Jcampa

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าเยี่ยมชม และออกความเห็น แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

You are cordially invited to join sharing your experience here.

เชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันตรงนี้


ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

That is the way the nature is (หัวข้อที่ 29). – Message of the Day-30 December 2010




That is the way the nature is (หัวข้อที่ 29). – Message of the Day-30 December 2010 - CLICK HERE TO SEE BOTH THAI & ENGLISH



(¯`*•.(¯`*•. Tathata (it is what it is).•*´¯).•*´¯)

That is the way the nature is.



บทความนี้ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

ซึ่ง เป็นอีกลีลาหนึ่งในการนำเสนอวิธีการฝึกปฏิบัติธรรม ด้วยการเลือกใช้มุมมองเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการพิจารณาค้นหาข้อเท็จจริง หรือสัจธรรม ที่หาอ่านได้ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นการฉีกแนว คิดนอกกรอบแตกต่างไปจากคำแนะนำที่มีการกล่าวถึงกันทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใฝ่รู้ เสาะหาแนวทางในการปฏิบัติธรรมอีกแง่มุมหนึ่ง

ซึ่งเขียนโดย

อุบาสิกา (อบ.) ละมัย จุลคำภา (Female Ascetic Lamai Chulkampha)

(A female devotee who practices self-denial as a spiritual discipline)

แห่งสำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง

36 หมู่ 11 ต. เกาะพลับพลา

อ. เมือง จ. ราชบุรี 70000

จะนำเสนอในบล็อกต่อไปนี้ จนจบเล่ม พร้อมทั้งต้นฉบับ ภาษาไทยและคำแปล อังกฤษ

สามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งที่

Visit us at:

http://worldway.multiply.com/

และ

http://jcampa-newlook.blogspot.com/



หมายเหตุ:

[ข้อ ความที่ทำเป็นตัวเอน พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ ทำไว้เพื่อให้สะดวกกับผู้อ่าน หากท่านที่เข้าใจความหมายคำหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปพะวงอ่าน คำอธิบายความหมายที่อยู่ในวงเล็บดังกล่าว ให้ข้ามข้อความตรงนั้นไปเลย จะได้อ่านไม่ขาดตอน ไม่ทำให้ขาดความกลมกลืนในเนื้อหา ที่อธิบายไว้ก็เพื่อให้ชาวต่างชาติ หรือคนที่ไม่สันทัดกับคำหรือข้อความหลักเหล่านั้น จะได้เข้าใจความหมายถูกว่า ทางพระท่านหมายถึงอะไรได้บ้าง]





------29------





Observe Ayatana (the senses) striking one another.



- The state of Paticcasamuppada (the law of causation; truths subject to one another to take place step by step) will continue its processes as follows:-



Avitcha (the ignorance, lack of knowledge) => Sankhara (the world of phenomena) =>

Vinyana (consciousness) => Nama Rupha (mind and matter) => Salayatana (six senses) =>

Phassa (contact) => Vedhana (sensation) => Tanha (desire) => Upaddana (imagination) =>


[ Bhoph (becoming): Jati (birth); Jara (old age; decay); Marana (death).

Soka (sorrow; grief); Parideva (lamentation).]



- Take, for example; sound and ears relate to each other, they link together then become Phassa (a contact). When the ears, sound, and Vinyana (consciousness) meet one another, they cause us to know what is going on, the same as what the accepted external assumption is, together with causing us to know the phenomenon of the state of Paramuttha (ultimate truth) as well.

- Every time the flows coming to meet each other they must exhibit a phenomenon of the state of Paramuttha (ultimate truth) internally, they are striking, bouncing, vibrating, fluttering and fading out, and they become calm and quiet.

- The impact among Salayatana (the six senses) causes one to know their meanings in accordance with the accepted assumption, together with causing one to know about the reaction of Paramuttha (ultimate truth) concealing in Rupha Nama (matter and mind) as well. This is an important lesson which person seeking knowledge of Sacca (the truth) must practice it fully with any possible tricks that can be exercised conveniently. He / she will then understand the nature visibly and profoundly.





(ต้นฉบับภาษาไทย)



สังเกตอายตนะกระทบกัน



- สภาวะปฏิจจสมุปบาทสืบต่อกันดังนี้:-

อวิชชา => สังขาร => วิญญาณ => นามรูป => สฬายตนะ => ผัสสะ => เวทนา => ตัณหา => อุปาทาน => [ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ]

- ยกตัวอย่าง เสียงกับหูมาต่อกัน เชื่อมประสานกันเป็นผัสสะ คือ การประจวบกันของ หู-เสียง-วิญญาณ ทำให้รู้เรื่องราวตามที่สมมุติในภายนอก พร้อมกับรู้อาการที่เป็นปรมัตถ์อยู่ภายใน

- การไหลมาหากันทุกครั้ง ต้องแสดงอาการปรมัตถ์อยู่ภายใน คือกระทบ กระเด็น สั่นสะเทือน พลิ้วหาย สงบสงัด

- การ กระทบกันของสฬายตนะ รู้ความหมายตามสมมุติ พร้อมกับรู้ปฏิกริยาที่เป็นปรมัตถ์แฝงอยู่ในรูปนาม เป็นบทฝึกหัดที่สำคัญที่ผู้ใฝ่รู้สัจจธรรมต้องปฏิบัติเต็มที่ (Practice) ด้วยอุบายที่ตนถนัด จึงจะรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมชาติได้ลึกซึ้ง





------0------



[แปลโดย วีระพล จุลคำภา - Veeraphol Julcampa (VJ.) สงวน สิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งแบบใด เพื่อนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

WRP or Jcampa (เจแคมป้า): การเรียนภาษาอังกฤษในไทย

WRP or Jcampa (เจแคมป้า): การเรียนภาษาอังกฤษในไทย

Account executive :-คืออะไร?




Account executive :-คืออะไร ใช้ยังไง?-Message of the Day – 29 December 2010 – CLICK HERE TO SEE BOTH THAI & ENGLISH

Account executive :-คำนี้คิดว่าจะไม่พูดถึง แต่ก็มีเรื่องให้นำมากล่าวถึง เพราะมีบริษัทต่างชาติแห่งหนึ่ง ไปจ้างศูนย์แปลแห่งหนึ่ง ไม่ทราบว่าแปลอีท่าไหน แปลไปแปลมาทำให้ความหมาย เปลี่ยนไป ซึ่งตามปกติตำแหน่งนี้จะทำงานประจำอยู่กับฝ่ายหนึ่ง แต่กลับไปรายงานขึ้นอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง พูดง่ายๆว่า ตามความหมายที่เขาแปลออกมานั้น กลายเป็นว่า ตำแหน่งนี้ถูกย้ายไปอยู่กับอีกแผนกหนึ่งโดยอัตโนมัติ เป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ! ทำเอาเจ้าของงานที่นำเอาเอกสารชุดนี้ไปจ้างแปล โวยวายกันใหญ่ จำเป็นต้องให้ศูนย์แปลแก้ไขให้ใหม่

ไม่ทราบว่าเขาลงเอยกันยังไง แปลให้ใหม่ด้วยการให้ความหมายใหม่ หรือว่าทับศัพท์คำนี้ไปเลย ไม่ทราบได้ เอกสารสองสามหน้าเขาคิดกัน เก้าพันห้าร้อยบาท
แน่นอนว่าเมื่อแปลผิดที่หนึ่งก็ย่อมส่งผลถึงข้อความส่วนอื่นให้ผิดไปด้วย จะเป็นที่ไหนบ้าง คงไม่ต้องไปสาธยายเพิ่มขยายความให้มากไปกว่านี้ เพราะประเด็นที่ต้องการนำมากล่าว คือความหมายของคำๆนี้ ไม่ได้แปลตามคำตามที่เห็นนั้นว่า ผู้บริหารฝ่ายบัญชี หรือผู้บริหารเกี่ยวกับบัญชี ก็หาไม่

ที่จริงจะหาคำตอบที่ถูกต้องได้ ในหนังสือ

Dictionary of Names, Positions, Occupations in English and Common Phrases

ชื่อภาษาไทยคือ
ประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับชื่อ ตำแหน่ง อาชีพ ในภาษาอังกฤษและวลีต่างๆ ที่ใช้งานกันทั่วไป เขียนรวบรวมและเรียบเรียงโดย VJ (Veeraphol Julcampa-วีระพล จุลคำภา)

ในหน้า 14 มีคำแปลที่ถูกต้อง ให้ไว้อยู่แล้ว แต่จะขอเพิ่มเติมตรงนี้อีกว่า เป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหารระดับหนึ่ง ที่สามารถตัดสินใจ และแนะนำระดับบริหารที่สูงกว่า ให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ได้ ในแผนกหรือฝ่ายการตลาด ไม่ใช่เจ้าหน้าบริหารฝ่ายจัดการ
สำหรับคำว่า account ในที่นี้ก็ไม่ใช่ บัญชีของลูกค้า เหมือนอย่างที่ มีพจนานุกรมภาษาไทย เป็นอังกฤษ เล่มหนึ่งแปลเอาไว้ว่า ผู้บริหารบัญชีของลูกค้า และก็ไม่ใช่พนักงานหาลูกค้าให้กับบริษัทโฆษณา เหมือนพจนานุกรมไทย เป็นอังกฤษอีกเล่มที่เขาแปลเอาไว้ คำนี้ บางที่คนในวงการประชาสัมพันธ็ บริษัทโฆษณา หรือด้านการตลาดเขาจะเรียกย่อๆว่า AE ตำแหน่งงานนี้หนุ่มสาวไฟแรง ที่เรียนการตลาดต่างพากันใฝ่ฝันอยากจะทำงานนี้กันมาก พักหนึ่ง

ส่วนคำ Account ใน บล๊อก http://worldway,multiply.com เคยนำเสนอมาแล้ว อยู่ ในหัวข้อ Buy the farm เพื่อให้สดวก ผู้เขียนจะนำมาลงไว้ตรงนี้อีกครั้ง ดังนี้ :-

account ที่แปลว่าบัญชี คนไทยเจอคำนี้เข้าทีไร จ้องจะแปลว่า บัญชีเป็นหลักเลยทีเดียว ในหน้า 14 จะให้ความหมายเอาไว้เฉพาะ ที่ไม่ค่อยจะเจอ และมีน้อยคนจะเคยเห็น และแม้แต่ในพจนานุกรมไทย- อังกฤษทั่วไป หรืออังกฤษ-ไทย ไม่ค่อยจะมีเขียนเอาไว้ เช่น คำว่า :-

unlimited accounts คำนี้ไม่ได้หมายถึง บัญชีต่างๆที่มิได้จำกัดเอาไว้ แต่จะหาคำแปลได้ในหนังสือเล่มนี้อยู่ในหน้า 381 ส่วนคำ

worker on own account มีคำแปลอยู่ในหน้า 403 และถ้า

on your account มีความหมายว่ ให้แค่เพียงคุณเท่านั้น หรือ

on my account หมายถึง ให้แค่ผมเท่านั้น หากเจอคำว่า

sales account manger คำนี้ไม่ได้แปลว่า ผู้จัดการบัญชีฝ่ายขายนะ แต่จะแปลว่า ผู้จัดการฝ่ายขายที่รับผิดชอบลูกค้าที่มีอยู่ให้คงไว้สืบไปทั้งนี้เพื่อรักษายอดขายไม่ให้ตก หรือ ผู้จัดการที่ดูแลลูกค้ารายสำคัญของฝ่ายขาย ส่วน

key-account manager นั้นคงไม่ได้แปลว่า ผู้จัดการบัญชีกุญแจ แต่มีคำแปลที่ถูกต้องอยู่ในหน้า 197 ของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งผู้เขียนไม่สามารถนำมากล่าวในที่นี้ได้ ทางสำนักพิมพ์เขาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะเล่นงานเอา

wrap account มีคำแปลอยู่ในหน้า 405 และหากเจอคำว่า

Xmas club account ถ้าไม่ทราบคำแปล ก็ให้เปิดดู มีคำแปลที่อยู่ในหน้า 406 และถ้า

Yahoo Account คงไม่ได้หมายความว่า บัญชีของยาฮูแน่ แต่จะหมายถึง ข้อตกลงหรือคำอธิบายของยะฮูเพื่อให้บริการอินเตอร์เนตแก่ผู้ใช้บริการ หรือคำอธิบายของยะฮูเกี่ยวกับการให้บริการอินเตอร์เนตแก่ผู้ใช้บริการ อะไรทำนองนี้ จริงๆแล้วมีรายการสอนภาษาอังกฤษทางวิทยุบางรายการพยายามจะอธิบายความหมายของคำ account ในแต่ละเนื้อหาที่นำเสนอนั้น จะมีการให้คำแปลที่ไปไม่พ้นคำว่า บัญชีเลย ดูแล้วเหมือนกับว่าคนไทยเราจะรู้จักกันอยู่คำเดียวแค่ บัญชี ลองมาดูประโยคนี้ ท่านผู้อ่านจะแปลว่าอย่างไรดี

As an account customer, you will be kept informed of the product updates monthly. ตรงคำว่า an account customer แน่นอนว่า จะไม่แปลว่า ลูกค้าบัญชีคนหนึ่ง หรือ ลูกค้าของบัญชีแน่เลย


*********************************************************************

[ข้อความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or access the Blog directly at

< http://worldway.multiply.com >

คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า”]
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 29 December 2010
สงวนสิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที
ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และสมนาคุณท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ
Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป
มีจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือจะติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ
_ myvictory32@hotmail.com CC: victory267@yahoo.com

หรือจะเข้าไปดูที่ => http://jcampa-newlook.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Messrs. กับ Misses คืออะไร ใช้ยังไง?-Message of the Day – 3 December 2010






Messrs. :=> คำนี้อ่านว่า เมซ-เซิส เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส มาจากคำว่า messieurs หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยมากนัก แม้ว่าจะเคยเจอะเจอมาบ้าง ก็ดูออกจะงงอยู่ เพราะคำแปลในพจนานุกรม อังกฤษเป็นไทย อ่านแล้วไม่ค่อยจะชัดเจน ทำให้ไม่กล้าที่จะใช้ และไม่ค่อยจะมีใครถนัดที่จะใช้กันบ่อยนัก (เพราะความหมายไม่ค่อยชัดเจน) โชคดีหน่อย สำหรับบางคนที่นานๆได้เจอในจดหมายที่โต้ตอบกันส่วนมากทางธุรกิจ อย่าง เช่น:-

Messrs. Robinson & Son,
Messrs. Frimley Bros,
Messrs. Coverdale & Co.,
Messrs. Ashley Bros.,
Messrs. R.M. Bradley & Son,
Messrs. Law & Co.,
Messrs. Martin & Watson



ตามตัวอย่างนั้น จะสังเกตได้ว่า เขาใช้คำ Messrs. นี้กับห้างหุ้นส่วน (Partnerships) หรือกับบริษัทต่างๆ (Companies) ที่หัวจดหมาย ตรงมุมซ้ายด้านบน ซึ่งเป็น ที่อยู่ที่เขาเรียกว่า Inside Address (ที่อยู่บนหัวจดหมาย) ของบริษัทที่ส่งถึง หรือที่อยู่ของบริษัทที่รับจดหมายนั้น ที่น่าให้ความสนใจนั้น เขาจะใช้ Messrs.เฉพาะในกรณีที่ชื่อบริษัทเป็นชื่อคน (Personal names) และเป็นชื่อบริษัทที่ไม่ใช่บริษัทจำกัด (คือบริษัทที่ไม่มีคำว่า limited ตามหลัง Co.) และจะไม่ใช้กับชื่อบริษัทที่ไม่ได้ใช่ชื่อคน ดูตัวอย่างอีกที เช่น:-


Messrs. John & Co. หรือ
Messrs. Brown Bros.



แต่จะไม่ใช้ Messrs. กับ John & Smith Ltd. เพราะเป็นบริษัทจำกัด

ส่วนในกรณีที่มีคำนำหน้าชื่อเกี่ยวกับตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์ เขาจะไม่ใช้ Messrs นำหน้าชื่อนั้น เช่น:-

Sir John Smith & Co.
อย่างนี้เป็นต้น

หนังสือส่วนมากที่มีอธิบายเกี่ยวกับคำนี้ ส่วนมากจะพูดถึงแต่เฉพาะเรื่องที่ใช้เกี่ยวกับทางธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ในพจนานุกรมอังกฤษ เป็นไทย ที่ผู้เขียนมีอยู่ในมือขณะนี้ ก็อธิบายไว้ว่า เป็นคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งทางธุรกิจ หรืออีกเล่มให้ความหมายว่า นาย หรือ ท่านสุภาพบุรุษ เป็นคำเรียก คนฝรั่งเศส มักใช้ขึ้นหน้าจดหมายที่เขียนถึงบริษัท โดยย่อว่า Messrs. (คำแปลอันหลังนี้ ไม่ได้บอกชัดเจนลงไปว่าเขาไช้กันอย่างไร และก็ไม่บอกถึงมีข้อยกเว้นเอาไว้) เห็นแล้ว ทำให้คนทั่วไปอย่างเราๆ ไม่กล้าใช้คำนี้กัน ที่จริงมันก็คือรูปพหูพจน์ธรรมดาของคำ
Mr. นั่นเอง เช่น:-


The Messrs. Jones and Smith will be ready to meet you here :-ทั้งมิสเตอร์โจนส์กับมิสเตอร์สมิธพร้อมที่จะมาเจอคุณที่นี่อยู่แล้ว

ซึ่งก็เป็นคำพูดธรรมดาทั่วไปนี่เอง แทนที่จะใช้ว่า

Mr. Jones and Mr. Smith will be ready to meet you here. เขากลับใช้ Messrs. แทน Mr. สองครั้ง อย่างนี้เป็นต้น


นอกจากนี้ยังมีคำ:-
Misses :=> อีกคำหนึ่ง ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า Miss สังเกตว่าคำ Miss กับ Misses นี้จะไม่จุด (. ) หลัง ทั้งสองคำ ซึ่งแปลว่า เด็กหญิง หรือนางสาว หรือคำนำหน้านางงามในการประกวดความงาม นั่นเอง ตัวอย่าง เช่น We saw the Misses Alice and Kate yesterday :-เมื่อวานนี้เราเห็นทั้งนางสาว Alice กับ Kate
Mrs. อ่านว่า มีซซิซ ซึ่งมาจาก mistress ที่อ่านว่า มีซ-ทเร็ซ แปลว่า นาง เช่น :-


Mrs. Kate Smith
Mrs. Chopin

เป็นต้น แต่ก็แปลก ที่ฝรั่งเขาไม่มีรูปพหูพจน์ของคำว่านี้ (There is no plural for Mrs.)


*********************************************************************

[ข้อความข้างล่างต่อไปนี้ สำหรับผู้รับอีเมล ที่ปรากฎเป็นภาษาแปลกๆ หรือภาษาประหลาด ซึ่งอ่านไม่ได้ ยกเว้นข้อความภาษาอังกฤษ ให้ทำตามข้อความภาษาอังกฤษที่แนะนำตรงนี้ (คือ ให้คลิ๊กหัวข้อตรงคำว่า Message of the Day) ครับ => For complete details in Thai, please CLICK "Message of the Day" at the top of this email, or access the Blog directly at
< http://worldway.multiply.com >
http://jcampa-newlook.blogspot.com
คลิ๊ก View All ที่อยู่ท้าย ข้อความย่อ ของเรื่องนั้น เพื่อดูหัวข้อต่างๆทั้งหมด หรือจะคลิ๊ก แท็ป “กล่องข้อความเข้า”]
เขียนโดย VJ. [Veeraphol Julcampa: วีเจ. (วีระพล จุลคำภา)] 3 December 2010
สงวนสิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำไม่ว่าจะดัดแปลงเนื้อหา หรือข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใด หรือนำไปลงในสื่อชนิดใดก็ตาม ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร ข้อความนี้ เขียนขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติม ต่อยอด ขยายความจากที่มีในหนังสือ และเป็นการทำให้ทันสมัย (update) พร้อมทั้งเน้น (highlight) หรือกระตุ้นให้เป็นทีน่าสนใจหรืออยากรู้มากขึ้น (encourage) และ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้จำได้ดีขึ้น (emphasize) ให้ผู้อ่านได้คุ้นเคยกับคำนั้นๆ (familiarize readers with) และนำมากล่วย้ำอีกครั้ง (reiterate) หรือ เวลาจะใช้ หรือไปอ่านเจอ จะได้นึกขึ้นได้ (recall) แบบฉับพลัน ทันที
ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอบคุณ และสมนาคุณท่านที่ซื้อและ เป็นเจ้าของหนังสือ
Dictionary of Names, Positions, Occupations in English, and Common Phrases หนังสือประมวลคำศัพท์ที่หายากเกี่ยวกับ ชื่อ ตำแหน่ง อาชีพในภาษาอังกฤษ และวลีที่ใช้งานกันทั่วไป
มีจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป หรือจะติดต่อไปที่โทร: 0877055958 / 025320942 หรือ
_ myvictory32@hotmail.com CC: victory267@yahoo.com