควรเป็น English-Speaking Lessons for Kids : การสอนหรือบทเรียนพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก
แค่ชื่อหนังสือก็ยังปล่อยให้ผิดได้ ไม่ทราบว่าข้างในจะเป็นยังไง เป็นหนังสือออกใหม่ เพิ่งไปดูที่ร้านหนังสือเมื่อวันนี้ 9 March 2008 นี้เอง
*******************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า
10 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
มีหนังสือเล่มหนึ่งเพิ่งออกใหม่ชื่อ Speak English For Kids
โปรดสังเกตภาษาอังกฤษที่ใช้ให้ดีด้วย ส่วนชื่อ ภาษาไทยของเขาคือ “อังกฤษง่ายๆสไตล์ฝรั่ง" เป็นชื่อหนังสือเล่มดังกล่าว
ที่จริงนั้นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เขามีเจตนาจะให้เป็นหนังสือสอนเด็กพูดภาษาอังกฤษ แต่ชื่อที่ใช้นั้นแสดงว่าผู้เขียนไม่ได้เข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ลึกซึ้งเลย
ถ้าแปลตามที่เขาเขียนมานั้นจะหมายถึง “จงพูดอังกฤษสำหรับเด็กๆ” หรือ “พูดอังกฤษเพื่อเด็กๆ (พูดอังกฤษให้กับเด็ก หรือพูดอังกฤษแทนเด็ก หรือจงพูดอังกฤษแทนเด็กๆ เหล่านี้คือคำแปลที่เป็นไปได้ แต่ไม่ได้ตรงประเด็นเหมือนกับที่เขาต้องการสื่อออกมาเลย) และก็ ไม่ใช่ อังกฤษง่ายๆสำหรับเด็กด้วยซ้ำ”
ถ้าจะพูดให้ใช้ได้นั้นควรเป็น English speaking for Kids : การพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก การพูดภาษาอังกฤษเพื่อเด็กๆ การพูดภาษาอังกฤษแทนเด็ก
หรือ ถ้าจะให้ตรงประเด็นจริงๆแล้ว ควรเป็น English-Speaking Lessons for Kids : การสอนหรือบทเรียนพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก
แค่ชื่อหนังสือก็ยังปล่อยให้ผิดได้ ไม่ทราบว่าข้างในจะเป็นยังไง เป็นหนังสือออกใหม่ เพิ่งไปดูที่ร้านหนังสือเมื่อวันนี้ 9 March 2008 นี้เอง
*******************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า
10 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551
Train ในอีกความหมายหนึ่งที่น่าสนใจ
Train ในอีกความหมายหนึ่งที่น่าสนใจ
เข้าเรียนหลักสูตร เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร
เช่น เกี่ยวกับการออกกำลังและการควบคุมอาหารเพื่อความกระชับของร่างกาย เพื่อให้ได้หรือรักษาระดับความกระชับของร่างกายให้คงอยู่ในระดับที่สูง (ไม่ให้อ่อนแอ) ตามความหมายของ
The New Oxford Dictionary of English => Train :-[no obj.] undertake a course of exercise and diet in order to reach or maintain a high level of physical fitness, typically in preparation for participating in a specific sport or event:
We play football twice a week.
เราเล่นฟุตบอลสัปดาห์ละสองครั้ง
หรืออย่าง เช่น ในโฆษณาย่อยของสถาบันสอนภาษาแห่งหนึ่งใน Bangkok Post 3 March 2008 ใช้ว่า
Train while teaching ..... ถ้าจะแปลตามความหมายที่เราเคยทราบจนชินหู คือ ฝึกอบรม ฝึกหัด
ฝึกฝน
จะกลายเป็นการสั่งให้คุณฝึกหรือสอนคนอื่นให้เป็นงานหรือชำนาญอย่างใดอย่างหนึ่งขณะที่คุณกำลังสอน หรือกำลังทำงานเกี่ยวกับการสอนอยู่
ดูข้อความคำโฆษณาเต็มๆดังกล่าว ซึ่งเป็นคำโฆษณาที่ถูกต้องเมื่อมองในแง่ความหมายดังกล่าว คือ Train ที่ให้ไว้อันแรก
Train while teaching.....Maximize income! Study p/t or at home on Accredited
TEFL Course
( www.teflteachthai.com )
เข้าฝึกอบรมขณะที่ยังทำงานเกี่ยวกับการสอนอยู่ ทำให้ได้รายได้สูงสุด ศึกษานอกเวลางาน หรือที่บ้านเกี่ยวกับหลักสูตร TEFL ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะแล้ว
หมายเหตุ: ไม่ได้โฆษณาหรือมีส่วนได้เสียกับโฆษณาอันนี้ แต่เก็บเอาประเด็นการใช้ภาษามาแบ่งปันกัน จะได้ไม่งงเมื่อเห็นการใช้ Train ในลักษณะอย่างนี้ และคิดว่าเจ้าของโฆษณาคงไม่ว่า เพราะเอามาพูดในทางที่ดี ใช้เป็นตัวอย่างการใช้คำเกี่ยวกับคำนี้
Jcampa-เจแคมป้า
6 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
เข้าเรียนหลักสูตร เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร
เช่น เกี่ยวกับการออกกำลังและการควบคุมอาหารเพื่อความกระชับของร่างกาย เพื่อให้ได้หรือรักษาระดับความกระชับของร่างกายให้คงอยู่ในระดับที่สูง (ไม่ให้อ่อนแอ) ตามความหมายของ
The New Oxford Dictionary of English => Train :-[no obj.] undertake a course of exercise and diet in order to reach or maintain a high level of physical fitness, typically in preparation for participating in a specific sport or event:
We play football twice a week.
เราเล่นฟุตบอลสัปดาห์ละสองครั้ง
หรืออย่าง เช่น ในโฆษณาย่อยของสถาบันสอนภาษาแห่งหนึ่งใน Bangkok Post 3 March 2008 ใช้ว่า
Train while teaching ..... ถ้าจะแปลตามความหมายที่เราเคยทราบจนชินหู คือ ฝึกอบรม ฝึกหัด
ฝึกฝน
จะกลายเป็นการสั่งให้คุณฝึกหรือสอนคนอื่นให้เป็นงานหรือชำนาญอย่างใดอย่างหนึ่งขณะที่คุณกำลังสอน หรือกำลังทำงานเกี่ยวกับการสอนอยู่
ดูข้อความคำโฆษณาเต็มๆดังกล่าว ซึ่งเป็นคำโฆษณาที่ถูกต้องเมื่อมองในแง่ความหมายดังกล่าว คือ Train ที่ให้ไว้อันแรก
Train while teaching.....Maximize income! Study p/t or at home on Accredited
TEFL Course
( www.teflteachthai.com )
เข้าฝึกอบรมขณะที่ยังทำงานเกี่ยวกับการสอนอยู่ ทำให้ได้รายได้สูงสุด ศึกษานอกเวลางาน หรือที่บ้านเกี่ยวกับหลักสูตร TEFL ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะแล้ว
หมายเหตุ: ไม่ได้โฆษณาหรือมีส่วนได้เสียกับโฆษณาอันนี้ แต่เก็บเอาประเด็นการใช้ภาษามาแบ่งปันกัน จะได้ไม่งงเมื่อเห็นการใช้ Train ในลักษณะอย่างนี้ และคิดว่าเจ้าของโฆษณาคงไม่ว่า เพราะเอามาพูดในทางที่ดี ใช้เป็นตัวอย่างการใช้คำเกี่ยวกับคำนี้
Jcampa-เจแคมป้า
6 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
ประโยคผิดๆอย่างนี้เจอบ่อย
ประโยคผิดๆอย่างนี้เจอบ่อย
Please check the file and inform your price and lead time.
กรุณาตรวจสอบไฟล์ดูและแจ้งให้ราคาและเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จทราบ
ถ้าเขียนอย่างนี้ คุณจะ inform ราคาและ lead time ของคุณ เพราะ your price and lead time เป็นกรรมของ inform คุณไม่ได้ inform ให้ฉัน หรือให้ผม หรือคนทราบเลย แต่คุณไปแจ้งให้ราคาทราบ หรือให้ Lead time ทราบ
มีเจอบ่อยครั้งโดยเฉพาะตามศูนย์ภาษาต้องการทราบคุณวุฒิของนักแปล เขียนด้วยประโยคทำนองนี้มาว่า
Please inform your qualifications as urgent.
อะไรทำนองนี้ เจอบ่อยมากเลย
ที่ถูกต้องนั้นจะพูดอย่างนี่
Please inform us of your price and lead time / inform us about your price and lead time / inform us about your qualifications
ทำนองเดียวกันกับ interest ในความหมายที่เป็นคำกริยา แปลว่า ทำให้สนใจ แต่เจอบ่อยครั้ง เช่น
If you interest our service, please do not hesitate.
ถ้าแปลจะได้ว่า “หากคุณทำให้การบริการของเราสนใจ กรุณาอย่ารีรอ” ที่ถูกนั้นต้องเป็น
If you are interested in our service, please, do not hesitate to contact us.
หากคุณสนใจในบริการของเรา กรุณาอย่าได้รีรอที่จะติดต่อกับทางเรา (ติดต่อกับเรา)
ข้อความตรงนื้เอามาจากอินเตอร์เนตเขาโฆษณางานแปล จากข้อความตรงนี้ หมายความว่า ถ้าคุณทำให้การบริการของเราสนใจ กรุณาอย่าได้รีรอ (ไม่ทราบว่ารีรออะไร ไม่มีความสมบูรณ์ในความหมายของประโยคเลย ยังขาดคำที่จะทำให้ประโยคสมบูรณ์อยู่)
ต้องดูความหมายที่แท้จริงของคำด้วย ถ้ายังจะสื่อความหมายกันผิดๆ ว่าคุณจะสนใจเขาหรือคุณจะทำให้เขาสนใจคุณแน่สับสนจนไม่รู้ว่าอะไรจะสนใจใครกันแน่ ตลกสิ้นดี
ที่เห็นๆ แม้แต่ศูนย์แปลบางแห่ง ยังใช้ผิดๆอย่างนี้ ไม่ทราบว่าลูกค้ารู้ตัวเองว่าได้รับคำแปลที่ผิดไปหรือเปล่า
ด้วยความถูกต้องและหวังดีจาก
Jcampa-เจแคมป้า
6 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
ประโยคนี้ผิดแต่เจอบ่อย และคนที่เขียนส่วนมากเป็นผู้ที่อยู่ในวงการภาษา หรือผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งนั้น
Please check the file and inform your price and lead time.
กรุณาตรวจสอบไฟล์ดูและแจ้งให้ราคาและเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จทราบ
ถ้าเขียนอย่างนี้ คุณจะ inform ราคาและ lead time ของคุณ เพราะ your price and lead time เป็นกรรมของ inform คุณไม่ได้ inform ให้ฉัน หรือให้ผม หรือคนทราบเลย แต่คุณไปแจ้งให้ราคาทราบ หรือให้ Lead time ทราบ
มีเจอบ่อยครั้งโดยเฉพาะตามศูนย์ภาษาต้องการทราบคุณวุฒิของนักแปล เขียนด้วยประโยคทำนองนี้มาว่า
Please inform your qualifications as urgent.
อะไรทำนองนี้ เจอบ่อยมากเลย
ที่ถูกต้องนั้นจะพูดอย่างนี่
Please inform us of your price and lead time / inform us about your price and lead time / inform us about your qualifications
ทำนองเดียวกันกับ interest ในความหมายที่เป็นคำกริยา แปลว่า ทำให้สนใจ แต่เจอบ่อยครั้ง เช่น
If you interest our service, please do not hesitate.
ถ้าแปลจะได้ว่า “หากคุณทำให้การบริการของเราสนใจ กรุณาอย่ารีรอ” ที่ถูกนั้นต้องเป็น
If you are interested in our service, please, do not hesitate to contact us.
หากคุณสนใจในบริการของเรา กรุณาอย่าได้รีรอที่จะติดต่อกับทางเรา (ติดต่อกับเรา)
ข้อความตรงนื้เอามาจากอินเตอร์เนตเขาโฆษณางานแปล จากข้อความตรงนี้ หมายความว่า ถ้าคุณทำให้การบริการของเราสนใจ กรุณาอย่าได้รีรอ (ไม่ทราบว่ารีรออะไร ไม่มีความสมบูรณ์ในความหมายของประโยคเลย ยังขาดคำที่จะทำให้ประโยคสมบูรณ์อยู่)
ต้องดูความหมายที่แท้จริงของคำด้วย ถ้ายังจะสื่อความหมายกันผิดๆ ว่าคุณจะสนใจเขาหรือคุณจะทำให้เขาสนใจคุณแน่สับสนจนไม่รู้ว่าอะไรจะสนใจใครกันแน่ ตลกสิ้นดี
ที่เห็นๆ แม้แต่ศูนย์แปลบางแห่ง ยังใช้ผิดๆอย่างนี้ ไม่ทราบว่าลูกค้ารู้ตัวเองว่าได้รับคำแปลที่ผิดไปหรือเปล่า
ด้วยความถูกต้องและหวังดีจาก
Jcampa-เจแคมป้า
6 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551
เกรงใจฝรั่งใช้อย่างไร
เกรงใจฝรั่งใช้อย่างไร
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากๆ เห็นจะไม่มีในหนังสือเล่มไหนจะอธิบายได้สะใจเท่ากับของ หนังสือ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฉบับ “เกรงใจแปลว่าอะไรในภาษาอังกฤษ” อ่านจบไปแล้ว ยังสรุปไม่ได้เลยว่าเกรงใจจริงๆนั้น ภาษาอังกฤษเขาใช้ว่าอะไรแน่ คงเป็นเพราะคำอย่างนี้ไม่ค่อยจะมีใช้ในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษกัน แต่อย่างน้อยก็พอจะทำให้เราเข้าใจว่า การแปลไม่ใช่จะง่ายเสมอไป
ข้อความไม่กี่คำ ไม่กี่ประโยค อาจต้องใช้เวลาแปลนานหลายนาที หรือมากกว่านั้น บางครั้งอาจต้องเป็นชั่วโมง ต้องคิดหลายแง่ หลายมุม บางครั้งอาจคิดไม่ออกมืดแปดด้าน แปดทิศ อะไรทำนองนั้น เพราะการจะเลือกเอาแต่ละคำมาใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ ตามเนื้อหาที่แปลนั้น บางครั้งก็หาไม่ได้ ไม่มี ไม่ทราบว่าจะหาที่ไหนได้ พจนานุกรมภาษาไทยกี่เล่มก็ไม่เจอ ถึงมีก็ไม่เข้าประเด็น หรือบางครั้งก็มีหลายตัว หลายความหมาย ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเอาความหมายไหน หรือคำไหน จึงจะเหมาะสม
จากตัวอย่างของ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ตามหนังสือเล่มดังกล่าวนั้นยังแสดงออกซึ่งความยากให้ผู้อ่านได้เห็น ทั้งที่เขาเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษด้วย และแถมยังเป็นผู้รับรางวัลสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องที่สุดอีกด้วย เขายังแสดงออกซึ่งความอึดอัด หนักใจให้เห็นว่าหาคำมาเทียบกับคำว่า เกรงใจแทบไม่ได้เลย
ในมุมมอง หรือความคิดของเจ้าของเอกสารที่จะให้คนอื่นแปลเอกสารให้ หรือจ้าง หรือวานให้ใครแปลให้ ก็พึงตระหนักในความยุ่งยากตรงนี้เอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา ราคาค่าแปล หรือแม้แต่การแปลที่ผิดพลาดหรือพลั้งเผลอที่ขาดความรอบคอบไปบ้าง หรือคิดไม่ถึงในความหมายบางแง่บางมุมของแต่ละคำ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ไขว้เขวไปได้ อาจทำให้ยุ่งยากที่จะถ่ายทอดหรือตีความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งได้ยาก
คำศัพท์ที่ แอนดรูว์ บิ๊กส์ นำมาเสนอในความหมายว่า เกรงใจ ในหน้า 2-13 ได้แก่
Consideration
Considerate of
Empathy
Deference
Put (somebody) out : รบกวนใครสักคน
Be afraid of
Think of
Don’t want to bother him / her เป็นต้น
ส่วนตัวอย่างการใช้คำที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ต้องไปดูในหนังสือเล่มดังกล่าวเอาเอง (และขอออกตัวเอาไว้ตรงนี้ด้วยว่า ผู้เขียนบทความนี้ไม่มีเจตนาจะเป็นหน้าม้า ไม่ว่าในแง่มุมหนึ่งแง่มุมใดทั้งสิ้น และก็ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับหนังสือเล่มดังกล่าวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่ถ่ายทอดความยากในการหาคำที่ตรงประเด็นให้พวกเราได้รับรู้กันทั่วไปได้ดีอย่างมากๆ จึงเห็นเป็นการสมควรที่ต้องนำมากล่าวถึง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ และมีเป็นตัวเป็นตนให้เห็นจริงได้ รวมทั้งแอนดรูว์เองเป็นทั้งเจ้าของภาษาอังกฤษ (ชาวออสเตรเลีย) และยังเป็นผู้ใช้ภาษาไทยได้ดี ถึงขนาดได้รับรางวัลอีกด้วย จึงน่าจะนำมายกเป็นตัวอย่างว่า แม้แต่ คนเก่งๆอย่างเขาก็ยังหนักใจกับการแปลให้ตรงประเด็นในเรื่องบางเรื่อง หรือในสถานการณ์บางอย่าง
สำหรับตัวอย่างการแต่งประโยค การใช้ที่ถูกสถานการณ์อย่างไรนั้น ต้องไปดูในหนังสือเล่มดังกล่าวด้วยตัวท่านเอง เพราะถ้ายกมากล่าวทั้งหมดจะทำให้เขาขายหนังสือไม่ได้ หรือจะกลายเป็นการคัดลอกข้อความของเขามาตีแผ่ โดยไม่ได้รับอนุญาต จะกลายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเขาได้ และที่กล่าวมานี้ ขอชมเฉพาะหัวข้อ “เกรงใจ” ของเขาเท่านั้น ไม่ได้รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ถือว่าน่าอ่านมากเลย อ่านแล้วน่าเก็บไว้เป็นอุทาหรณ์ในการหาคำแปลที่ตรงประเด็นสำหรับคำบางคำนั้นยากมาก
*********************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า
5 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551
หนังสือผิดๆ
หนังสือผิดๆ
Are all employers are present today?
เขาเขียนภาษาอังกฤษมาย่างนั้น และเขียนคำแปลว่า
พนักงานทุกคนมาพร้อมทุกคนไหมวันนี้หรืออะไรทำนองนั้น
ในประโยคนี้มีกริยาช่วยสองตัวคือ are หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ มีภาคแสดงสองตัว แถมคำว่า employers กลับแปลว่า พนักงาน ทั้งที่มันแปลว่า
นายจ้าง และแถมยังมีการอธิบายคำศัพท์ซ้ำด้านล่างด้วยคำว่า employer หมายถึง พนักงาน อีกครั้ง ตอนแรกก็เข้าใจว่าเรียงพิมพ์ผิด แต่ที่ไหนได้ เป็นการเข้าใจผิดของผู้เขียนเอง
ถ้าจะแก้ให้ถูกตามประโยคข้างบนนั้น ควรจะเป็น
Are employees present today? จึงจะแปลว่า พนักงานทุกคนมาทำงานครบกันไหมวันนี้ หรือพนักงานทุกคนมาพร้อมกันไหมวันนี้
แทนที่เด็กไทยจะเก่งกลับต้องเรียนอะไรผิดๆอย่างนี้ นี่เป็นหนังสือของฝ่ายวิชาการของโรงพิมพ์แห่งหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโรงพิมพ์ที่พิมพ์เป็นเล่มผิดๆทำนองนี้
และในหนังสือเล่มเดียวกันใช้ศัพท์คำว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าว่า Electrical machines ซึ่งก็ผิดถนัด
ที่ถูกนั้นต้องเป็น electrical appliances หรือ electric appliances:-เครื่องใช้ไฟฟ้า จะถูกต้องมากกว่า
ถ้า machine หมายถึงเครื่องจักร หรือเครื่องกล ส่วนมากใช้ตามโรงงาน เช่นเครื่องจักรที่เกี่ยวกับการผลิตเป็นต้น และถ้า
utensil :-หมายถึงเครื่องใช้ในครัว
*********************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า
4 March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
Red registration plate
Red registration plate
car registration plate : หมายถึง แผ่นป้ายทะเบียน
มีเรียกกันหลายแบบ เช่น:-
A vehicle registration plates :-
car red registration plate : ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ป้ายทะเบียนสีแดงของรถ หรือ
red registration plate of a car : ทะเบียนป้ายแดง (ของรถ)
a car with a red registration plate : รถทะเบียนป้ายแดง รถป้ายแดง
red number plate of a car : ทะเบียนป้ายแดง อย่างนี้ก็มีเรียกกัน
ที่จริงนั้น ป้ายทะเบียนดังกล่าวจะทำด้วยแผ่นโลหะ หรือแผ่นพลาสติกแล้วแต่ละประเทศ เพื่อใช้ติดกับยานยนต์ (motor vehicle ) หรือรถพ่วง (trailer) เพื่อใช้เป็นการบ่งชี้ที่เป็นทางการ (For official identification purpose)
ในบางประเทศอาจจะหมายถึง license plate, number plate, vehicle tag หรืออาจเรียกสั้นๆว่า tag เลยก็มี
ทราบไหมว่า
รถที่มีทะเบียนป้ายแดงตามกฎหมายให้วิ่งได้ตามซอย ห้ามวิ่งออกถนนหลวง (หมายถึงถนนที่มีป้ายชื่อ) ห้ามวิ่งกลางคืน ห้ามวิ่งต่างจังหวัด ถ้าเกิดเรื่องเกิดเหตุตำรวจจะสันนิษฐานหรือถือว่าป้ายแดงมีความผิดเอาไว้ ก่อน
เขียนโดย Jcampa-เจแคมป้า เมื่อ
3 มีนาคม 2551 (Copy ไปไว้ที่ http:worldway.multiply.com แล้ว เนื่องแต่ละ Blog มีสิทธิ์ที่หายหรือถูกลบไปได้ ตัวอย่าง เช่น Geocities.com ที่ถูกซื้อไป ทั้งบล๊อก ทั้งเว็บเพ็จ หายไปหมด จึงจำเป็นต้องโพสต์ไว้อย่างน้อย 2 ฺบล๊อก)
Visit us at : http://jcampa-newlook.blogspot.com
http://worldway.multiply.com
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
myvictory32@hotmail.com / wrp.inbkk@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)