Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Messrs. กับ Misses คืออะไร ใช้ยังไง?-Message of the Day – 3 December 2010 -Corrected / แก้ไขใหม่



Messrs. กับ Misses คืออะไร ใช้ยังไง?

Messrs. :=> คำนี้อ่านว่า เมซ-เซิส  เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส มาจากคำว่า messieurs หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยมากนัก แม้ว่าจะเคยเจอะเจอมาบ้าง ก็ดูออกจะงงอยู่ เพราะคำแปลในพจนานุกรม อังกฤษเป็นไทย อ่านแล้วไม่ค่อยจะชัดเจน ทำให้ไม่กล้าที่จะใช้ และไม่ค่อยจะมีใครถนัดที่จะใช้กันบ่อยนัก (เพราะความหมายไม่ค่อยชัดเจน) โชคดีหน่อย สำหรับบางคนที่นานๆได้เจอในจดหมายที่โต้ตอบกันส่วนมากทางธุรกิจ อย่าง เช่น:-  

Messrs. Robinson & Son, 
Messrs. Frimley Bros, 
Messrs. Coverdale & Co., 
Messrs. Ashley Bros.,
Messrs. R.M. Bradley & Son, 
Messrs. Law & Co.,
Messrs. Martin & Watson    

ตามตัวอย่างนั้น จะสังเกตได้ว่า เขาใช้คำ Messrs. นี้กับห้างหุ้นส่วน (Partnerships) หรือกับบริษัทต่างๆ (Companies) ที่ หัวจดหมาย ตรงมุมซ้ายด้านบน ซึ่งเป็น ที่อยู่ที่เขาเรียกว่า Inside Address (ที่อยู่บนหัวจดหมาย) ของบริษัทที่ส่งถึง หรือที่อยู่ของบริษัทที่รับจดหมายนั้น  ที่ น่าให้ความสนใจนั้น เขาจะใช้ Messrs.เฉพาะในกรณีที่ชื่อบริษัทเป็นชื่อคน (Personal names) และเป็นชื่อบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทจำกัด (คือบริษัทที่ไม่มีคำว่า limited ตามหลัง Co.) และจะไม่ใช้กับชื่อบริษัทที่ไม่ได้ใช่ชื่อคน 

ดูตัวอย่างอีกที เช่น:-   

Messrs. John & Co. หรือ   Messrs. Brown Bros.    

แต่จะไม่ใช้ Messrs. กับ John & Smith Ltd. เพราะเป็นบริษัทจำกัด  

ส่วนในกรณีที่มีคำนำหน้าชื่อเกี่ยวกับตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์ เขาจะไม่ใช้ Messrs นำหน้าชื่อนั้น เช่น:-
 
Sir John Smith & Co. อย่างนี้เป็นต้น    

หนังสือ ส่วนมากที่มีอธิบายเกี่ยวกับคำนี้ ส่วนมากจะพูดถึงแต่เฉพาะเรื่องที่ใช้เกี่ยวกับทางธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ในพจนานุกรมอังกฤษ เป็นไทย ที่ผู้เขียนมีอยู่ในมือขณะนี้ ก็อธิบายไว้ว่า เป็นคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งทางธุรกิจ หรืออีกเล่มให้ความหมายว่า นาย หรือ ท่านสุภาพบุรุษ เป็นคำเรียก คนฝรั่งเศส มักใช้ขึ้นหน้าจดหมายที่เขียนถึงบริษัท โดยย่อว่า Messrs. (คำแปลอันหลังนี้ ไม่ได้บอกชัดเจนลงไปว่าเขาไช้กันอย่างไร และก็ไม่บอกถึงมีข้อยกเว้นเอาไว้)   เห็นแล้ว ทำให้คนทั่วไปอย่างเราๆ ไม่กล้าใช้คำนี้กัน ที่จริงมันก็คือรูปพหูพจน์ธรรมดาของคำ Mr. นั่นเอง เช่น:-                 

The Messrs. Jones and Smith will be ready to meet you here :-ทั้งมิสเตอร์โจนส์กับมิสเตอร์สมิธพร้อมที่จะมาเจอคุณที่นี่อยู่แล้ว   ซึ่งก็เป็นคำพูดธรรมดาทั่วไปนี่เอง แทนที่จะใช้ว่า                

Mr. Jones and Mr. Smith will be ready to meet you here. เขากลับใช้ Messrs. แทน Mr. สองครั้ง อย่างนี้เป็นต้น   

นอกจากนี้ยังมีคำ:-

Misses :=> อีกคำหนึ่ง ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า Miss สังเกตว่าคำ Miss กับ Misses นี้จะไม่จุด (. ) หลัง ทั้งสองคำ ซึ่งแปลว่า เด็กหญิง  หรือนางสาว   หรือคำนำหน้านางงามในการประกวดความงาม นั่นเอง ตัวอย่าง เช่น:-

 We saw the Misses Alice and Kate yesterday :-เมื่อวานนี้เราเห็นทั้งนางสาว Alice  กับ Kate   

Mrs. อ่านว่า มีซซิซ ซึ่งมาจาก  mistress ที่อ่านว่า มีซ-ทเร็ซ  แปลว่า นาง เช่น :-    

Mrs. Kate Smith Mrs. Chopin   เป็นต้น แต่ก็แปลก ที่ฝรั่งเขาไม่มีรูปพหูพจน์ของคำว่านี้ (There is no plural for Mrs.)              
***************************************************************
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม Blogs ได้ที่
โดยคลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด
หรือจะคลิ๊ก แท็ป กล่องข้อความเข้าเพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )
ส่วน ในบล๊อก
ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า (Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก "บทความที่ใหม่กว่า"
หรือ "บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa : วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 3 December 2010
สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร
ติดต่อได้ที่  0877055958
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com


วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

That is the way the nature is (หัวข้อที่ 24). – Message of the Day-30 October 2010


(¯`*•.(¯`*•. Tathata (it is what it is).•*´¯).•*´¯)
That is the way the nature is.

บทความนี้ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
ซึ่ง เป็นอีกลีลาหนึ่งในการนำเสนอวิธีการฝึกปฏิบัติธรรม ด้วยการเลือกใช้มุมมองเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการพิจารณาค้นหาข้อเท็จจริง หรือสัจธรรม ที่หาอ่านได้ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นการฉีกแนว คิดนอกกรอบแตกต่างไปจากคำแนะนำที่มีการกล่าวถึงกันทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใฝ่รู้ เสาะหาแนวทางในการปฏิบัติธรรมอีกแง่มุมหนึ่ง
ซึ่งเขียนโดย
อุบาสิกา (อบ.) ละมัย จุลคำภา (Female Ascetic Lamai Chulkampha)
(A female devotee who practices self-denial as a spiritual discipline)
แห่งสำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง
36 หมู่ 11. เกาะพลับพลา
. เมือง จ. ราชบุรี 70000
จะนำเสนอในบล็อกต่อไปนี้ จนจบเล่ม พร้อมทั้งต้นฉบับ ภาษาไทยและคำแปล อังกฤษ
สามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งที่
Visit us at:
และ
หมายเหตุ: [ข้อความที่ทำเป็นตัวเอน พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ ทำไว้เพื่อให้สะดวกกับผู้อ่าน หากท่านที่เข้าใจความหมายคำหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปพะวงอ่าน คำอธิบายความหมายที่อยู่ในวงเล็บดังกล่าว ให้ข้ามข้อความตรงนั้นไปเลย จะได้อ่านไม่ขาดตอน ไม่ทำให้ขาดความกลมกลืนในเนื้อหา ที่อธิบายไว้ก็เพื่อให้ชาวต่างชาติ หรือคนที่ไม่สันทัดกับคำหรือข้อความหลักเหล่านั้น จะได้เข้าใจความหมายถูกว่า ทางพระท่านหมายถึงอะไรได้บ้าง]
------25------
Understand Rupha Nama (the matter and the mind) and look at them in order to know them convincingly.
- Commencing from Paticcasamuppada (the law of causation; actions being performed subject to one another to take place step by step), which mentions to Avitcha (the lack of essential knowledge; ignorance), not knowing Rupha (matter), or neither knowing substance nor energy existing in the nature. Hence, there is an act of Kamma (good or bad deed; a volitional action) at the time there is a thing happening to strike it.
- It is stated that Avitcha (the lack of essential knowledge; ignorance) is a factor causing the Sankhara (the world of phenomena) to take place.
- The Sankhara (the world of phenomena) is any act causing things to happen under the influence of the lack of knowing about the traces of things that how things have been up to, or not knowing that the Sankhara (the world of phenomena) consists of Moha Avitcha (ignorant delusion).
- Hence, in order to know what is happening with Rupha Nama (the matter and the mind), one must observe and study the aspects of Rupha Nama (the matter and the mind) clearly on both reasons of their origin and end, together with the phenomena that are really appearing at hand (see 5, 8, 26, 27).
- It is said that Rupha Dhatu (matter of elements) consists of soil, water, wind, and fire, combining together to show Rupha (the matter) and Nama (the mind), causing them to take place (because this thing has existed, this thing therefore exists). They scatter and separate from each other, then become the broken Rupha (matter) and the vanished Nama (mind). The emptiness takes place, at where it has initially existed, and it is the place where soil, water, wind and fire impel one another, exhibiting the states of that Rupha (matter) and Nama (mind).
(ต้นฉบับภาษาไทย)
เข้าใจรูปนามและดูให้รู้เห็นจริง
- เริ่มต้นปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันเกิดเป็นขั้นเป็นตอน) กล่าวถึง อวิชชา ไม่รู้จักรูปหรือสสารและพลังงานที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ จึงเกิดการกระทำกรรมตามวาระที่มีสิ่งกระทบมา
- ท่านบัญญัติไว้ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
- สังขารคือการกระทำต่างๆไปตามอำนาจของความไม่รู้เค้าเงื่อนของสิ่งต่างๆ ว่ามีความเป็นมา เป็นไปอย่างไร เป็นสังขารประกอบด้วยโมหะอวิชชา
- ดังนั้นเพื่อให้รู้ความเป็นมาเป็นไปของรูปนาม จึงต้องสังเกตศึกษาในเรื่องรูปนาม ให้เป็นที่กระจ่างชัด ทั้งเหตุผลต้นปลาย และอาการที่ปรากฏอยู่จริงเฉพาะหน้า (ดู 15,8,26,27)
- ท่านแสดงไว้ว่า รูปธาตุประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ จับกลุ่มกันแสดงรูปและนามให้ปรากฏขึ้นมา (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี) แล้วก็แตกกระจาย แยกย้ายออกจากกัน เป็นรูปแตกนามดับ เหลืออยู่แต่ความว่างเปล่า ที่เป็นอยู่ก่อนที่ ดิน น้ำ ลม ไฟจะดูดผลักกันแสดงรูปและนามนั้น
------0------
[แปลโดย วีระพล จุลคำภา - Veeraphol Julcampa (VJ.) สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งแบบใด เพื่อนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จะ เชื่อหรือไม่ว่า ดอนเมือง (Donmueang) คำเดียวแต่ละหน่วยงานราชการเขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน – Message of The Day – 26 July 2012



จะเชื่อหรือไม่ว่า ดอนเมือง (Donmueang) คำเดียวแต่ละหน่วยงานราชการเขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน – Message of The Day – 26 July 2012







สนามบินนานาชาติดอนเมือง เขาใช้ว่า =>  Donmueang International Airport (มีตัว “a” อยู่หลัง "e")


ขณะที่ ป้ายตามถนน คำว่า ดอนเมือง ที่เป็นภาษาอังกฤษ เขาเขียนเป็น  => Donmuang (ไม่มีตัว “e”)  และ

ขณะเดียวกัน ป้ายชื่อ สำนักงานเขตดอนเมือง ใช้ว่า Donmueng (ไม่มี “a”) โดยเขียน

ว่า =>     Donmueng District Office 

ทั้งที่สองหน่วยงานเป็นหน่วยงานราชการด้วยกัน ถ้าจะเขียนให้ถูกต้องตาม ราชบัณฑิตสถาน คำว่า

เขตดอนเมือง จะเขียนว่า => Don Mueang District

สังเกตว่าคำว่า ดอนเมืองในภาษาอังกฤษ เขาให้สะกด และเขียนแยกกันว่า => Don Mueang  (มีตัว a อยู่หลัง e)  และสังเกตว่า Don กับ Mueang เขียนแยกกัน


ปัญหา มันอยู่ที่ เวลาเราเอาเอกสารไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูต เขาจะไม่ยอมรับ จะถูกตีกลับให้ไปแก้ไขใหม่ ทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดความผิดพลาด ล่าช้า ให้ถือตามราชบัณฑิตยสถาน ทั้งนี้จะรวมไปถึงหนังสือที่เป็นทางการต่างๆด้วย เวลาเกิดปัญหา มีเรื่องมีราวมา เขาจะใช้การเขียน การสะกดตามราชบัณฑิตเป็นหลัก


ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชม Blogs ได้ที่
โดยคลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป กล่องข้อความเข้าเพื่อตรวจดูหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละหน้าของ Blog ว่าท่านสนใจดูเรื่องอะไรบ้าง (สำหรับ บล็อก http://worldway.multiply.com )

ส่วน ในบล๊อก


ท่านสามารถเลือกเปิดแต่ละหน้า (Page) ของบล๊อกได้ด้วยการคลิ๊ก "บทความที่ใหม่กว่า"  หรือ "บทความที่เก่ากว่า"
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa : วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 26 July 2012

สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร

ติดต่อได้ที่
Email: myvictory32@hotmail.com
CC: victory267@yahoo.com