Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Thai herbal crispy curl เขาหมายถึงอะไรแน่

WRP: Thai herbal crispy curl

Thai herbal crispy curl


Thai herbal crispy curl คืออะไรแน่?

 

Thai herbal crispy curl : ครองแครง ของบริษัทแห่งหนึ่ง เขาใช้คำนี้ ซึ่งถ้าจะแปลเป็นไทยให้ตรงตัวหนังสือ จะได้ว่า สิ่งที่โค้งงอกรอบเป็นสมุนไพรไทย / ตัวโค้งงอสมุนไพรไทยกรอบ อะไรทำนองนี้ นี่แปลแบบเอาใจเจ้าของขนมเขาแล้วนะ จะแปลว่า ขนมก็ไม่กล้าใช้ว่าขนม เพราะไม่มีคำที่พอจะบอกว่าเป็นขนมเลย อย่างน้อยมีคำว่า sweet / salty / spicy / snack อะไรสักอย่างก็พอจะบอกว่าเป็นขนมหน่อย แต่นี่เขาบอกว่า ตัวโค้งที่กรอบเป็นสมุนไพรไทย จะเป็นยาแผนโบราณหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้

 
ถ้าจะพูดว่า

Thai herbal, crispy and curled snack จะไม่ดูดีกว่าหรือ

สำหรับคำว่าครองแครงคำนี้ มีพจนานุกรมบางเล่ม ใช้คำว่า


sweet calms in the shell :-ในความหมายว่า ครองแครงกรอบ
calms shell delight :-ครองแครงกะทิ




ทั้งสองคำนี้ รับรองได้ว่าฝรั่งฟังแล้ว เป็น "งง" แปลมาได้ยังไง มันคนละครองแครง

มัน ไม่ใช่หอยแครงแท้ๆแต่อย่างไร และก็ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหอยหรือเปลือกห้อยแครงเอามาเข้าสูตรทำขนมนี้ แต่อย่างไรเลย เป็นเพียงตั้งชื่อเพราะว่ามีรูปร่างเหมือนหอยแครงเท่านั้น แต่มันเป็นขนมกรอบที่ทำขึ้นเป็นรูปร่างของเปลือกหอยแครงเท่านั้น

ถ้าจะแปล คำ

sweet calms in the shell :-จะหมายความว่า หอยกาบหวานในเปลือกหอยเชลล์

ถ้าจะใช้คำให้มันดูว่าเป็น ขนมมีรูปร่างเปลือกหอยแครงนั้นน่าจะเป็น

crispy snack in shape of shell / crispy snack in shell shape / shell-shaped crispy snack / crispy snack with shape of shell

ก็น่าจะดูดีกว่า ส่วนคำ

snack :-หมายถึง ของกินเล่น ของขบเคี้ยว ขนมขบเคี้ยวยามว่าง

Jcampa-เจแคมป้า
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

การเรียนภาษาอังกฤษในไทย

WRP: การเรียนภาษาอังกฤษในไทย

การเรียนภาษาอังกฤษในไทย

การเรียนภาษาอังกฤษของไทย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 รายการ ชีพจรโลก ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น พร้อมพิธีกรรับเชิญ ซึ่งได้แก่คุณ Chris Delivery (ผู้จัดรายการภาษาอังกฤษคืนวันศุกร์ช่อง 5 ) ครูเคต (ปรียา มุสิกพงษ์ เจ้าของโรงเรียนสอนภาษา) และคุณ Golf จำชื่อไม่ได้ ผู้ชายที่เป็นผู้จัดรายการฟุตฟิตฟอร์ไฟว์ (ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย) ทางคุณสุทธิชัยถามว่า ทำไมคนไทยจึงไม่เก่งภาษาอังกฤษ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในแถบเอเซียเราแพ้เขาทั้งนั้น พร้อมกับยกหนังสือขี้นมาสองเล่ม และถามว่าหนังสือพวกนี้พิมพ์ออกมาแต่ละปีมากมายหลายเล่มจะช่วยไม่ได้เชียวรึ


พิธีกรรับเชิญต่างเห็นพร้องต้องกันว่า ประเทศไทยเรียนเพื่อสอบให้ได้คะแนนจากอาจารย์ผู้สอนเท่านั้น ไม่ได้เรียนไปเพื่อใช้งาน ครูเคตเสริมว่า ลูกศิษย์ของเธอสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันการศึกษาที่พวกเขาเรียนมาได้ 4 หรือ A แต่ปรากฎว่าภาษาอังกฤษของเขาแทบใช้ไม่ได้เลย พูดก็ไม่ได้ อ่านก็ไม่ได้ แปลก็ไม่เป็น (ตรงนี้คงไม่ต้องถามว่าได้มาอย่างไร คนที่เป็นนักเรียน นักศึกษามาก่อนคงพอจะเดาได้ว่าพวกเขาทำคะแนนได้อย่างไร พฤติกรรมบางอย่างถูกใจอาจารย์ผู้สอนก็ได้คะแนนพิศวาทไปแล้ว เขียนไมโครฟิล์มเข้าไปลอก โยนหัวโยนก้อย ใช้ตากราดมองเพื่อนๆรอบข้าง ครูเก็งข้อสอบให้ ตรงไหนครูตอกย้ำก็จำเอาไว้ หรือไม่ก็ไปเรียนติววิชาเพื่อไปเก็บเอาเฉพาะคำตอบ ว่าถ้าถามอย่างนี้ ต้องตอบอย่างนี้ หรือครูคุมสอบไม่เข้มงวดปล่อยให้ผู้เข้าสอบเป็นอิสระเอาหนังสือเข้าไปลอก ปล่อยให้ถามกันได้ อะไรทำนองนี้ ตรงนี้ครูเคตไม่ได้พูด แต่ผู้เขียนเสริมให้ เพราะเคยเห็นมามากต่อมาก พอตอบถูกตรงกับใจครูก็ได้คะแนนมากๆ)

คนที่ได้คะแนนมากๆ (ตรงนี้พูดถึงผู้คนส่วนมาก ส่วนคนที่เรียนจริง รู้จริงก็มีแต่เป็นส่วนน้อย) ก็เลยถือว่าเป็นคนเก่งของห้องไป การศึกษาของไทยมันก็ผูกติดอยู่กับตัว A หรือ 4 แค่นี้แหละถึงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แปลไม่เป็น รวมไปถึงคิดเลขไม่เป็น ตามที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ว่านักเรียนจบ ป4 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ บวก ลบ คูณ หารไม่เป็น ทั้งที่เป็นเด็กใน กทม। ด้วยซ้ำ แต่จบออกมาได้ เพราะเขาเรียนเพื่อเอาแค่คะแนน ไม่ได้เรียนเอาความรู้เพื่อใช้งาน พวกเราให้ความสำคัญกับคะแนน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เพื่อใช้งาน ใช้ประโยชน์

จำได้ว่ามีอยู่ปีหนึ่งในรายการ ถึงลูกถึงคน ของ คุณสรยุทธ์ เชิญผู้ที่สอบเอนทรานซ์ที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งแต่ละสายมาสัมภาษณ์ แต่ละคนเล่าว่าพวกเขาเรียนกวดวิชามาตั้งแต่ ม5 พวกเขาเรียนสายวิทย์ ผู้ที่สอบได้คะแนนอันดับหนึ่งดังกล่าว ถูกป้อนคำถามว่าจะเรียนต่อคณะอะไร คนหนึ่งตอบว่าจะเรียนต่อ คณะรัฐศาสตร์ อีกคนหนึ่งจะต่อ นิติศาสตร์ คนที่ได้คะแนนระดับสูงสุดของประเทศทั้งที่เรียนสายวิทย์มา ประหลาดที่ว่ามาเลือกเรียนคณะที่ไม่ได้ใช้ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ แต่ไปเลือกเรียน วิชาที่เป็น Qualitative หรือในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นเชิงบรรยาย เป็นการเรียนแบบ แบบท่อง ไม่ได้ใช้วิชาการที่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์อย่าง คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ หรือที่ไม่มีการบังคับต้องเรียนภาษาอังกฤษ ด้วย

ที่ตั้งข้อสังเกตตรงนี้ก็เพราะว่าคนที่เรียนสายวิทย์ส่วนมาก คือผู้ที่มุ่งหวังที่จะเรียนโดยตรงทาง หมอ วิศวกรรมศาสตร์ หรือวิชาที่ยากๆที่ผู้คนทั่วไปที่ความรู้ไม่ดีพอ คะแนนไม่ถึงเข้าเรียนไม่ได้ ตรงนี้ก็น่าคิดว่า มันเกิดอะไรขึ้นจึงกลายเป็นการผิดคาดไปได้อย่างนี้ หรือว่าเกิดผิดพลาดการให้คะแนน หรือเกิดฟลุคอะไรจึงเป็นอย่างนี้

แค่นี้ก็พอสรุปได้แล้วว่า การประเมินผลการศึกษาาของไทยไม่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือพูดง่ายๆว่าผิดไปมากแล้ว มัวแต่มาเห่อหอมอยู่กับการได้คะแนนดีๆ แต่ไม่มีความรู้เลย ตลกสิ้นดี ความรู้จอมปลอมหลอกลวงคนไทยมาทั้งชาติกี่ปีแล้วก็ไม่รู้ วัดกันอยู่ตรงที่คะแนน ปริญญาโท ปริญญาเอก โดยที่ไม่ได้ดูที่ความรู้ ความสามารถ ประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้งาน หรือเรียนมาแล้วมีความรู้จริงและสามารถเอามาใช้งานได้จริง

เชื่อไหมว่าในระหว่างที่มีการอภิปรายในประเด็นดังกล่าว จะมีคนส่งข้อความขึ้นหน้าจอ (Message) มาตลอด ว่า เรียนมาเป็นสิบๆปีก็แค่นี้ไม่มีอะไรดีเลย จบปริญญาตรีก็พูดไม่ได้ จบปริญญาโทก็พูดไม่เป็นเลย ผู้เขียนเองเคยเจอนักเรียน นักศึกษาที่มาว่าจ้างแปลงานให้ รวมทั้งแปลทรานสคริปต์ เห็นเขาได้คะแนนภาษาอังกฤษ 4 หรือ A เลยถามเขาว่าทำไมไม่แปลเอง บางคนตอบว่าไม่ถนัดแปล บางคนบอกว่าสอบแล้วลืมแล้ว บางคนบอกว่าทำข้อสอบกับใช้งานมันคนละอย่างกัน จึงทำให้เกิดคำถามต่อไปอีกว่า แล้วพวกเราจะหลับหูหลับตาเรียนไปทำไม ในเมื่อเรียนไปก็แค่ให้ได้แค่คะแนนจากอาจารย์เท่านั้น หามาตรฐานที่แน่นอนไม่ได้ ใช้งานไม่ได้ คำถามจึงมีว่าระบบการเรียนการสอนทางภาษาควรแก้ไขปรับปรุงใหม่ไหม


อนึ่ง ท่านสามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้เพิ่มเติม ในบทความที่เป็นคำนำของหนังสืิอ ชื่อบทความว่า "Preface of The Dictionary of Names, Positions, Occupations, and Common Phrases" ใน Blog นี้ และในอีก Blog นั่นคือ http://worldway.multiply.com/



Jcampa-เจแคมป้า
12 กรกฎาคม 2550

[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

WRP: ประโยคนี้ผิดตรงไหน

WRP: <strong>ประโยคนี้ผิดตรงไหน</strong>


ประโยคนี้ผิดตรงไหน

ข้อความตรงนี้อยู่ในหนังสือเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนเอาไว้ปกหลัง แบบเท่ห์ๆ โดยเขียนไว้ว่า

Good community begins with each family have the good education, good job, good system of political and good social welfare to all class of people etc.

เขาแปลไปในทำนองว่า (เนื่องจากคำแปลของเขาจำไม่ค่อยได้ แต่ก็มีความหมายไปในลักษณะ) ที่ว่า :-สังคมดีเริ่มที่ครอบครัวมีการศึกษาที่ดี งานที่ดี ระบบการเมืองที่ดี และสวัสดิการทางสังคมที่ดีให้กับผู้คนทุกชั้น อะไรทำนองนั้น

แต่ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นไปดังกล่าวนั้น เช่น :-

Each family จะใช้กับ have ได้ยังไง เพราะมันเอกพจน์บุรุษที่สาม เห็นกันชัดๆอยู่แล้ว แต่จะอย่างไรก็ตาม ข้อความตรงนี้ไม่มีสิทธิ์จะมี finite verb : หรือกริยาสำคัญ หรือกริยาแท้ของประโยคได้ ถึงสองตัวได้ในประโยคเดียวกัน นอกจากจะทำ have ให้อยู่ในรูปของ infinitive หรือ Gerund หรือจะทำเป็นอนุประโยคไป หรือวลีไป ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความหมายที่จะพูดนั้นว่า หมายถึงอะไรด้วย

ถ้าอย่างข้อความข้างต้น ตามที่กล่าวมานั้น เขาหมายถึง

แต่ละครอบครัวที่มีกาศึกษาดี ซึ่งเขากำหนดคำเอาไว้แล้วว่า เป็น the good education คือ การศึกษาที่ดี

ทีนี้เรามาพิจารณาเฉพาะความหมายตรงนี้ก่อน ตรงที่ว่า

แต่ละครอบครัวได้รับการศึกษาที่ หรือมีการศึกษาที่ดี เราจะพูดว่าอย่างไรบ้าง :-

1. Each family that has a good education : แต่ละครอบครัวซึ่งหรือที่มีการศึกษาที่ดี
2. Each family having a good education : ในความหมายเดียวกันคือ แต่ละครอบครัวซึ่งหรือที่มีการศึกษาที่ดี ตรงนี้ทำเป็นวลีจากการลดรูป จากข้อความในข้อ 1 ข้างต้นนั้น
3. Each family with a good education : แต่ละครอบครัวที่มีการศึกษาที่ดี
4. Each family which is well educated หรือ each well-educated family : ครอบครัวที่ได้รับการศึกษามาดี อย่างนี้เป็นต้น

ทีนี้ เพื่อให้เข้ากับข้อความอื่นที่เขาให้มา หรือที่เขาเขียนเอาไว้ ในประโยคต้นตอดั้งเดิมของเขา จะเลือกเอาข้อ 1. ถึงข้อ 3. ก็ย่อมได้ นั่นคือ :-

Good community begins at each family that has a good education, good job, good system of political and good social welfare to all class of people etc


Good community begins at each family having a good education, good job, good system of political and good social welfare to all class of people etc


Good community begins at each family with a good education, good job, good system of political and good social welfare to all class of people etc.

ที่กล่าวมานั้นแค่ตรงความหมายที่ว่า แต่ละครอบครัวที่มีการศึกษาที่ดี และรวมไปถึงงานที่ดี เท่านั้น
ส่วนตรงที่ว่า good system of political นั้นก็ ผิดทั้งเพ เพราะมีที่ไหนเขาเอา คำคุณศัพท์มาทำเป็นกรรมของคำบุรพบท of ยกเว้นสำนวนบางคำ เช่น:-

I don’t know for sure, take it for granted เป็นต้น

ดังนั้น ข้อความตรงนี้ good system of political ต้องเปลี่ยนเป็น good political system หรือ good system of politics ซึ่งคำว่า

politics นี้อาจจะหมายถึง การเมือง วิชาการเมือง หรือการแสวงหาตำแหน่งหรือการมีอำนาจด้วยวิธีการใช้เลห์กล หรือเลห์เพทุบาย ที่เขาพูดกันว่า ไม่ได้ด้วยเลห์ก็ต้องเอาด้วยกล เหมือนพรรคการเมือง พรรคหนึ่งของไทยกำลังประพฤติตัวอยู่ขณะนี้ รัฐบาลจะทำอะไรก็หาว่าไม่ดีสักอย่าง แต่ถ้าเป็นผลประโยชน์ของตัวเองดีไปหมด อภิปรายในสภาก็ทำตัวเหมือนแก๊งโจรคอยก่อกวนให้เกิดเรื่อง เกิดปม เกิดประเด็นให้วุ่นวายทั้งสภา ทั้งที่เรื่องที่ยกขึ้นมาเป็นประเด็นไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหา สาระ หรือประเด็นที่กำลังอภิปรายกันอยู่เลย หรือถ้าไม่มีเรื่องอะไร ที่หาไม่ได้ ก็พาลเอาเรื่องส่วนตัว เรื่องครอบครัวของคณะรัฐบาลมาปั่นป่วนสภา ให้ยืดเยื้อ เสียเวลาไปเฉยๆ โดยไม่ได้นึกถึงผลประโยชน์หรือความเสียหายของประเทศชาติเลย ขอให้ข้าได้ พรรคข้าได้ ถือว่าดีไปหมด ถ้าอย่างนี้ ไม่ทราบประชาชนเขาหลับหูหลับตาเลือกเข้ามาทำไมก็ไม่ทราบได้ หรือว่า มีการซื้อเสียงกันมา?

ที่นี้กลับเข้าเรื่อง good system of political ต่ออีก ถ้าไม่ต้องการจะพูดอย่างที่กล่าวนั้น (good system of politics) จะพูดว่า good political system ก็ดี และจะกระชับอีกด้วย นั่นก็เป็นอีกจุดหนึ่ง

ทีนี้ มาดูต่อตรงที่ว่า and good social welfare to all class of people etc. ซึ่งอยู่ๆในภาษาไทยเขาแปลว่า และสวัสดิการทางสังคมที่ดีให้กับผู้คนทุกระดับ แต่ภาษาอังกฤษมันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะมันจะเกิดคำถามว่า สวัสดิการที่ดีนี้มาได้ยังไง ใครเป็นเป็นผู้ให้ เพราะ good social welfare ลำพังตัวมันเอง ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ที่จะเป็นผู้ให้อะไรกับผู้คนทุกระดับชั้นได้ มันต้องมีผู้จัดหามาให้ ซึ่งในที่นี้แม้จะไม่ได้ระบุเอาไว้ ย่อมหมายถึง รัฐบาล หรือผู้บริหารชุมชนนั้นๆ ข้อความภาษาอังกฤษตรงนี้ จึงผิดทั้งเพ

รวมทั้งตรง all class of people ก็ต้องเป็น all classes of people ด้วย

คนที่อ่านรู้เรื่องตรงนี้ ก็คือคนที่รู้ภาษาไม่จริง รู้เพราะเดาใส่ หรือเหมาเอาความหมายส่งเดชไปโดยไม่มีกฎเกณฑ์ หรือรู้ภาษาไม่จริง ที่ถูกจึงน่าจะเป็น

and good social welfare is made available to all classes of people, etc. หรือ
and when good social welfare is provided to all classes of people, etc.

เขาเขียนและแปลผิดๆเอาไว้ที่ปกหลัง เห็นแล้วนึกถึงคนที่อ่าน ว่าจะจำเอาของผิดๆไปใช้ ที่จริงควรแก้เป็น

A good community begins at each family that has a good education, good job, good political system and good social welfare, which is made available to all classes of people, etc. : แปลว่า ชุมชนที่ดีเริ่มด้วยแต่ละครอบครัวที่มีการศึกษาที่ดี งานที่ดี ระบบการเมืองที่ดีและสวัสดิการทางสังคมที่ดีจัดให้กับผู้คนทุกระดับ หรือจะพูดว่า

A good community begins at each family that has a good education, good job, good political system and good social welfare made available to all classes of people, etc. หรือจะพูดว่า

A good community begins at each family having a good education, good job, good political system together with good social welfare provided by the government to all classes of people, etc. : ชุมชนที่ดีเริ่มด้วยแต่ละครอบครัวที่มีการศึกษาที่ดี งานที่ดี ระบบการเมืองที่ดีพร้อมกับมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีจัดให้กับผู้คนทุกระดับโดยรัฐบาล หรือจะพูดว่า

A good community begins at each family having a good education, good job, good political system and when good social welfare is provided to all classes of people, etc. : ชุมชนที่ดีเริ่มด้วยแต่ละครอบครัวที่มีการศึกษาที่ดี งานที่ดี ระบบการเมืองที่ดีและเมื่อมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีที่จะถูกจัดหาให้กับ / ให้กับ / ที่จะให้แก่ผู้คนทุกระดับ หรือทุกชนชั้น

อย่างนี้ยังจะดูดีกว่า

อนึ่งในหนังสือเล่มดังกล่าว ในระหว่างที่เปิดดูอยู่นั้น เห็นมีผิดมากจนไม่ทราบจะอธิบายยังไงดี แม้แต่คำบุรพบท และคำสันธานยังใช้ไม่ถูกเลย ไม่ทราบว่าปล่อยออกมาได้ยังไง

3 March 2008

http://jcampa-newlook.blogspot.com/[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com

WRP: แม้แต่ชื่อหนังสือก็ยังผิด

WRP: แม้แต่ชื่อหนังสือก็ยังผิด

WRP: Globalization : โลกาภิวัฒน์

WRP: <strong>Globalization : โลกาภิวัฒน์ </strong>


วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

Globalization : โลกาภิวัฒน์ / Second hand smoker




Globalization : โลกาภิวัฒน์


แต่ก่อนจะมาลงเอยที่ความหมายนี้ได้ มีการใช้คำอื่นมาก่อนหลายคำ เช่น

โลกาวิวัฒน์ โลกาวัฒนา หรืออะไรอีกหลายคำจำไม่ได้ สุดท้าย ราชบัณฑิตยสถานบอกว่าไม่ถูกต้องจึงบัญญัติ

คำว่า โลกาวิวัฒน์ มาแทน จึงอยากตั้งข้อสังเกตไว้ว่าฟังข่าว อ่านข่าว ดูข่าว โดยเฉพาะจากสื่อมวลชน ซึ่งมีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่เว้นแต่ละวินาที การแปลข่าว การบัญญัติคำ เขาใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปไม่ การบัญญัติคำศัพท์บางที จะถือเอามาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เช่น

Second hand smoker เขาแปลง่ายๆว่า คนสูบบุหรี่มือสอง ทั้งที่เขาหมายถึง ผู้คนที่อยู่รอบข้างผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับผลกระทบจากผู้สูบบุหรี่โดยตรง เขาพูดยังกะว่าบุหรี่ สามารถสูบจนเบื่อแล้วทิ้งไป หรือส่งทอดให้คนอื่นไปสูบต่อได้เหมือนรถใช้แล้ว ทั้งที่สูบที่ก็เหลือแค่ก้นบุหรี่ หรือขี้บุหรี่ (ขี้เถ้าที่เกิดขึ้นหลังจากการไหม้จนหมด) เท่านั้น จะเป็นมือสอง มือสามไปได้ยังไง

บางครั้งแม้ว่าจะไม่ถูกต้องก็ดูเหมือนว่าถูกไปหมด เพราะไม่มีใครทักท้วง แล้วคำเหล่านี้ถูกนำมาประโคมเข้าหูผู้ฟังตลอดเวลาผิดก็เหมือนถูก จึงต้องใช้วิจารณญาณว่าควรจะนำมาใช้ หรือจะใช้อ้างอิงได้มั๊ย

ทำนองเดียวกันกับคำที่กำลังนิยมใช้กันอยู่คือ “ก้าวกระโดด” ไม่ทราบว่าก้าวยังไงถึงจะกระโดดได้ นอกจาก ก้าวออกมาแล้วหยุดจึงกระโดดต่อ ไม่เชื่อลองทดลองก้าวขาออกมาดู ไม่มีทางที่จะกระโดดได้ทันที เว้นแต่จะหยุดลง แล้วถึงกระโดดต่อ

ต่อมาอีกคำคือ “รุกคืบ” คำว่า “รุก” หรือ invade (to enter a region or a country so as to subjugate or occupy it ตามความหมายของ The NEW OXFORD Dictionary of ENGLISH) เพื่อเข้าไป
ในพื้นที่หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อเอาชนะหรือเข้าครองครองพื้นที่นั้นหรือประเทศนั้น)
(ส่วน to trespass หมายถึง รุกล้ำ หรือการบุกรุก เช่นเข้าไปในที่ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต)

ตามความเป็นจริงแล้วมันเป็นการรุก หรือบุกอย่างกระชั้นชิด ไล่ติดตามค่อนข้างจะเร็วอยู่ แล้ว แต่อยู่ๆมาบอกว่าได้แค่คืบ หรือทำให้มองออกว่า ค่อยๆเคลื่อน ค่อยๆรุกไปที่ละคืบ มันก็ยังไงอยู่ ที่จริงคำพูดพวกนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามจะอธิบายการต่อสู้ของกองทัพสหรัฐกับกองทัพหรือกองโจรอิรัคช่วงสหรัฐเข้าโจมตีอิรัคว่ามี ความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว แต่เขาใช้ว่ารุกคืบ




Jcampa-เจแคมป้า
12March 2008
http://jcampa-newlook.blogspot.com/
[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]
wrp.inbkk@gmail.com