Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551

เกรงใจฝรั่งใช้อย่างไร




เกรงใจฝรั่งใช้อย่างไร

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากๆ เห็นจะไม่มีในหนังสือเล่มไหนจะอธิบายได้สะใจเท่ากับของ หนังสือ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฉบับ “เกรงใจแปลว่าอะไรในภาษาอังกฤษ” อ่านจบไปแล้ว ยังสรุปไม่ได้เลยว่าเกรงใจจริงๆนั้น ภาษาอังกฤษเขาใช้ว่าอะไรแน่ คงเป็นเพราะคำอย่างนี้ไม่ค่อยจะมีใช้ในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษกัน แต่อย่างน้อยก็พอจะทำให้เราเข้าใจว่า การแปลไม่ใช่จะง่ายเสมอไป

ข้อความไม่กี่คำ ไม่กี่ประโยค อาจต้องใช้เวลาแปลนานหลายนาที หรือมากกว่านั้น บางครั้งอาจต้องเป็นชั่วโมง ต้องคิดหลายแง่ หลายมุม บางครั้งอาจคิดไม่ออกมืดแปดด้าน แปดทิศ อะไรทำนองนั้น เพราะการจะเลือกเอาแต่ละคำมาใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ ตามเนื้อหาที่แปลนั้น บางครั้งก็หาไม่ได้ ไม่มี ไม่ทราบว่าจะหาที่ไหนได้ พจนานุกรมภาษาไทยกี่เล่มก็ไม่เจอ ถึงมีก็ไม่เข้าประเด็น หรือบางครั้งก็มีหลายตัว หลายความหมาย ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเอาความหมายไหน หรือคำไหน จึงจะเหมาะสม

จากตัวอย่างของ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ตามหนังสือเล่มดังกล่าวนั้นยังแสดงออกซึ่งความยากให้ผู้อ่านได้เห็น ทั้งที่เขาเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษด้วย และแถมยังเป็นผู้รับรางวัลสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องที่สุดอีกด้วย เขายังแสดงออกซึ่งความอึดอัด หนักใจให้เห็นว่าหาคำมาเทียบกับคำว่า เกรงใจแทบไม่ได้เลย

ในมุมมอง หรือความคิดของเจ้าของเอกสารที่จะให้คนอื่นแปลเอกสารให้ หรือจ้าง หรือวานให้ใครแปลให้ ก็พึงตระหนักในความยุ่งยากตรงนี้เอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา ราคาค่าแปล หรือแม้แต่การแปลที่ผิดพลาดหรือพลั้งเผลอที่ขาดความรอบคอบไปบ้าง หรือคิดไม่ถึงในความหมายบางแง่บางมุมของแต่ละคำ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ไขว้เขวไปได้ อาจทำให้ยุ่งยากที่จะถ่ายทอดหรือตีความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งได้ยาก


คำศัพท์ที่ แอนดรูว์ บิ๊กส์ นำมาเสนอในความหมายว่า เกรงใจ ในหน้า 2-13 ได้แก่

Consideration
Considerate of
Empathy
Deference
Put (somebody) out : รบกวนใครสักคน
Be afraid of
Think of
Don’t want to bother him / her
เป็นต้น

ส่วนตัวอย่างการใช้คำที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ต้องไปดูในหนังสือเล่มดังกล่าวเอาเอง (และขอออกตัวเอาไว้ตรงนี้ด้วยว่า ผู้เขียนบทความนี้ไม่มีเจตนาจะเป็นหน้าม้า ไม่ว่าในแง่มุมหนึ่งแง่มุมใดทั้งสิ้น และก็ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับหนังสือเล่มดังกล่าวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่ถ่ายทอดความยากในการหาคำที่ตรงประเด็นให้พวกเราได้รับรู้กันทั่วไปได้ดีอย่างมากๆ จึงเห็นเป็นการสมควรที่ต้องนำมากล่าวถึง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ และมีเป็นตัวเป็นตนให้เห็นจริงได้ รวมทั้งแอนดรูว์เองเป็นทั้งเจ้าของภาษาอังกฤษ (ชาวออสเตรเลีย) และยังเป็นผู้ใช้ภาษาไทยได้ดี ถึงขนาดได้รับรางวัลอีกด้วย จึงน่าจะนำมายกเป็นตัวอย่างว่า แม้แต่ คนเก่งๆอย่างเขาก็ยังหนักใจกับการแปลให้ตรงประเด็นในเรื่องบางเรื่อง หรือในสถานการณ์บางอย่าง

สำหรับตัวอย่างการแต่งประโยค การใช้ที่ถูกสถานการณ์อย่างไรนั้น ต้องไปดูในหนังสือเล่มดังกล่าวด้วยตัวท่านเอง เพราะถ้ายกมากล่าวทั้งหมดจะทำให้เขาขายหนังสือไม่ได้ หรือจะกลายเป็นการคัดลอกข้อความของเขามาตีแผ่ โดยไม่ได้รับอนุญาต จะกลายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเขาได้ และที่กล่าวมานี้ ขอชมเฉพาะหัวข้อ “เกรงใจ” ของเขาเท่านั้น ไม่ได้รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ถือว่าน่าอ่านมากเลย อ่านแล้วน่าเก็บไว้เป็นอุทาหรณ์ในการหาคำแปลที่ตรงประเด็นสำหรับคำบางคำนั้นยากมาก


*********************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า
5 March 2008

http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com