วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
Postpone
Postpone :-เลื่อนเวลาออกไป เลื่อนไป เลื่อนเวลา ขยายเวลาออกไป ยืดเวลา ถ่วงเวลา ชลอเวลา
คำนี้ไปเกี่ยวกับคดีเขาพระวิหารที่กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ทำให้เกิดการพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ทำให้ฮุนเซนส่งจดหมายดักหน้าไปยังองค์มนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้มีการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้คนไทยไม่พอใจ ถึงขนาดมีการนำกองกำลังทหารของสองประเทศมาเตรียมพร้อมที่จะประจัญบานกันที่บริเวณพรมแดนดังกล่าว ทำให้นายกรัฐมนตรีสมัครของไทยต้องโทรติดต่อกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา และได้รับคำยืนยันจากท่านนายกสมัครว่า ทางกัมพูชาได้ถอนไม่ให้มีการประชุมขององค์มนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่ได้ยินจากข่าวการสัมภาษณ์ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ นายดอน ปรมัตถวินัย ว่าเขาขอเลื่อนคือใช้คำว่า postpone ซึ่งแปลว่า เลื่อนไป ทำไมจึงมีการตีความเป็นยุติ ซึ่งหมายถึงว่า จะไม่มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ
ขณะเดียวกันข่าวที่ออกมา บ้างก็ว่า ชลอการประชุม บ้างก็ว่า เลื่อนไปจนกว่าฝ่ายไทยกับเขมรจะประชุมกันที่เสียมราฐ หรือเสียมเรียบ (ที่เดียวกันแต่เป็นชื่อเก่า) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ตรงนี้ยกมากล่าวเพื่อจะให้เห็นเรื่องการตีความหมายของคำว่ามันเปลี่ยนแปลงได้ถึงขนาดนี้ คนละความหมาย คนละเรื่อง คนละประเด็น
อีกคำคือ map ที่แปลว่า แผนที่ มาเกี่ยวข้องกับเขาพระวิหารเช่นกัน ไปๆมาๆกลับมาแปลว่า แผนผัง อย่างนี้ก็มี ใครอยากจะเปลี่ยนความหมายอย่างไรก็ได้ หรือยังไง
ถึงตรงนี้ ตำหรับตำราที่เรา ลูกหลานเราเรียนกันมา และที่กำลังเรียนกันอยู่ขณะนี้ หรือกำลังจะเรียนกันอีกหลายรุ่น ไม่ทราบว่าจะเพี้ยนไปมากน้อยแค่ไหน บางคนก็แปลกันดื้อๆ เอาตามคำในพจนานุกรมที่เราทราบกันทั่วไปว่าเป็นการแปลแค่เอาเป็นแนวการแปลเท่านั้น ไม่ใช่จะใช้ได้ทุกเรื่องทุกสถานการณ์
ตำราที่ใช้เรียน นักศึกษาก็พอจะอ่านรู้เรื่องได้บ้าง เพราะมีครู อาจารย์คอยแนะ นำให้ และบางตำราก็ไม่จำเป็นต้องไปสนใจว่าเนื้อหาว่า เขาว่าอย่างไร เพราะเป็นรูปแบบที่จะต้องทำหรือปฏิบัติตามขั้นตอน หรือวิธีการในเรื่องนั้นๆอยู่แล้ว เช่น คณิตศาสตร์ แคลคูลัส เรขาคณิตวิเคราะห์ เกี่ยวกับอีเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น วิชา Digital เอย Microcomputer เอย ลองๆไปหาอ่านเอาเถอะ ไม่พอจะได้ใจความอะไรเลย ยกเว้น จะดูตัวอย่าง ดูสูตร แล้วก็ทำแบบฝึกหัดตามตัวอย่าง ดูนักศึกษาหอบตำรากันเล่มโตๆ แต่เปล่าหรอกอย่างมากก็ดูแค่ตัวอย่าง กับฝึกทำแบบฝึกหัดที่อาจารย์กำหนดให้
ถ้าเป็นอย่างนี้ รัฐบาลจะตั้งหน้าปรับปรุง ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ แบบมุ่งเพื่อให้ใช้งานได้จริงๆ ไม่ใช่เพื่อให้เด็กทำคะแนนเอาใจอาจารย์ในห้องเรียนเท่านั้น ถ้าตราบใดเรียนไปแค่ให้ได้คะแนนสูงๆ หรือให้ได้ A ได้ 4 แล้วบอกว่า การเรียนการสอนประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่แล้ว พูดก็ไม่ได้ อ่านก็ไม่ได้ เขียนก็ไม่เป็น แปลก็ไม่ได้ แถมเวลาจะแปลไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทยกลับแปลไม่ได้ ต้องไปจ้างตามศูนย์แปล แปลให้ ค่าแปลก็ใช่จะถูกที่ไหน
เคยถามพวกนี้แหละว่าผลการเรียนภาษาอังกฤษคุณได้ A และ 4 ตลอดมา ทำไมไม่แปลเอง เขาบอกว่าเรียนเพื่อสอบผ่าน กับการใช้งานจริงมันคนละเรื่อง สอบเสร็จแล้ว ความรู้ก็ลืมหมดแล้ว หนูไม่ถนัดทางนี้บ้าง ตอนก่อนสอบอาจารย์ก็แนะให้ว่าจะออกเกี่ยวกับอะไรบ้าง เกงข้อสอบเอาบ้าง หรืออะไรต่อมิอะไรบ้าง ตรงนี้ผู้อ่านต้องคิดเองแล้วล่ะ หลายคนจะพูดกันในลักษณะนี้
ลองดูความหมายของคำว่า Permanent Mission ว่ามีการแปลอย่างไรบ้าง
At the United Nations, Cambodia's permanent mission has submitted a letter to the chairman of the Security Council and the chairman of the General Assembly to "draw their attention to to the current situation on the Cambodian-Thai border", Cambodian Information Minister Khieu Kanharith said :-ที่สหประชาชาติ เอกอัครราชทูต / ผู้แทนถาวร / สมาชิกถาวรประจำสหประชาชาติของกัมพูชาได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะมนตรีความมั่นคงและประธานสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเพื่อดึงความสนใจมายังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันเกี่ยวกับพรมแดนกัมพูชากับไทย เขียว กันหะรฤทธิ์รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศของกัมพูชากล่าว
ข้อความจาก The Nation, 21 July 2008 ที่ยกตัวอย่างนี้มาเพื่อจะเอาข้อความที่ว่า permanent mission มาดูความหมายว่าแปลว่าอะไรกันบ้าง
permanent mission :-ผู้แทนถาวร / สมาชิกถาวร / เอกอัครราชทูตไทยถาวรประจำสหประชาชาติ
permanent mission :-เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำคณะสหประชาชาติ (คำนี้ช่อง 9 Modernine ใช้ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ข่าวประมาณ 23:15 น। สัมภาษณ์ท่านเอกอัครราชทูตไทยผู้แทนถาวรดังกล่าว ชื่อ ดอน ปรมัตถวินัย
permanent mission :-เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ (อันนี้เป็นความหมายของช่องโทรทัศน์ ทีวีไทย (Thai PBS ช่อง 6 )
ความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ จาก WordWeb Online Dictionary บอกว่า
permanent mission :-An organization of missionaries in a foreign land sent to carry on religious work / An operation that is assigned by a higher headquarters / A special assignment that is given to a person or group / The organized work of a religious missionary / A group of representatives or delegates.
ขอแปลเฉพาะข้อความตรงนี้ A group of representatives or delegates :-กลุ่มผู้แทน หรือกลุ่มผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทน กลุ่มตัวแทน บรรดาผู้แทน บรรดาตัวแทน
จะเห็นว่า คำว่า permanent mission นั้น สื่อแต่ละสื่อ ต่างคนต่างตีความหมายกันไปคนละความหมาย แต่ไม่ว่ากัน เพราะพอยังสื่อความได้ว่า ขณะนั้นสื่อกำลังพูดพูดถึงประเด็นหรือเรื่องเดียวกัน คนเดียวกัน ยกเว้นคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ อยู่ๆไปอ่านหรือรับฟังโดยไม่ได้ทราบที่มาที่ไปเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน คงจะงงเอาการอยู่ไม่น้อย คำบางคำยังไม่มีการบัญญัติคำเอาไว้ เราก็เจอปัญหาอย่างนี้เรื่อย ทางการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องนี้น่าจะ มีการบัญญัติคำแปล ความหมายเอาไว้เป็นทางการ จะได้พูดเป็นภาษาเดียวกันทั่วประเทศ
มีข่าวออกทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 88 Mhz ภาค FM ภาคภาษาอังกฤษ ในรายการ Special Report เสนอข่าวเกี่ยวกับ นโยบายภาษาแห่งชาติ -National Language Policy ซึ่งมี ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์อดีตคณะบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นอดีตนักเรียนที่สอบ Entrance เข้าจุฬามหาวิทยาลัยได้ที่ 1 ของประเทศในปีไหนจำไม่ได้ และขณะปัจจุบันเป็นสมาชิกราชบัณฑิตสถาน เป็นประธาน นโยบายภาษาแห่งชาตินี้ ไม่ทราบว่าสำนักงานอยู่ที่ไหน มีโครงการจะทำอะไรไม่ทราบ เห็นมีแต่เชิญนักวิชาการต่างชาติมาประชุมเพื่อวางระบบ เสร็จแล้วก็หายไปไม่เห็นจะมีข่าวภาคภาษาไทยให้ผู้คนได้ทราบกันเลย จะส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ หรือว่า จะแก้ไขอะไรยังไง หรือจะมีการบัญญัติศัพท์อะไรยังไม่ทราบได้ แต่อย่างน้อยก็แสดงถึงการตื่นตัว เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ และคิดว่าคงจะมีการปฏิรูปการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และคงจะมีการตรวจสอบ การเขียน การโฆษณาต่างๆ รวมถึงบทความของหน่วยงานทางการ ที่มีการเขียนผิดเขียนถูกกันบ่อยๆ เลยไม่ทราบว่าชาวบ้านอย่างเราๆจะใช้เพื่อนำมาอ้างอิงได้อย่างไร
น่าจะถึงเวลาที่พวกเราควรจะเปลี่ยนแนวคิดการเรียนภาษาอังกฤษกันใหม่ได้แล้ว เพื่อเราจะได้อ่านเอง เข้าใจเองจะดีกว่าที่ฟังเขาแปลมาให้เราฟังข้างๆคู รู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง ตามพื้นฐานประสบการณ์ และความรู้ของคนแปล ซึ่งมีที่มาที่ไปมากน้อยแค่ไหน หรือแค่รู้หรือจำคำแปลมาจากพจนานุกรมเท่านั้น โดยไม่ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งแตกฉานในความหมายของคำนั้นๆ รวมทั้งเนื้อหามากน้อยแค่ไหน
บอกตรงๆ ถ้าตราบใดที่มีการเรียน การสอนกันอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้อีก รวมทั้งกิจกรรมที่จะเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพอย่างที่เห็นๆ รู้กันอยู่อย่างนี้ กี่ปีก็จะได้แค่นี้ ที่ว่าคนเก่งในห้องเรียน ก็แค่เป็นที่ชื่นชมกันในบรรดาครูอาจารย์ เพื่อนๆนักเรียน นักศึกษาในห้องเรียนด้วยกันเท่านั้น คือได้กันแค่ทำข้อสอบได้ตรงใจอาจารย์สอนเท่านั้น แต่เอาไปใช้งานไม่ได้ หรือใช้งานกันได้สักกี่มากน้อย ที่จบหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงระดับปริญญาโท หรือสูงกว่านั้น จะมีกันสักกี่คนเองที่นำภาษาอังกฤษมาใช้งานได้จริง นอกจากจะไปศึกษาเพิ่มเติม หรือเรียนเฉพาะแต่ละด้านใหม่อีกครั้งเท่านั้น
บรรดาผู้รู้ที่เขียนตำราเกี่ยวกับภาษาก็มุ่งแค่ให้เด็กอ่านเอาไปทำข้อสอบให้ได้คะแนนสูงๆเท่านั้น จึงมีหนังสือประเภทนี้เกลื่อนตลาดหนังสือ เนื้อหาซ้ำๆ วกไปวนมา เจตนาเพื่อให้ นักเรียน นักศึกษาอ่านเพื่อสอบได้คะแนนสูงๆ เด็กจะได้แข่งขันกันชิงเอาคะแนนกันเท่านั้น ตำหรับตำราประเภทอย่างนี้จึงมีออกมามากมายซ้ำๆกันแต่ละเดือน เพราะขายดิบขายดี ส่วนที่จะเขียนให้มีคนเก่งจริงๆนั้นน้อยมาก และแทบจะไม่มีเลย อย่างมาก ก็เขียนประโยคพร้อมคำแปล ให้ท่อง ให้จำประโยค และคำแปลมาใช้งานในสถานการณ์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่เรียกว่าบทสนทนาเท่านั้น แต่พอจะเขียนเอง อ่านเอง แปลเองที่นอกเหนือไปจากที่ท่องจำมากลับทำไม่ได้ เพราะได้แค่ที่ท่องมาเท่านั้น
ลองไปดูเอาเถอะ ณ เวลานี้ มีหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการเขียนจดหมาย อย่างมากก็แค่อธิบายหลักการ ต่อจากนั้น ก็ยกตัวอย่าง จดหมายต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษ เล่มหนาๆ หาคำแปลที่เป็นภาษาไทยไม่มีเลย อย่างดีก็แค่ข้อสรุปสั้นๆ นั่นเป็นหนังสือประเภทหนึ่ง อีกประเภทหนึ่งคือหนังสือเกี่ยวกับสัญญา ก็ไม่ผิดอะไรกับหนังสือที่เกี่ยวกับการเขียนจดหมาย ว่ากันด้วยหลักการ แล้วก็ยกตัวอย่างให้ดู หาคำแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่มี แล้วอย่างนี้ผู้อ่านจะได้อะไรแค่ไหน
ผู้เขียนเองก็เคยเห็นหนังสือเกี่ยวกับหนังสือราชการ ว่าด้วยการเขียนหนังสือราชการต่างๆ จดหมายทางการต่างๆ เป็นตำราภาษาอังกฤษ ที่จริงก็อยากจะให้มีใครเขียนหนังสือประเภทอย่างนี้ออกมาบ้าง แต่พอเปิดดูแล้ว ผิดคาด เพราะไม่ได้เป็นอย่างที่คิด มีแต่หลักการ แล้วก็เอาตัวอย่างภาษาอังกฤษมาให้ดู แล้วก็ตัวอย่างภาษาไทย ซึ่งแต่ละตัวอย่างทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย จึงไม่ทราบว่าที่เป็นภาษาอังกฤษเขาว่าอย่างไร ในภาษาไทย และที่เป็นภาษาไทยจะใช้ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แม้แต่คำขึ้นต้นและคำลงท้ายจดหมาย หรือหนังสือราชการเหล่านั้นภาษาอังกฤษตรงกับภาษาไทยว่าอย่างไร ถ้าเป็นภาษาไทยจะตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร สรุปแล้ว ก็เป็นแค่ หนังสือที่ผู้เขียนรวมรวมเก็บเอาจดหมายเหล่านั้นมาพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกันเท่านั้น ผู้อ่านที่อยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม ก็ต้องดิ้นรนหาเองอยู่ดี ไม่ทราบว่าจะซื้อมารกบ้านทำไม
สรุปเอาว่าตำราที่จะเสริม เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียน ผู้อยากรู้ คนใฝ่รู้จะต่อยอดได้อย่างไร รู้แต่ กริยาสามช่อง Tenses ประโยค Simple, Compound, Complex Sentences , Verb to Be การทำเอกพจน์เป็นพหูพจน์ การใช้ Articles อย่างเช่น a, an, the หรือก็ Some, Any, How Much, How many อะไรทำนองนี้ มีมากโขอยู่แล้ว ที่จำเจอยู่กับพวกนี้ พูดง่ายๆว่าเคยเรียนในห้องเรียนมายังไงก็เขียนมาอย่างนั้น ไม่มีใครคิดจะเอาอะไรที่แปลกใหม่ มีประโยชน์กับการเรียนภาษานี้ให้รู้มากไปกว่านี้เลยเหรอ หรือว่าเมืองไทยถูกจำกัดให้รู้กันอยู่แค่นี้
จึงขอถือโอกาสนี้ เชิญชวนท่านผู้รู้ พยายามเขียนตำหรับตำรา เน้นให้มีการต่อยอด เสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้จริง อย่าเอาแค่สอบได้คะแนนสูงๆ และอย่าได้เน้นเฉพาะขายดิบขายดีกับนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น ให้คำนึงผลประโยชน์ของคนในชาติจะได้รู้มากขึ้น แตกฉานมากขึ้น จะได้สู้กับชาติอื่นเขาได้บ้าง จะได้สามารถอ่านตำราได้โดยตรงจากต้นตำหรับที่เขาเขียนมาจริง หรือสามารถกอบโกยความรู้จาก Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
******************************************************************************
Jcampa-เจแคมป้า 25 July2008[สงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกแบบ เลียนแบบหรือนำไปดัดแปลงใช้ในสื่อรูปแบบใดๆ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษร]